ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทระ โนะ คิโยโมริ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47:
เมื่อสิ้นสุดสงครามเฮย์จิแล้วทำให้คิโยะโมะริมีความดีความชอบมากขึ้นมากลายเป็นผู้มีอำนาจในราชสำนักเมืองเฮอัง ในค.ศ. 1161 น้องสะใภ้ของคิโยะโมะริคือ ไทระ โนะ ชิเงะโกะ ({{nihongo2|平滋子|Taira no Shigeko}}) ซึ่งเป็นน้องสาวของนางโทะกิโกะภรรยาเอกของคิโยะโมะริ ได้อภิเษกเป็นพระสนมพระองค์ใหม่ในอดีตพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ และประสูติพระโอรสให้แก่อดีตพระจักรพรรดิในปีเดียวกัน ทำให้พระจักรพรรดินิโจซึ่งยังไม่มีพระโอรสทรงเกรงว่าพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะจะทรงยกราชบัลลังก์ให้พระโอรสองค์ใหม่ ในปีเดียวกันนั้นคิโยะโมะริได้รับการแต่งตั้งเป็น''ชูนะงอง'' ({{nihongo2|中納言|Chūnagon}}) นับว่าเป็นขุนนางระดับสูงหรือ''คุเกียว'' ({{nihongo2|公卿|Kugyō}}) คนแรกในประวัติศาสตร์ที่มาจากชนชั้นซะมุไร
 
พระจักรพรรดินิโจมีพระโอรสในที่สุดเมื่อค.ศ. 1164 จึงทรงรีบชิงสละราชสมบัติให้แก่พระโอรสของพระองค์เอง ขึ้นครองราชย์เป็นพระ[[จักรพรรดิโระกุโจ]]ในค.ศ. 1165 แล้วพระจักรพรรดินิโจก็สวรรคตในปีเดียวกัน คิโยะโมะริได้รับการเลื่อนขั้นเป็น''ไดนะงอง'' ({{nihongo2|大納言|Dainagon}}) และในปีต่อมาค.ศ. 1166 เป็น''ไนไดจิง'' ({{nihongo2|内大臣|Naidaijin}}) จนกระทั่งค.ศ. 1167 คิโยะโมะริขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในราชสำนักรองจากผู้สำเร็จราชการคือ ''ไดโจไดจิง'' ({{nihongo2|太政大臣|Daijō daijin}}) แต่ทว่าคิโยะโมะริอยู่ในตำแหน่ง''ไดโจไดจิน''ได้เพียงสามเดือนก็ล้มป่วยลงจนต้องลาออกจากตำแหน่งและบรรพชาเป็นพระภิกษุ (ชาวญี่ปุ่นสมัยเฮอังเชื่อว่าหากบวชเป็นพระแล้วจะหายจากความเจ็บป่วย) พระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะทรงเกรงว่าคิโยะโมะริจะถึงแก่อสัญกรรมและพระองค์จะสูญเสียอำนาจ จึงทรงบังคับให้พระจักรพรรดิโระกุโจสละราชสมบัติให้แก่พระโอรสของพระองค์ที่ประสูติแต่พระสนมชิเงะโกะ ขึ้นครองราชย์เป็น พระ[[จักรพรรดิทะกะกุระ]]ในค.ศ. 1168 ต่อมาในค.ศ. 1172 คิโยะโมะริจึงส่งบุตรสาวของตนคือ [[ไทระ โนะ โทะกุโกะ]] ({{nihongo2|平徳子|Taira no Tokuko}}) เข้าอภิเษกเป็นพระจักรพรรดินีในพระจักรพรรดิทะกะกุระ และประสูติพระโอรสให้แด่พระจักรพรรดิในค.ศ. 1178
 
