ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองปานามา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต เพิ่ม: krc:Панама илипин
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
[[ไฟล์:Map of Panama - TH - 001.jpg|thumb|300px|สถานที่ตั้งของคลองปานามาระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและ[[ทะเลแคริบเบียน]] โดยตัวคลองตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของแผนที่]]
 
'''คลองปานามา''' ({{lang-en|Panama Canal}}) เป็น[[คลองเดินเรือสมุทร]]ความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณ[[คอคอดปานามา]]ใน[[ประเทศปานามา]] เพื่อเชื่อม[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]กับ[[มหาสมุทรแอตแลนติก]]เข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อม[[ช่องแคบเดรก]]และ[[แหลมฮอร์น]] ทางใต้สุดของ[[ทวีปอเมริกาใต้]] คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร<ref>{{cite book|url=http://www.czbrats.com/AmPan/index.htm |title=The Americans in Panama |first=William R. |last=Scott |publisher=Statler Publishing Company |location=New York, NY |year=1913}}</ref> ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ลำต่อปีในยุคแรกเริ่ม มาเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี ค.ศ. 2008 มีระวางขับน้ำรวมทั้งสิ้น 309.6 ล้านตัน (คิดเป็นประมาณ 40 ลำต่อวัน ประมาณร้อยละ 5 ของเรือบรรทุกสินค้าทั่วโลก)<ref name="สาธารณรัฐปานามา">[http://www.mfa.go.th/web/848.php?id=202 สาธารณรัฐปานามา] กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ เรียกดูเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553</ref>
 
แนวความคิดในการขุดคลองปานามาจะมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างครั้งแรกในปี ค.ศ. 1880 ภายใต้บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสภายใต้การบริหารของนาย[[แฟร์ดินองด์ เดอ เลสเซ็ปส์]] แต่ก็ล้มเหลวไป มีคนงานกว่า 21,900 คนเสียชีวิต มักมีสาเหตุจากโรคระบาด ([[มาลาเรีย]]หรือ[[ไข้เหลือง]]) และดินถล่ม จนกระทั่ง[[สหรัฐอเมริกา]]เข้ามาดำเนินงานต่อ โดยมีผู้เสียชีวิตราว 5,600 คน จนกระทั่งสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อวันที่ [[15 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1914]] นับเป็นหนึ่งในโครงการวิศวกรรมที่ใหญ่ที่สุดและยากลำบากที่สุดที่เคยมีมา