ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนทวีธาภิเศก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Earthpanot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการก่อกวนที่สร้างโดย 180.183.113.42 (พูดคุย)
แทนที่ข้อความทั้งหมดด้วย "{{ต้องการอ้างอิง}} {{กล่องข้อมูล โรงเรียน 2 |"
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล โรงเรียน 2
|
| ชื่อ = โรงเรียนทวีธาภิเศก
| ภาพ = [[ไฟล์:Tw.jpg|200px]]
| ชื่ออังกฤษ = Taweethapisek School
| ชื่อย่อ = ท.ภ. / T.P.
| ก่อตั้ง = [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2438]]
| ประเภท = [[โรงเรียนรัฐบาล|รัฐบาล]] สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
| founder = [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| grades = ม.1 - ม.6
| director = {{flagicon|THA}} นายสมเกียรติ เจริญฉิม
| viceprincipal = {{flagicon|THA}} นางสาวอัษฎาพร พานสมบัติ,<br>{{flagicon|THA}} นายอัชลิต พัฒคุ้ม,<br>{{flagicon|THA}} นางสุนทรี ตีรนานุกูล,<br>{{flagicon|THA}} นางผิวพรรณ์ สิทธิกร
| นักเรียน = ประมาณ 3,000 คน
| คำขวัญ = '''รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ'''
| เพลง = มาร์ชทวีธาภิเศก
| ดอกไม้ = ดอกแก้ว
| language = {{flagicon|THA}} [[ภาษาไทย|ไทย]]<br>{{flagicon|UK}} [[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]<br>{{flagicon|Germany}} [[ภาษาเยอรมัน|เยอรมัน]]<br>{{flagicon|France}} [[ภาษาฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]<br>{{flagicon|China}} [[ภาษาจีน|จีน]]<br>{{flagicon|JPN}} [[ภาษาญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]
| classrooms = 82 ห้องเรียน
| area = 13 ไร่
| grade7 =
| grade8 =
| grade9 =
| grade10 =
| grade11 =
| grade12 =
| colors = {{colorbox|green}}{{colorbox|white}} [[สีเขียว|เขียว]]-[[สีขาว|ขาว]]
| ที่ตั้ง = {{flagicon|Thailand}} 505/5 ซอยอิสรภาพ 42 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ [[เขตบางกอกใหญ่]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10600
| โทรศัพท์ = 0-2465-0072
| โทรสาร = 0-2472-0988, 0-2465-0114
| e-mail = info@taweethapisek.ac.th
| website = http://www.taweethapisek.ac.th/
}}
 
'''โรงเรียนทวีธาภิเศก''' ({{lang-en|Taweethapisek School}}) อักษรย่อ (ท.ภ.) เป็น[[โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ]] รับเฉพาะนักเรียนชาย ([[โรงเรียนชายล้วน]]) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร [[กระทรวงศึกษาธิการ]] ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 505/5 ซอยอิสรภาพ 42 [[ถนนอิสรภาพ]] แขวงวัดอรุณ [[เขตบางกอกใหญ่]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10600
 
== ประวัติ ==
เป็นโรงเรียนซึ่ง[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้พระราชทาน เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา
 
[[ไฟล์:P002.jpg|thumb|240px|left|อาคารโรงเรียนหลังแรก]]
โดยเมื่อปี [[พ.ศ. 2438]] (ร.ศ. 114) ปีมะแม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้[[กระทรวงธรรมการ]] (ปัจจุบัน คือ [[กระทรวงศึกษาธิการ]]) ขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่าสถานที่ กระทรวงธรรมการบริเวณศาลาต้นจันทร์ [[วัดอรุณราชวราราม]] เปิดสอนชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีนักเรียน 162 คน ครู 6 คน มีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพ็ชร) เป็นครูใหญ่ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ [[กรมหมื่นปราบปรปักษ์]]เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศล[[พระราชพิธีทวีธาภิเษก ในรัชกาลที่ 5|ทวีธาภิเษก]] ถวายพระอัยกาธิราช ณ [[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน]] และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ [[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] ในวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2441]]
 
ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเศกนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ได้ทรงร่วมบริจาคทรัพย์บูชาธรรมเทศนาเพื่อการปฏิสังขรณ์และสถาปนาถาวรวัตถุในวัดแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างโรงเรียนตรงกุฏิสงฆ์ด้านทิศเหนือ โรงเรียนวัดอรุณราชวรารามเดิม มาเป็นตึกใหญ่ และพระราชทานนามโรงเรียนว่า '''ทวีธาภิเศก''' เฉพาะผู้บริจาคมีรายนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงบริจาคเงินร่วมในการนี้ เช่น
 
* [[สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ]] พระราชชนนีพันปีหลวง เป็นเงิน 2,560 บาท (32 ชั่ง)
* [[สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]] เป็นเงิน 2,560
 
มีพระนามร่วมบริจาคทั้งสิ้น 47 ราย เป็นเงินจำนวน 24,000 บาท
 
เนื่องในโอกาสเพื่อเป็นที่ระลึกในวันสำคัญยิ่ง ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกแจกพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในเป็นที่ระลึก ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนทวีธาภิเศก จึงถือวันที่ 19 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันทวีธาภิเศก" และใช้สัญลักษณ์ภาพเหมือนรูปเหรียญ ทวีธาภิเศก เป็นตราประจำโรงเรียน
 
ในปี [[พ.ศ. 2494]] นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ บริเวณวัดนาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันนี้ โดยย้ายนักเรียนชั้นมัธยมปลายบางส่วนมาเรียน ในปี [[พ.ศ. 2503]] เมื่อการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จสมบูรณ์ จึงได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียน ส่วนอาคารเรียนหลังเดิม ณ วัดอรุณราชวรารามฯ กรมสามัญศึกษา ได้ทำการเปิดสอนในระดับประถมศึกษา ชื่อว่า โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก
 
ในปี [[พ.ศ. 2512]] นายเรวัต ชื่นสำราญ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้งบประมาณสร้างตึก 4 ชั้น 18 ห้องเรียน เป็นเงินทั้งสิ้นสองล้านบาท ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ [[12 กุมภาพันธ์]] โดย [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร]] (พระโอรสใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา]]) เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีและได้ประทานนามตึกนี้ว่า " ตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา " ซึ่งก็คือ ตึก 1 ของโรงเรียนและเปิดใช้มาจนปัจจุบัน
[[ไฟล์:Tp4904-001.jpg|thumb|270px|right|หน้าตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา ปัจจุบัน]]
 
ในปี [[พ.ศ. 2547]] – [[พ.ศ. 2551]] นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นผู้อำนวยการหญิงคนแรกของโรงเรียนทวีธาภิเศกนับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนมา ได้สานต่อการพัฒนาโรงเรียนด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะบรรยากาศด้านวิชาการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน อาทิ ห้องมัลติมีเดียเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งห้องเรียน ห้องเรียนและสื่อการเรียนรู้อีเลกทรอนิกส์ และการจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และห้องสมุดโรงเรียน เพื่อบริการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตแก่ นักเรียนและครูอย่างทั่วถึง จัดทำศูนย์สารสนเทศนักเรียนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและบริการสืบค้น ข้อมูลของนักเรียนทั้งด้านวิชาการและปกครองเริ่มโครงการอ่านเฉลิมพระเกียรติฯ จัดชั่วโมง "หยุดทุกอย่างเพื่ออ่าน" ทุกวันพุธ จัดศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ การระดมทรัพยากรจากชุมชนเพื่อพัฒนาโรงเรียนทุกด้าน นอกจากนี้ ได้จัดตั้งชมรมครูอาวุโสโรงเรียนทวีธาภิเศกร่วมกับสมาคมศิษย์เก่า เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เพื่อให้ ผู้บริหาร และครูทวีธาภิเศกที่เกษียณอายุทุกท่านมีโอกาสกลับมาเยี่ยมโรงเรียน ได้พบปะสังสรรค์ จัดกิจกรรมบริการตรวจสุขภาพ จัดทัศนศึกษาและจัดพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ครูอาวุโส
 
