ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
'''รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง''' ([[25 กันยายน]] [[พ.ศ. 2475]] - [[5 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2549]]) ชื่อเล่น '''แดง''' ชื่อจริง '''รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา''' นักแสดงอาวุโส อดีตนางเอกยอดนิยมในช่วงปี พ.ศ. 2496 - 2507
 
เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวน 5 คนของ พ.ท.ผัน และนางชื้น อินทรกำแหง ณ ราชสีมา ในวัยเด็กต้องย้ายโรงเรียนบ่อยๆ ตามบิดาซึ่งรับราชการทหาร เคยศึกษาที่[[โรงเรียนสภาราชินี]] [[จังหวัดตรัง]] จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนสายปัญญา]] และเข้าร่วมประกวด[[นางสาวไทย]] เมื่อปี พ.ศ. 2493 ไม่ได้รับรางวัลใดๆ แต่ทำให้ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับ [[ศักดิ์เกษม หุตาคม]] นักเขียนเจ้าของนามปากกา '''อิงอร'''
 
แสดงภาพยนตร์เรื่อง [[นิทรา-สายัณห์]] บทประพันธ์ของอิงอร คู่กับ[[สมบัติ คงจำเนียร]] หลังจากภาพยนตร์ออกฉายทำรายได้เกือบล้านบาท สูงเป็นประวัติการณ์ เธอได้รับการติดต่อให้แสดงภาพยนตร์เรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่อง แต่เธอกลับปลีกตัวไปเป็นครูสอนหนังสือที่[[โรงเรียนธิดานุเคราะห์]] [[จังหวัดสงขลา]] เป็นเวลาหนึ่งปี
 
แสดงภาพยนตร์เรื่องที่สอง [[วนิดา]] ออกฉายปี พ.ศ. 2496 กลายเป็นนางเอกยอดนิยม มีผลงานแสดงติดต่อกันหลายเรื่อง ได้แก่ ทาษรัก (2496), นางแมวป่า (2496), สุดที่รัก (2498), ทหารเสือพระเจ้าตาก (2498), คำอธิษฐานของดวงดาว (2499), ยอดดรุณี (2499) และ [[ปักธงไชย]] (2500) เป็นต้น
บรรทัด 45:
 
[[ไฟล์:รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง1.jpg|thumb|left|ภาพจากละครโทรทัศน์ในระยะหลัง]]
ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับ [[น้อย กมลวาทิน]] ผู้อำนวยการสร้าง และผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ เจ้าของบริษัท กมลศิลป์ภาพยนตร์ ต่อมาหย่าขาดจากกัน และแต่ยังคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน
 
ช่วงหลัง พ.ศ. 2507 หันมาแสดงละครโทรทัศน์ และเป็นผู้จัดละครให้กับ [[ช่อง 3]] จนเริ่มมีอาการสุขภาพไม่ปกติ จึงหยุดการแสดงเพื่อรักษา [[โรคมะเร็ง]][[กรวยไต]] เรื้อรังนานถึง 6 ปี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 หลังจากเกิดโรคแทรกซ้อน ทั้งโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ ขณะอายุ 74 ปี