ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเบนิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 68:
== เศรษฐกิจ ==
เศรษฐกิจของเบนินจัดอยู่ในขั้นปฐมภูมิ รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคบริการและภาคการเกษตร โดยมีฝ้ายเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก (16.7% ของการส่งออกทั้งหมด) การนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (Re-export) คิดเป็น 41.2% ของการส่งออกทั้งหมด
แม้ว่าจะเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิต[[ฝ้าย]]รายใหญ่ที่สุดของแอฟริกา เบนินยังคงถูกจัดให้เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เศรษฐกิจของเบนินยังคงพึ่งพา[[ไนจีเรีย]]เป็นอย่างมาก ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกันตลอดชายแดนภาคตะวันออก ของเบนิน (773 กิโลเมตร)

อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าจากเบนินไปยังไนจีเรียมักได้รับผลกระทบจากนโยบายกีดกัน สินค้าข้ามพรมแดนของไนจีเรีย อาทิ การออกระเบียบที่เคร่งครัด และการปิดพรมแดน นอกจากนี้ เบนินยังต้องพึ่งพาพลังงานจากไนจีเรีย ในปัจจุบันมีโครงการ West African Gas Pipeline (WAGP) ในความร่วมมือระหว่างไนจีเรียและเบนินเพื่อสร้างท่อลำเลียงน้ำมันจาก ไนจีเรียไปยังเบนิน [[กานา]] และ[[โตโก]] ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 (แต่เดิมกำหนดไว้ให้แล้วเสร็จในปี 2550) และน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเบนิน และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้ดีขึ้นในอนาคต
 
ในปี 2548 กลุ่ม G8 ได้ออกมาตรการปลดหนี้ให้กับเบนินและประเทศอื่นๆ ใน[[แอฟริกา]] ซึ่งทำให้สถานการณ์ทางด้านหนี้สินต่างประเทศบรรเทาลงบ้าง แต่รัฐบาลเบนินก็ยังคงต้องแบกรับภาระจากการที่รัฐวิสาหกิจประสบปัญหาขาดทุน และการมีระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลเบนินจึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการปรับโครงสร้างระบบราชการและรัฐ วิสาหกิจต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกตั้งแต่ปี 2534 รัฐบาลเบนินชุดปัจจุบันสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเน้นด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลยังคงเดินหน้าโครงการปฏิรูปรัฐวิสากิจภาคโทรคมนาคม การประปา การไฟฟ้า และการเกษตร ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปี 2544 แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จนักในปัจจุบัน
รัฐบาลเบนินมุ่งดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่จะเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ โดยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะส่งผลให้โครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค อาทิ ท่าเรือและสนามบิน อาจจะต้องเลื่อนออกไปก่อน ทั้งนี้ ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ายังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเบ นิน (มีศักยภาพการผลิตเพียง 120 ล้าน kWh ในขณะที่มีความต้องการบริโภค 595 ล้าน kWh)
 
รัฐบาลเบนินมุ่งดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่จะเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ โดยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะส่งผลให้โครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค อาทิ ท่าเรือและสนามบิน อาจจะต้องเลื่อนออกไปก่อน ทั้งนี้ ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ายังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเบ นินเบนิน (มีศักยภาพการผลิตเพียง 120 ล้าน kWh ในขณะที่มีความต้องการบริโภค 595 ล้าน kWh)
 
นโยบายการเงินของเบนินถูกกำหนดโดยธนาคารกลางแห่งรัฐในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก (Bangue centrale des Etats de l’Afrique de l’ouest หรือ BCEAO) ซึ่งมุ่งควบคุมระดับเงินเฟ้อและรักษาการตรึงค่าเงิน CFA franc ไว้กับเงินสกุลยูโร (1 ยูโร เท่ากับ 655.957 CFAfr) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นมา
ในด้านสิทธิมนุษยชน รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนค่อนข้างมาก สื่อมวลชนในเบนินนับว่าได้รับเสรีภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ สมาพันธ์แรงงานยังมีอิสระในการเคลื่อนไหวทางการเมือง และเป็นพลังสำคัญในสังคม นอกจากนี้ กลุ่มองค์กรที่มิใช่รัฐ (NGO) ในเบนินมีจำนวนถึงประมาณ 5,000 องค์กรในปัจจุบัน และสามารถปฏิบัติภารกิจโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐ
 
ในด้านสิทธิมนุษยชน รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนค่อนข้างมาก สื่อมวลชนในเบนินนับว่าได้รับเสรีภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ สมาพันธ์แรงงานยังมีอิสระในการเคลื่อนไหวทางการเมือง และเป็นพลังสำคัญในสังคม นอกจากนี้ กลุ่มองค์กรที่มิใช่รัฐ (NGO) ในเบนินมีจำนวนถึงประมาณ 5,000 องค์กรในปัจจุบัน และสามารถปฏิบัติภารกิจโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐ
 
== ประชากร ==