ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาลาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
* ภาษาลาวใต้ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร
 
แต่ในปัจจุบัน ภาษาลาวตะวันตกหรือ[[ภาษาอีสาน]] ในประเทศไทยไม่ได้รับการพัฒนาให้ใช้เป็นภาษาทางการ รัฐบาลไทยได้กำหนดให้ใช้ภาษาไทย เป็นภาษาทางการแทน จึงทำให้ภาษาลาวตะวันตกได้รับ อิทธิพลจากภาษาไทยค่อนข้างมาก และมีการใช้คำศัพท์ภาษาไทยปะปนค่อนข้างมาก รวมทั้งไม่มีการใช้ตัวอักษรภาษาลาวในการเขียนด้วย จึงทำให้ภาษาลาวตะวันตก ในปัจจุบันแตกต่างจากภาษาลาวในประเทศลาว ฉะนั้นจึงทำให้ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่ไม่ได้เรียนภาษาลาวแบบ สปป.ลาว บางครั้งฟังภาษาลาวในแบบทางการ สปป.ลาวไม่เข้าใจโดยตลอด โดยจะเข้าใจแบบจับใจความรู้เรื่อง เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจคำศัพท์ความหมายหรือประโยค ทุกคำทุกความหมายได้ เพราะคำศัพท์บางคำ สปป.ลาวบัญญัติขึ้นใหม่ ทำให้ภาษาขาดการติดต่อกัน และอาจแต่อย่างใดก็ยังถือได้ว่าเป็นภาษาลาวตะวันตกในประเทศไทยกับอันเดียวกัน อย่างกรณีภาษาลาวอังกฤษในประเทศลาวเป็นคนละภาษาก็ได้ในปัจจุบันสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
 
ส่วนในประเทศลาว นอกจากสำเนียงถิ่นใหญ่แล้วยังมีสำเนียงถิ่นย่อย แตกออกไปจากสำเนียงใหญ่ทั้ง 5 สำเนียง ออกไปอีกหลายสำเนียงย่อย เช่น ภาษาลาวใต้ถิ่นสาละวัน ภาษาลาวกลางถิ่นสะหวันนะเขด สำเนียงย่อยถิ่นเมืองอาดสะพังทอง ภาษาเวียงจันทน์ถิ่นเมืองปากงึม ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษาลาวใต้ ถิ่นจำปาสัก ในจังหวัด พระวิหาร สตึงแตรง และรัตนคีรีของประเทศกัมพูชาด้วย