ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซอด้วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Soso2555 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Saw duang.jpg|200px|thumb|rigth|ซอด้วง]]
'''ซอด้วง'''เป็น[[ซอ]]เปนซอที่กวนส้นตีน5555 เปนซอที่ดีดีไปดีด คนบ้าตายอิอิ
 
 
ประวัติที่มาของซอด้วง
ซอด้วง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มี 2 สาย เกิดเสียงจากการใช้คันชักสี ใช้บรรเลงในวงดนตรีไทยประเภทต่างๆ เช่น วงเครื่องสายไทย วงมโหรีและการบรรเลงเดี่ยว ทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและดำเนินทำนองในแนวระดับเสียงสูงคู่กับซออู้ที่ดำเนิน ทำนองในระดับเสียงต่ำลักษณะของซอด้วงนั้นมีลักษณะคล้ายซอของประเทศจีน ที่มีชื่อว่า “ฮู-ฉิน” ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า “ซอด้วง” ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกัน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั่นเอง
จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏข้อความในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราไว้ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ในกฎมณเฑียรบาลตอนที่ 15 และ 20 อันเป็นบทบัญญัติกำหนดโทษแก่ผู้ที่เล่นดนตรีเพลิดเพลินเกินขอบเขตเข้าไปถึง พระราชฐานขณะล่องเรือผ่านนั้น ปรากฏมีชื่อเครื่องดนตรีระบุไว้ ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ ซอ จะเข้ กระจับปี่ โทน ทับในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้บันทึกไว้ว่า “ขบวนเรือยาวที่แห่มารับตัวท่านและคณะว่ามีเสียงเห่ เสียงโห่และเสียงดนตรีประเภทกระจับปี่สีซอดังกึกก้องไพเราะไปทั่วคุ้ง น้ำ...”จะเห็นได้ว่า ในกฎมณเฑียรบาลและในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้มีการกล่าวถึง “ซอ” ไว้อย่างชัดเจน แต่เสียดายที่ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าเป็นซออะไร
 
ลักษณะรูปร่างของซอด้วง ซึ่งมีดังนี้
1. กระบอกซอ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกทำด้วยไม้ ตรงลำตัวจะมีกระพุ้งเล็กน้อย ตอนปลายผายภายในเจอะให้เป็นโพรง ใกล้หน้าขึ้นหนังจะเจาะรู 2 รูเพื่อใส่คันทวน
2. หน้าซอ ขึ้นหนังด้วยหนังลูกวัว หนังงูเหลือม หรือหนังลูกแพะ
3. คันทวน จะทำด้วยไม้ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
- เดือย เป็นส่วนล่างสุดกลึงให้เล็ก เพื่อสอดใส่เข้าไปในกะโหลกตอนบนทะลุออกตอนล่างเล็กน้อย
- เท้าช้าง กลึงลักษณะกลมเพื่อยึดติดกับกะโหลกซอตอนบน
- ลูกแก้ว กลึงเป็นวงกลมรอบไม้ต่อจากเท้าช้าง
- เส้นสวด กลึงเป็นวงกลม ห่างจากลูกแก้วขึ้นมาเล็กน้อย
- บัวกลึง บากให้เป็นสี่เหลี่ยมเพื่อให้รับกับโขนซอ
- โขนซอที่ปลายคันทวน จะกลึงรูปสี่เหลี่ยม โค้งไปทางหลังเล็กน้อยเรียกว่าโขนซอ และที่โขนจะเจาะรู 2 รูเพื่อสอดใส่ลูกบิด
- ลูกบิด ทำด้วยไม้กลึงหัวใหญ่มีลักษณะเป็นลูกแก้ว ก้านบัวประดับเม็ดปลายกลมเรียวแหลม เพื่อสวดใส่ในลูกบิด ตอนปลายสุดจะบากเป็นช่องเล็กๆ สำหรับผูกสายซอ
- สาย ใช้สายไหมทั้ง ๒ เส้น เส้นหนึ่งเป็นสายเอก อีกเส้นหนึ่งเป็นสายทุ้มต่อมาใช้สายเอ็นผูกที่เดือยใต้กะโหลลกผ่านหย่อง ซึ่งทำด้วยไม่เล็กเพื่อหนุนสายให้ลอยตัวผ่านหนังหน้าซอไปยังลูกบิดและไปพัน ผูกที่ปลายลูกบิดทั้งสอง ก่อนถึงลูกบิดใช้เชือกรัดสายให้ตึงห่างจากคันทวนพอประมาณ เรียกว่า รัดอก
- คันชัก ทำด้วยไม้กลึงกลมโค้งเล็กน้อย ตอนหัวและหาง กลึงเป็นลูกแก้ว
การเทียบเสียงซอด้วงใช้ขลุ่ยเพียงออเป่าเสียง ซอล โดยการปิดมือบนและนิ้วค้ำ เป่าลมกลางๆ ก็จะได้เสียง ซอล ขึ้นสายทุ้มของซอด้วง ให้ตรงกับเสียงซอลนี้ ต่อไปเป็นเสียงสายเอก ใช้ขลุ่ยเป่าเสียง เร โดยปิดนิ้วต่อไปอีก 3 นิ้ว เป่าด้วยลมแรง ก็จะได้เสียง เร ขึ้นสายเอกให้ตรงกับเสียง เร นี้
 
