ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
N.M. (คุย | ส่วนร่วม)
→‎วิชาการ: เพิ่มคณะใหม่ตามการอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 41:
ในปี [[พ.ศ. 2475]] ได้เกิด[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง]]จาก[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาสู่[[ระบอบประชาธิปไตย]]ในประเทศไทย เมื่อวันที่ [[24 มิถุนายน]] โดยใน[[s:ประกาศคณะราษฏร ฉบับที่ ๑|คำประกาศของคณะราษฎร]]ในวันยึดอำนาจกล่าวว่า การที่ราษฎรยังถูกดูหมิ่นว่ายังโง่อยู่ ไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตยนั้น “เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่”<ref name="6pillars">คณะราษฎร, [http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8F%E0%B8%A3_%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%91 ประกาศคณะราษฏร ฉบับที่ ๑], วิกิซอร์ซ</ref> นโยบายหรือหลักประการที่ 6 ใน [[หลัก 6 ประการของคณะราษฎร]] จึงระบุไว้ว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร”<ref name="6pillars" /> สถาบันศึกษาแบบใหม่ที่เปิดกว้างให้ประชาชนชาวสยามได้รับการศึกษาชั้นสูง โดยเฉพาะที่จะรองรับการปกครองบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมาคู่กันกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง <ref name="Charnvit" /><ref name="Nidhi-2001">[[นิธิ เอียวศรีวงศ์]], [http://www.midnightuniv.org/datamid2001/newpage13.html ด้วยจิตวิญญาณธรรมศาสตร์], มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, พ.ศ. 2544. ปรับปรุงจากบทความ ''ฟื้นอุดมศึกษาไทย ด้วยจิตวิญญาณธรรมศาสตร์'', ปาฐกถางาน “เดินประชาธิปไตย” เนื่องในวาระ 69 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475, 24 มิถุนายน 2544 ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์</ref>
 
[[พ.ศ. 2476]] รัฐบาลได้'''จัดตั้งคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ขึ้นใน[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]เป็นแห่งแรกในประเทศไทย''' แล้วให้โอนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ไปสมทบกับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ดังกล่าวเมื่อวันที่ [[25 เมษายน]] ปีนั้นเอง<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/144.PDF ประกาศโอนโรงเรียนกฎหมายไปขึ้นแก่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย], ราชกิจจานุเบกษา</ref> ครั้งนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้การเรียนการสอนของโรงเรียนกฎหมาย เป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะดังกล่าว ทั้งนี้ การโอนไปสมทบดังกล่าวเป็นแต่ทางนิตินัย ทว่าโดยพฤตินัยแล้ว ยังคงจัดการเรียนการสอนยังคงอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลาเช่นเดิม<ref>ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. ''ธรรมศาสตร์การเมืองไทย จากปฏิวัติ 2475 ถึง 16 ตุลา 2516 - 6 ตุลา 2519''.กรุงเทพฯ : มติชน,2547.</ref> ซึ่งการให้โอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้เป็นอีกแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้เกิดการก่อตั้ง มธก. ขึ้น โดยกลุ่มอดีตนักเรียนโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม กล่าวคือได้สร้างความไม่พอใจให้แก่นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย ที่ต้องการให้ยกฐานะโรงเรียนของตนเป็นมหาวิทยาลัยดังเช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แต่กลับถูกทำให้เสมือนถูกยุบหายไป จึงมีผลผลักดันให้นักเรียนกฎหมายดังกล่าวเคลื่อนไหวหนุนให้มีการก่อตั้ง มธก. ขึ้น<ref name="Charnvit" />
โดยเมื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองนั้น ได้โอนทรัพย์สินตลอดจนคณาจารย์ของโรงเรียนกฎหมายเดิม เข้ามาสังกัดในมหาวิทยาลัยใหม่นี้ด้วย<ref name="Ratchakitcha2476">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/1007.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476], ราชกิจจานุเบกษา</ref>