ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แมงดาถ้วย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
| synonyms = *''Limulus rotundicauda'' (<small>Latreille, 1802</small>)
}}
'''แมงดาถ้วย''' หรือ '''แมงดาทะเลหางกลม''' ({{lang-en|Mangrove horseshoe crab}}; [[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: ''Carcinoscorpius rotundicauda'') เป็น[[แมงดาทะเล]][[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ใน[[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]] ''Carcinoscorpius'' มีรูปร่างกลมและกระดองนูนเหมือน[[ชาม]]หรือ[[ถ้วย]]คว่ำ ทางด้านหัวโค้งกลม หางเรียวยาวเป็น[[ทรงกลม]] กระดองมี[[สีเขียว]]เหลือบ[[เหลือง]][[ดำ|คล้ำ]] ใช้สำหรับปักลงกับพื้นท้องทะเล เมื่อต้องการนอนนิ่งอยู่กับที่ หรือใช้พลิกตัวเมื่อนอนหงายท้อง พบอาศัยในทะเล[[โคลน]]แถบ[[ป่าชายเลน]]หรือปาก[[แม่น้ำ]] อาจพบได้ในเขต[[น้ำกร่อย]]หรือ[[น้ำจืด]]ได้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 40 [[เซนติเมตร]] รวมหาง ในบางครั้งแมงดาถ้วยบางตัวและในบางฤดูกาล อาจมีสีกระดอง[[สีแดง]]เหลือบ[[สีส้ม|ส้ม]] และมี[[ขนสัตว์|ขน]]ที่กระดองและบางส่วนของลำตัว ซึ่งแมงดาถ้วยแบบนี้จะเรียกว่า '''ตัวเหรา''' (/เห-รา'/) หรือ '''แมงดาไฟ'''
 
พบกระจายไปทั่วในชายฝั่งทะเล[[อินเดีย]]จนถึง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]และ[[เอเชียตะวันออก]] ใน[[ประเทศไทย]]พบได้ทุก[[จังหวัด]]ที่ติดกับทะเล แมงดาทะเลชนิดนี้ทั้งเนื้อและไข่มีพิษทุกฤดูกาล จึงไม่ควรนำมา[[กิน|บริโภค]]อย่างเด็ดขาด สาเหตุของการเกิดพิษในตัวแมงดาทะเลนั้น [[สันนิษฐาน]]ว่ามาจาก 2 สาเหตุ คือ เกิดจากการที่ตัวแมงดาไปกิน[[แพลงก์ตอน]]ที่มีพิษเข้าไป ทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ และตัวแมงดาเองมีพิษซึ่งเกิดจาก[[แบคทีเรีย]]ในลำไส้สร้างพิษขึ้นมาได้เอง โดยอาการเมื่อรับพิษเข้าไป คือ มีอาการชาที่ริมฝีปาก มือและเท้า เวียนศีรษะ คลื่นไส้ [[อาเจียน]] เดินเซ แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ออก กลืนลำบาก [[หายใจ]]ไม่ออก [[กล้ามเนื้อ]]เกี่ยวกับการหายใจเป็นอัมพาต เนื่องจากเป็นพิษที่ผลต่อ[[ระบบประสาท]]ที่ควบคุมการหายใจ ในเด็กเล็กจะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้<ref>[http://www.med.cmu.ac.th/dept/parasite/public/Mangdataley.htm แมงดาทะเลมีพิษ]</ref>