การนั่งสีซอนั่งพับเพียบบนพื้น จับคันซอด้วยมือซ้าย ให้ได้กึ่งกลางต่ำกว่ารัดอกลงมาเล็กน้อย ให้ซอโอนออกกจากตัวนิดหน่อย คันซออยู่ในอุ้งมือซ้าย ตัวกระบอกซอวางไว้บนขา ให้ตัวกระบอกซออยู่ในตำแหน่งข้อพับติดกับลำตัว มือขวาจับคันสีด้วยการแบ่งคันสีให้ได้ 5 ส่วน แล้วจึงจับส่วนที่ 3 ข้าง ท้าย ให้คันสีพาดไปบนมือนิ้วชี้ นิ้วกลางเป็นส่วนรับคันสี ใช้นิ้วหัวแม่มือกดกระชับไว้ นิ้วนางกับนิ้วก้อยงอไว้ส่วนใน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดันคันสีออกมาหาสายเอก และ ดึงเข้าเมื่อต้องการสีสายทุ้ม
 
การสีซอวางคันสีไว้ด้านใน ให้อยู่ในลักษณะเตรียมชักออก ค่อยๆลากคันสีออกให้เกิดเสียง ซอล จนสุดคันชัก แล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้าในสายเดียวกัน (ทำเรื่อยไปจนกว่าจะคล่อง) พอซ้อมสายในคล่องดีแล้ว จึงเปลี่ยนมาสีสายเอกซึ่งเป็นเสียง เร โดยการใช้นิ้วนางกับนิ้วก้อยมือขวา ดันคันสีออก ปฏิบัติจนคล่อง
 
ฝึกสลับให้เกิดเสียงดังนี้
คันสี ออก เข้า ออก เข้า = เสียง ซอล ซอล เร เร
ข้อควรระวัง ต้องวางซอให้ตรง โดยใช้ข้อมือซ้ายควบคุม อย่าให้ซอบิดไปมาได้
 
ฝึกหัดบทที่ 1
คันสี ออก เข้า ออก เข้า = เสียง ซอล ซอล เร เร
ฝึกสีช้าๆ อย่าให้คันสีกระตุก
 
ฝึกหัดบทที่ 2
คันสี ออก เข้า ออก เข้า ออก เข้า ออก เข้า = เสียง ซอล ซอล ซอล ซอล เร เร เร เร
ฝึกสีช้าๆ จนคล่องเสียงที่ออกมาจะเรียบ ระวังอย่าให้คันสีกระตุก
 
ฝึกหัดบทที่ 3
เครื่องหมาย วงเล็บหงายขึ้น หมายถึงคันสีออก
เครื่องหมาย วงเล็บคว่ำลง หมายถึงคันสีเข้า
ซอล (คันสีออก) เร (คันสีเข้า) ซอล (คันสีออก) เร (คันสีเข้า)
ซอล (คันสีออก) เร (คันสีเข้า) ซอล (คันสีออก) เร (คันสีเข้า)
 
