ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ใน[[การปฏิวัติสยาม|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี]] [[พ.ศ. 2475]] นั้น พระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกชักชวนให้เข้าร่วมด้วย แต่พระยาศรีสิทธิสงครามได้ปฏิเสธ เนื่องจากยึดมั่นในคำถวายสัตย์ แต่ในเช้าวันที่ [[24 มิถุนายน]] ปีเดียวกันนั้นที่เกิดเหตุการณ์ ตัวของพระยาศรีสิทธิสงครามก็ได้หลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านพักของพระยาทรงสุรเดชทั้งวัน<ref>''บันทึกพระยาทรงสุรเดช'' ([[พ.ศ. 2524]]) โดย [[นรนิติ เศรษฐบุตร]] และ[[ชาญวิทย์ เกษตรศิริ]]</ref>
 
จากนั้น พระยาศรีสิทธิสงคราม จึงถูกย้ายไปรับราชการใน[[กระทรวงศึกษาธิการ|กระทรวงธรรมการ]] (กระทรวงศึกษาศึกษาธิการในปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อ[[รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476|เกิดความขัดแย้งกันในหมู่คณะราษฎร]] เมื่อ [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] ได้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ปิด[[รัฐสภา]] และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งเป็นชนวนเหตุให้พระยาทรงสุรเดช, [[พระยาฤทธิอัคเนย์]] และ[[พระประศาสน์พิทยายุทธ]] ลาออกจากตำแหน่ง[[รายนามรัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง|รัฐมนตรี (ลอย)]] ก็เป็นพระยาศรีสิทธิสงครามที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้า[[กรมยุทธการทหารบก]] แต่ก็อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 2 วันเท่านั้น ก็เกิดการ[[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหารเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476]] โดยกลุ่มของ พระยาพหลพลพยุหเสนา และ[[หลวงพิบูลสงคราม]] พระยาศรีสิทธิสงครามจึงถูกย้ายไปรับราชการที่กระทรวงธรรมการอีกครั้ง
 
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้ [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]] อดีตเสนาบดี[[กระทรวงกลาโหม]] เกิดความขุ่นข้องหมองพระทัย และได้ก่อเหตุการณ์กบฏบวรเดชขึ้น ในเดือน[[ตุลาคม]] ปีเดียวกันนั้น โดยพระยาศรีสิทธิสงครามเข้าร่วมด้วย มีฐานะเป็น[[แม่ทัพ]] รับหน้าที่เป็นกองระวังหลัง จนเมื่อทางฝ่ายกบฏเพลี่ยงพล้ำต่อรัฐบาล ในเวลา[[สนธยา|พลบค่ำ]]ของวันที่ [[23 ตุลาคม]] ปีเดียวกัน พระยาศรีสิทธิสงครามได้เป็นผู้เดินไปเจรจากับทหารฝ่ายรัฐบาล เพื่อขอให้หยุดยิง แต่ปรากฏว่า พระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกยิง[[เสียชีวิต]] ที่[[สถานีรถไฟหินลับ]] [[จังหวัดสระบุรี]] จากนั้น ร่างของพระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกส่งกลับ[[กรุงเทพมหานคร]] โดยทำการฌาปนกิจอย่างเร่งด่วนที่ [[วัดอภัยทายาราม]] หรือวัดมะกอก โดยที่ทางครอบครัวไม่ได้รู้มาก่อนเลย จากนั้นทางครอบครัวของพระยาศรีสิทธิสงคราม ก็ยังได้ถูกคุกคามต่าง ๆ นานา ตลอดสมัยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]