เมื่อพระจักรพรรดิืทะกะทุระขึ้นครองราชย์แล้วอดีตพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะทรงต้องการที่จะมีอำนาจในการปกครองแบบ''อินเซย์'' แต่ทว่าคิโยะโมะริก็แสวงหาอิทธิพลเหนือพระจักรพรรดิองค์ใหม่เช่นกัน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคิโยะโมะริกับอดีตพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะต้องขาดสะบั้นลง ในค.ศ. 1177 ฟุจิวาระ โนะ นะริจิกะ ({{nihongo2|藤原成親|Fujiwara no Narichika}}) ข้ารับใช้คนสนิทของอดีตพระจักรพรรดิ ซึ่งเป็นน้องชายของภรรยาเอกของชิเงะโมะริ วางแผนโค่นอำนาจของตระกูลไทระที่เขตชิชิงะทะนิ ({{nihongo2|鹿ケ谷|Shishigatani}}) ในเมืองเฮอัง แต่ทว่าหน่วยสืบราชการลับของคิโยะโมะริไปพบเข้า จึงมีการลงโทษขุนนางที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก นะริจิกะถูกเนรเทศและประหารชีวิตในเวลาต่อมา และทำให้คิโยะโมะริมีความแคลงใจในองค์อดีตพระจักรพรรดิอย่างมาก
 
ในค.ศ. 1164 คิโยะโมะริส่งบุตรสาวของตนคือ ไทระ โนะ โมะริโกะ ({{nihongo2|平盛子|Taira no Moriko}}) ไปสมรสกับผู้สำเร็จราชการ โคะโนะเอะ โมะโตะซะเนะ ({{nihongo2|近衛基実|Konoe Motozane}}) ซึ่งเป็นบุตรชายของฟุจิวาระ โนะ ทะดะมิจิ เมื่อผู้สำเร็จราชการโมะโตะซะเนะถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1166 คิโยะโมะริได้ใช้อิทธิพลของตนบังคับให้ทรัพย์สินมรดกของโมะโตะซะเนะตกเป็นของนางโมะริโกะแทนที่จะส่งต่อให้แก่บุตรชาย แต่เมื่อนางโมะริโกะเสียชีวิตในค.ศ. 1179 อดีตพระจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะทรงยึดเอาทรัพย์สินของนางโมริโกะที่ได้จากสามีเข้าราชสำนักทั้งหมด และในปีเดียวกันนั้นบุตรชายคนโตของคิโยะโมะริคือชิเงะโมะริได้ถึงแก่อสัญกรรมลง ทรัพย์สินของชิเงะโมะริก็ถูกริบไปทั้งหมดเช่นกัน ทำให้คิโยะโมะริไม่พอใจอย่างมาก จึงทำการยึดอำนาจจากอดีตพระจักรพรรดิในค.ศ. 1179 กุมขังองค์อดีตพระจักรพรรดิเอาไว้ รวมทั้งปลดขุนนางระดับสูงในราชสำนักเฮอังออกทั้งหมดตั้งแต่ผู้สำเร็จราชการลงมา แล้วแต่งตั้งขุนนางจากตระกูลไทระเข้าไปแทนที่ขุนนางเหล่านั้น ในปีต่อมาค.ศ. 1180 คิโยะโมะริได้บังคับให้พระจักรพรรดิทะกะกุระทรงสละราชบัลลังก์ แล้วให้พระโอรสที่เกิดแต่พระจักรพรรดินีโทะกุโกะซึ่งมีพระชนมายุเพียงสองปี ขึ้นครองราชย์เป็นพระ[[จักรพรรดิอังโตะกุ]] เท่ากับว่าคิโยะโมะริมีศักดิ์เป็นพระอัยกา (ตา) ของพระจักรพรรดิ แล้วคิโยะโมะริจึงพาอดีตพระจักรพรรดิทะกะกุระเสด็จไปกราบไหว้ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ ({{nihongo2|厳島神社|Itsukushima jinja}}) ใกล้กับเมืิอง[[ฮิโรชิม่า]]ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่ตระกูลไทระให้การสนับสนุน แทนที่จะเป็นศาลเจ้าหลวงใกล้กับเมืองเฮอัง
 
== อ้างอิง ==