ในปี [[พ.ศ. 2554]] – [[พ.ศ. 2555]] นายสมเกียรติ เจริญฉิม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้มีการจัดเพิ่มห้อง รีซอร์ซ เซ็นเตอร์ (Resource Center) เพื่อเป็นแหล่งให้นักเรียนสามารถหาข้อมูลความรู้ต่างๆจากอินเตอร์เน็ตได้ภายในโรงเรียน และได้มีการทาสีอาคาารภายในโรงเรียนใหม่ทั้งหมด นอกจากนั้น ยังเปลี่ยนลิฟต์ในอาคารสุรชัยรณรงค์ เพื่อทดแทนลิฟต์ตัวเก่าที่เสียไป และที่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือการย้ายเสาธงชาติ ของโรงเรียน จากฝั่งอาคารอเนกประสงค์ ไปยังหน้าอาคารสุรชัยรณรงค์ และพื้นที่หน้าอาคารอเนกประสงค์ ได้มีการจัดสร้างศาลาไทย เพื่อเป็นเวทีในพิธีการหน้าเสาธงตอนเช้า และเป็นที่พักผ่อนสำหรับนักเรียน ส่วนการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับน้ำดื่มภายในโรงเรียน ทางโรงเรียนได้มีนโยบายที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพดี โดยทำการเปลี่ยนจากการขายน้ำอัดลม เป็นน้ำผลไม้แทน แม้ว่าช่วงแรกจะมีเสียงต่อต้านอย่างหนัก แต่ต่อมา กระแสนี้ก็เริ่มซาลงไป หลังจากนั้น ได้มีการติดตั้งระบบ [[วายฟาย]] ทั่วทั้งโรงเรียน ตามโครงการ Media TP-Storage
 
== เกียรติภูมิโรงเรียน ==
* นายรวี สิงห์สถิตย์สุข นักเรียนชั้น ม.534 สอบ Entrance ได้เป็นที่ 1 ของคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และเป็นที่ 2 ของประเทศ โดยแพ้ที่ 1 ของประเทศเพียงคะแนนเดียว ในปี 2538
* ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ปีการศึกษา 2548
* นายธนินท์รัฐ กฤษฎิ์ฉันทัชท์ ศิริวิศาลสุวรรณ พ.ศ. 2554 สอบได้ทุนโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นอาจารย์ ณ "วัดพุทธวราราม" นครเดนเวอร์ มลรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
* นายธนกฤต รุ่งโรจน์ชัยพร สอบเข้าเตรียมอุดมศึกษาได้เป็นลำดับที่ 1 ปี พ.ศ. 2549 และสอบทุนเล่าเรียนหลวง (King's Scholarship) ปี 2552 ได้เป็นลำดับที่ 1 (สายวิทยาศาสตร์) เมื่อจบ ม.6 จากเตรียมอุดมศึกษา
* นายอภินันท์ ทนงศักดิ์ นักเรียนชั้น ม.537 สอบเข้านายร้อยตำรวจปี 2528 ได้เป็นลำดับที่ 1
 
== อาคารในโรงเรียน ==
[[File:Scenery_in_Taweethapsiek_School,Thailand.jpg|thumb|300px|right|บรรยากาศภายในโรงเรียน]]
=== อาคารพิทยลาภพฤฒิธาดา ===
*อาคารเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในโรงเรียน ประกอบไปด้วย ห้องเรียน 14 ห้องเรียน
=== อาคารสุรชัยรณรงค์ ===
*อาคารที่ประกอบไปด้วย ห้องสมุด[[อาทร สังขะวัฒนะ]] ห้องเรียน และอื่นๆ
 
=== อาคารเอนกประสงค์ ===
*อาคารที่ประกอบไปด้วย แผนกช่าง ห้องศิลปะ และโรงยิมเนเซียม
=== อาคารเทพสิทธินายก ===
*อาคารที่ประกอบไปด้วย ห้องเพชรดอกแก้ว (ห้องโสตทัศนศึกษา) และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึง ห้องเรียนสีเขียว ห้องเรียนต้นแบบการประหยัดพลังงาน
 
=== อาคารหอประชุมพลเอก สุจินดา คราประยูร ===
*อาคารที่ประกอบไปด้วย ห้องเรียนภาษาต่างประเทศ และหอประชุม พลเอก สุจินดา คราประยูร ที่อยู่ชั้นบนสุดของอาคาร
=== อาคาร100ปี ทวีธาภิเศก โดย พลเอก สุจินดา คราประยูร ===
*พิพิธภัณฑ์โรงเรียนทวีธาภิเศก
เปิดขึ้นในปี [[พ.ศ. 2535]] เป็นอาคาร 4 ชั้น (พิพิธภัณฑ์อยู่ชั้น2) ติดกับตึก 3 ตึกเอนกประสงค์ ภายในแสดงวัตถุประเภทครุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และของใช้ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้แก่โรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น อาทิ นาฬิกาตั้งยอดพระเกี้ยว เป็นนาฬกาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานให้โรงเรียน ด้านบนประดิษฐานพระจุลมงกุฎจำหลักไม้ที่ประณีตงดงามมาก ตู้พระราชทาน และโต๊ะเก้าอี้พระราชทาน เป็นต้น
 
== สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน ==
[[ไฟล์:R5.jpg|thumb|200px|left|พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
* พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้อัญเชิญจากโรงหล่อส่วนปฏิมากรรม กรมศิลปากร เมื่อวันที่ [[19 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2542]]
โดยผู้อำนวยการสุธน จุลโมกข์, พ.ต.อ. (พิเศษ) พลวุฒิ วิเศษสงวน นายกสมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก พล.ร.ท. ฉกรรจ์ สุวรรณเสนีย์ อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเศก โดยผ่านมาทางถนนปิ่นเกล้านครไชยศรี ขึ้นทางลอยฟ้าคู่ขนาน ผ่านไปข้าม[[สะพานพระปิ่นเกล้า]] ผ่าน[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] ไปเลี้ยวกลับที่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] เพื่อเป็นความเป็นศิริมงคล ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ข้างอาคารพิพิธภัณฑ์ (อาคาร 100ปี ทวีธาภิเศก)
 
* พระพุทธทวีธาภิเศกมหามงคล
มีทั้งสิ้น 2 องค์ องค์แรก เป็นพระพุทธรูปโบราณปางห้ามสมุทร ทรงเครื่องใหญ่แบบสกุลช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้รับพระราชทานจาก[[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช]] ใน ปี [[พ.ศ. 2536]] สมัยนายกนก จันทร์ขจร เป็นผู้อำนวยการ
 
และองค์ที่ 2 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พุทธศิลปแบบสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ โดยได้รับพระราชทานจาก[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]] ไว้สำหรับเป็นที่สักการะประจำโรงเรียน เช่นเดียวกับที่โรงเรียนอื่น ๆ ทั่วไป โดยใช้ชื่อเดียวกับพระพุทธทวีธาภิเศกมหามงคลองค์แรก ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ซุ้มพระพุทธรูปใกล้ประตูทางเข้าโรงเรียน เป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพกราบไหว้ของครูอาจารย์ นักเรียนและผู้ปกครองเป็นจำนวนมากอยู่โดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อในระดับชั้น ม. 1 และม. 4 ของทุกปี เมื่อเข้ามาในโรงเรียนผ่านประตูมองไปทางซ้าย ก็จะได้เห็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามองค์นี้ ประดิษฐานอยู่อย่างสงบภายใต้เงาไม้ที่ดูร่มรื่น
 
* พ่อขุนสุรชัยรณรงค์
ในอดีตท่านรับราชการ เป็นทหารในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]
[[พ.ศ. 2325]] ร.ศ.1 ปีขาล ถึง [[พ.ศ. 2352]] ร.ศ.28 ปีมะโรง มีตำแหน่งเป็นนายกองเสือป่า แมวเซา ได้รับพระราชทานพำนักเป็นการถาวรที่วัดนาคกลาง ใกล้กับที่ตั้งปัจจุบันของโรงเรียน โดยมีหน้าที่ดูแลด่านตั้งแต่กรุงเทพ ฯ - [[ด่านพระเจดีย์สามองค์]]
 
==สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน==
 
===ตราประจำโรงเรียน===
เนื่องด้วยในปีจอปี พ.ศ. 2441 ร.ศ.117 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชในรัชกาลที่ 31 เป็นเวลายาวนาน 2 เท่า ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระบรมอัยกาธิราช) ทรงครองราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2352 ร.ศ.28 ถึงปีวอก พ.ศ.2367 ร.ศ.43 ในรัชกาลที่ 6 ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2441 ได้ทรงโปรดจัดงาน บำเพ็ญพระราชกุศล "ทวีธาภิเศก" ถวายบรมอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิฉัย และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในงานพระราชพิธีทวีธาภิเศกนี้ ได้ทรงโปรดเกล้า ให้ทำเหรียญที่ระลึก รัชกาลที่ 5 เสมอด้วยรัชกาลที่ 2 ทวีคูณ ร.ศ. 117 เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการภายใน และข้าราชบริพารผู้ประกอบคุณงามความดี เหรียญที่ระลึกนี้มีเนื้อเงินกาไหล่ทองและเนื้อเงิน
 