ฝึกหัดบทที่ 4
การฝึกไล่เสียงตามตัวโน้ต
0 หมายถึง เสียงสายเปล่า
1 “ เสียงกดนิ้วชี้
2 “ เสียงกดนิ้วกลาง
3 “ เสียงกดนิ้วนาง
4 “ เสียงกดนิ้วก้อย
 
ฝึกหัดสีสายทุ้มดังนี้
0 (คันสีออก) 1 (คันสีเข้า) 2 (คันสีออก) 3 (คันสีเข้า)
4 (คันสีออก) 3 (คันสีเข้า) 2 (คันสีออก) 1 (คันสีเข้า)
 
ฝึกหัดสีสายเอกดังนี้
0 (คันสีออก) 1 (คันสีเข้า) 2 (คันสีออก) 3 (คันสีเข้า)
4 (คันสีออก) 3 (คันสีเข้า) 2 (คันสีออก) 1 (คันสีเข้า)
 
ฝึกหัดบทที่ 5
ลักษณะของตัวโน้ตแบ่งเป็นแปดช่อง มีตัวเลข (แทนนิ้ว) ตัวเลขที่อยู่บนเส้นบรรทัดสำหรับสีสายเอก ส่วนตัวเลขที่อยู่ใต้เส้นบรรทัด สำหรับสีสายทุ้ม
 
ฝึกหัดบทที่ 6
พึงเข้าใจว่า เมื่อเริ่มต้น ต้องใช้คันชัดออกเสมอ พยายามสีช้าๆให้คล่อง
 
ฝึกหัดบทที่ 7
การฝึกวางนิ้วต้องวางให้ได้ลำดับให้นิ้วอยู่ในระดับที่พอดี ใช้ปลายนิ้วกดลงไปตามตัวโน้ตโดยวิธีการสีสลับกันไปทุกตัวโน้ต ระวังคันชัก ออก – เข้า ให้ถูกต้องด้วย
 
ฝึกหัดบทที่ 8
ฝึกหัดเพลงง่ายๆ ได้แก่
*เพลงฟ้อนเงี้ยว
*เพลงลาวจ้อย
*เพลงเขมรใต้
*เพลงสาริกาแ้ก้ว
*เพลงคลื่นกระทบฝั่ง
*เพลงแขกเชิญเจ้า
*เพลงลาวดำเนินทราย
 
วิธีการดูแลรักษาเครื่องดนตรี (ซอ)
๑. เมื่อเลิดเล่นให้ลดสายด้วยการบิดลูกบิดลงประมาณครึ่งรอบแล้วเลื่อนหมอนรองรองสายขึ้นไว้บนขอบกระโหลก
๒. ทำความสะอาดโดยการใช้ผ้าแห้งเช็ด
๓. แขวนหรือใส่ถุงเก็บในตู้ให้มิดชิด
๔. การใส่สายซอ สายเอกใส่ที่ลูกบิดล่างเวลาขึ้นสายบิดเข้าหาตัว สายทุ้มใส่ที่ลูกบิดบน
๕. สายรัดอก รัดต่ำจากลูกบิดสายเอกประมาณ ๔-๕ นิ้ว ให้ลึกประมาณครึ่งนิ้ว
๖. การหยอดสายยางสนบนกระโหลกซอ ให้หยอดเฉพาะตำแหน่งที่หางม้าผ่านเท่านั้น เมื่อฝุ่นยางสนเกาะกระโหลก หลังเลิกเล่นต้องเช็ดให้แห้ง
๗. หากสายขาดบ่อยๆให้ใช้สายเอ็นแทนก็ได้
๘. หมอนซออู้มีขนาดโตกว่าซอด้วง ใช้แทนด้วยไม้ระกำ หรือหุ้มด้วยผ้า ถ้าจำเป็นอาจใช้กระดาษม้วนเป็นวงกลมขนาดพอเหมาะแทนชั่วคราวได้
 
ซอด้วงใช้ใน[[วงเครื่องสาย]] [[วงมโหรี]] โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและเป็นหลักในการดำเนินทำนอง
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ซอด้วง"