ลักษณะรูปทรงเหรียญแบบดาวห้าแฉกยกขอเส้นลวดสองชั้นหูเชื่อม แบบขวางภายใน มีลักษณะดังนี้
* '''ด้านหน้า'''
1.พระอุนาโลม ภายใต้พระอุณหิศ มีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ พระอุณหิศก็คือพระมงกุฎ
2.พระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) มีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมรพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
3.ครุฑยุดนาค มีความหมายถึงพระบรมราชสัญลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ผู้เป็นพระบรมราชอัยกา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
4.พระแสงขรรค์ไชยศรีและธารพระกรไขว้ มีความหมายถึง เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติราชาภิเศก เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2411 การเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งสองนี้ เพื่อแสดงว่าเป็นของสำหรับพระราชาธิบดี
5.สายสร้อย เป็นรูปดอกประจำยามอยู่เบื้องใต้โล่ คือสังวาลย์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับพระมหากษัตริย์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลอันสำคัญอย่างยิ่ง
* '''ด้านหลัง'''
จารึกว่า ที่รฤก รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาล ที่ ๒ ทวีคูณ รัตนโกสินทร์ ๓๑ ศก ๑๑๗
 
===คติพจน์ประจำโรงเรียน===
* อตฺตานํ นาติวตฺ เตยฺย (บุคคลไม่ควรลืมตน)
 
===พระพุทธรูปประจำโรงเรียน===
* พระพุทธทวีธาภิเศกมหามงคล
 
===สีประจำโรงเรียน===
* เขียว - ขาว
 
===ดอกไม้ประจำโรงเรียน===
* [[แก้ว (พรรณไม้)|ดอกแก้ว]]
 
== รายนามผู้บริหารโรงเรียนทวีธาภิเศก ==
{|class="PrvPe0b"
! width="50" style="background: Khaki;text-align: center;"| ลำดับ
! width="300" style="background: Khaki;text-align: center;"| รายนาม
! width="300" style="background: Khaki;text-align: center;"| ตำแหน่ง
! width="200" style="background: Khaki;text-align: center;"| ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
|-
| 1 || นายสมเกียรติ เจริญฉิม || ผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก || 26 มกราคม 2554 - ปัจจุบัน
|-
| 2 || นางสาวอัษฎาพร พานสมบัติ || รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ || พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน
|-
| 3 || นางผิวพรรณ์ สิทธิกร || รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล
รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป
|| พ.ศ. 2552 - 2554
พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน
|-
| 4 || นายอัชลิต พัฒคุ้ม || รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป
รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล
|| พ.ศ. 2553 - 2554
พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน
|-
| 5 || นางสุนทรี ตีรนานุกูล || รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ || พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน
|}
 
== ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก ==
{|class="PrvPe0b"
! width="50" style="background: Khaki;text-align: center;"| ลำดับ
! width="300" style="background: Khaki;text-align: center;"| รายนาม
! width="300" style="background: Khaki;text-align: center;"| ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
|-
| 1 || ขุนอุปการศิลปะเศรฐ || [[พ.ศ. 2441]] – [[19 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2450]]
|-
| 2 || นายพร้อม || [[21 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2450]] – [[พ.ศ. 2454]]
|-
| 3 || พระบรรเจิดวิชาชาญ (นายชม บุณยาคม ป.ม.) || [[พ.ศ. 2454]] – [[11 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2454]]
|-
| 4 || ขุนดรุณวิทย์วรเสษฐ (นายยง ศิลปคุปต์) || [[12 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2454]] – [[31 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2459]]
|-
| 5 || ขุนวิสิษฐ์ดรุณกาล (นายบุบผา พลายสุต) || [[1 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2459]] – [[มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2492]]
|-
| 6 || นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ || [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2492]] – [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2508]]
|-
| 7 || นายเรวัต ชื่นสำราญ || [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2508]] – [[31 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2517]]
|-
| 8 || นายสำเริง นิลประดิษฐ์ || [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2517]] – [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2522]]
|-
| 9 || นายจงกล เมธาจารย์ || [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2522]] – [[2 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2527]]
|-
| 10 || นายสุชาติ ไชยมะโน || [[2 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2527]] – [[28 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2531]]
|-
| 11 || นายสำราญ รัตนวิทย์ || [[29 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2531]] – [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2532]]
|-
| 12 || นายกนก จันทร์ขจร || [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2532]] – [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2538]]
|-
| 13 || นายประสาร อุตมางคบวร || [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2538]] – [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2541]]
|-
| 14 || นายสุธน จุลโมกข์ || [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2541]] – [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2544]]
|-
| 15 || นายสุวัฒน์ อ้นใจกล้า || [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2544]] – [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2547]]
|-
| 16 || นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ || [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2547]] – [[29 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2551]]
|-
| 17 || นางสุมนมาศ วุฒิสง่าธรรม || [[30 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2551]] – [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2553]]
|-
| — || นายธนิต ทองธัญญะ || [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2553]] – [[25 มกราคม]] [[พ.ศ. 2554]]<ref group=#>ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 ได้แต่งตั้ง นายธนิต ทองธัญญะ รองผู้อำนวยการโรงเรียน เป็น รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 - 25 มกราคม 2554 และเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 ได้มีคำสั่งย้ายไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสวนอนันต์</ref>
|-
| 18 || นายสมเกียรติ เจริญฉิม || [[26 มกราคม]] [[พ.ศ. 2554]] – ปัจจุบัน
|}
;หมายเหตุ
<references group=#/>
 
== ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ==
=== บุคคลสำคัญระดับประเทศ ===
* [[ศาสตราจารย์|ศ.]][[สัญญา ธรรมศักดิ์]] อดีตประธาน[[องคมนตรี]] อดีต[[นายกรัฐมนตรี]]อดีต[[ประธานศาลฎีกา]] และอดีตอธิการบดี[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]*
* พล.อ.[[สุจินดา คราประยูร]] อดีต[[กองทัพบกไทย|ผู้บัญชาการกองทัพบก]]และ[[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] และอดีตนายกรัฐมนตรี
* จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ 19 ก.ย. 2500 , อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรประเภทที่2 30 พ.ย. 2494,อดีตเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม,อดีตเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ
* พล.ร.อ.กวี สิงหะ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
* พล.ต.อ.[[เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส]] อดีตผู้บัญชาการ[[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]
* พล.อ.[[ปรีชา โรจนเสน]] สมาชิก[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] (สนช.)
* ดร.มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
* พล.ร.ท.ฉกรรจ์ สุวรรณเสนีย์
* พล.ร.ท.เชษฐ์ โกมลฐิติ
* [[นายอำนวย สุวรรณคีรี]] อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]][[พรรคประชาธิปัตย์]]
* [[นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์]] [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]][[พรรคประชาธิปัตย์]] [[จังหวัดชุมพร]]
* นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรัฐมนตรีช่วย[[กระทรวงคมนาคม]]และ[[อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย]]
* นายวิชัย ศรีขวัญ อดีตปลัด[[กระทรวงมหาดไทย]]
* นายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการ[[จังหวัดนครนายก]]
 
=== นักวิชาการ ===
* ศ.ดร.เกษม จันทร์แก้ว อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาอนุรักษ์วิทยา [[คณะวนศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] อดีตอธิบดีกรมป่าไม้และที่ปรึกษาของ[[นายกรัฐมนตรี]] [[พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]]
* ศ.ดร.โสภณ เริงสำราญ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และอดีตหัวหน้าภาควิชาเคมี [[คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
* ศ.ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ปี 2546 [[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ดำรงตำแน่งศาสตราจารย์ด้วยวัยเพียง 35 ปี
* รศ.ดร.ชัยพร พิบูลศิริ อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อ [[สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]]
* ผศ.ดร.ศราวุฒิ จิตรภักดี รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ปี 2546 และอาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี [[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล]]
* [[ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย|ผศ.ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย]] รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ปี 2548 และนักวิจัยประจำ[[ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ]]
* ดร.สมเจตน์ พัชรพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ [[คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]
* ดร.สรวิช เผ่าทองสุข นักวิจัยประจำหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล [[คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
* ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คอลัมน์นิสต์นิตยสารสารคดี
* ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ นักวิชาการและที่ปรึกษาของฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์และมัลติมีเดีย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
* รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]และเป็นหนึ่งในกลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
 
=== ศิลปิน นักร้อง นักแสดง ผู้กำกับ นักเขียน ===
* นาย [[เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์]] กวีซีไรต์ ศิลปินแห่งชาติปี 2536 สาขา วรรณศิลป์
* นาย [[นิวัติ กองเพียร]] นักเขียน นักวิจารณ์[[ศิลปะ]]
* นาย [[ยอดชาย เมฆสุวรรณ]] ดารา นักแสดง
* นาย [[ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง]] ดารา นักร้อง
* นาย ฐาปกรณ์ ดิษยนันท์ ดารา นักแสดง พิธีกร และผู้บริหารบริษัท[[กันตนา]]
* นาย [[สมพล ปิยะพงศ์สิริ]] นักจัดรายการวิทยุ พิธีกร
* นาย ภุชงค์ โยธาพิทักษ์ ดารา นักแสดง พิธีกร
* นาย องอาจ สิงห์ลำพอง ผู้กำกับ[[โฆษณา]]และ[[ภาพยนตร์ไทย|ภาพยนตร์]]
* นาย วิชัย จงประสิทธิพร ดารา นักแสดง
* นาย [[อธิชาติ ชุมนานนท์]] ดารา นักแสดง
* นาย [[โชคชัย บุญวรเมธี]] ดารา นักแสดง
* นาย สุรชัย กิจเกษมสิน หรือ เล็ก วงพราว ศิลปิน นักดนตรี
* นาย ธีมะ กาญจนไพริน หรือ ดีเจจั๊ด
* นาย ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสาร[[ฟ้าเดียวกัน]]
* นาย กิตติพล เลิศจารุโชคขจร ชนะเลิศ Dutchie boy สาขาการแสดง ปี 2009
 
=== นักกีฬา ===
* วสวัตติ์ สมแสวง นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย
* รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค นักฟุตบอลทีมชาติไทย
* ชนัตถา ธนฤกษ์ชัย อดีตนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย โค้ชทีมชาติไทยปัจจุบัน
 
== สถานที่สำคัญใกล้เคียง ==
* [[วัดนาคกลาง]]
* [[วัดเครือวัลย์วรวิหาร]]
* [[วัดอรุณราชวราราม]]
* [[หอประชุมกองทัพเรือ]]
* [[โรงเรียนพาณิชยการราชดำเนินธนบุรี]]
* [[โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย]]
* [[โรงเรียนสตรีวัดระฆัง]]
 
== โรงเรียนในเครือ ==
* [[โรงเรียนทวีธาภิเศก 2]]
* [[โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก]]
 
== หมายเหตุ ==
* [[พระราชพิธีทวีธาภิเษก ในรัชกาลที่ 5]] ใช้ตัวสะกด ษ.ฤๅษี แต่กับโรงเรียนทวีธาภิเศก ใช้ตัวสะกด ศ.ศาลา
* ในอดีตปีที่สถาปนาโรงเรียนใช้ปี [[พ.ศ. 2438]] ซึ่งเป็นปีที่โรงเรียนได้เปิดการสอนจริง ๆ และใน [[พ.ศ. 2538]] ทางโรงเรียนได้มีการจัดงานครบรอบ 100 ปี ด้วย แต่ปัจจุบันได้ถือปีที่สถาปนาเป็นปี [[พ.ศ. 2441]] ซึ่งในปี [[พ.ศ. 2541]] ก็ได้มีการจัดงานครบรอบ 100 ปี อีกครั้ง
* เดิมทีคำขวัญโรงเรียนมีอยู่ว่า "ลูกทวีธา มีศักดิ์ศรี มีน้ำใจ มีคุณธรรม" แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น "รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ"
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[พระราชพิธีทวีธาภิเษก ในรัชกาลที่ 5]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.taweethapisek.ac.th/ โรงเรียนทวีธาภิเศก] เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
{{Geolinks-bldg|13.745253|100.482700}}
 
{{สพฐ.กทม.3-6}}
 
[[หมวดหมู่:เขตบางกอกใหญ่]]
[[หมวดหมู่:สหวิทยาเขตพระราชวังเดิม|ทวีธาภิเศก]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนที่สร้างขึ้นเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งรัชกาลที่ 5|ทวีธาภิเศก]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง|ท]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร|ทวีธาภิเศก]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนบุรุษในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ|ท]]
{{โรงเรียนชายล้วน}}