ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วุฒิสภาฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ลอกมาจาก[http://www.senate.go.th/index-of-parliament/pages/index_france03.htm เว็บวุฒิสภา]
บรรทัด 67:
| หมายเหตุ =
}}
'''วุฒิสภาฝรั่งเศส''' ({{lang-fr|Sénat français}}) เป็น[[สภาสูง]]ใน[[รัฐสภาฝรั่งเศส]] โดยมีประธานวุฒิสภา (président) ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเป็นผู้ดำเนินการประชุม
 
วุฒสิภามีความสำคัญน้อยกว่า[[สภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส|สภาผู้แทนราษฎร]] เช่นเดียวกับการอภิปรายในวุฒิสภาที่มีความตึงเครียดน้อยกว่า ฉะนั้น วุฒิสภาจึงได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนน้อย
เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนประชากรและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2003-696 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 กำหนดให้ลดวาระในการดำรงตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาและปฏิรูปองค์ประกอบของวุฒิสภา
 
ในปีค.ศ. 2007 กฎหมายฉบับที่ 2007-224 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 ได้เพิ่มเขตการปกครองโพ้นทะเล (collectivité d’outre-mer: COM) อีก 2 เขต คือ [[แซ็ง-บาร์เตเลอมี]] (Saint-Barthélemy) และ[[แซ็ง-มาร์แต็ง]] (Saint-Martin) ซึ่งดินแดนทั้ง 2 แห่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของ[[กวาเดอลูป]] (Guadeloupe) ทำให้มีการเพิ่มจำนวนสมาชิกวุฒิสภาอีก 2 คน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี ค.ศ. 2008 (ทำให้มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภา เพิ่มจาก 341 คนเป็น 343 คน)
 
เดิมมีการกำหนดการเลือกตั้งไว้ในปี ค.ศ. 2007 และ ค.ศ. 2010 แต่เนื่องด้วยเกิดการปรับเปลี่ยนตารางกำหนดการเลือกตั้งของการเลือกตั้งระดับเทศบาลและระดับเขต (élections municipales et cantonales) และเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในช่วงต้นของวาระการดำรงตำแหน่งจึงมีการเลื่อนการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไปจัดในเดือนกันยายนของปี ค.ศ. 2008, ปีค.ศ. 2011 และปีค.ศ. 2014 ตามลำดับ
 
ในปีค.ศ. 2011 วุฒิสภาจะมีจำนวนสมาชิกวุฒิสภาเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการปฏิรูปองค์ประกอบของวุฒิสภา ทำให้มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภาเป็นจำนวน 348 คน โดยมาจากเขตต่าง ๆ ดังนี้
 
* สมาชิกจากจังหวัดภาคพื้นทวีป (départements de métropole) และจังหวัดโพ้นทะเล (départements d’outre-mer) จำนวน 326 คน
* สมาชิกจากดินแดน[[เฟรนช์โปลินีเซีย]]และดินแดน[[วาลลิสและฟุตูนา]] จำนวน 3 คน
* สมาชิกจากดินแดนแซ็ง-บาร์เตเลอมี จำนวน 1 คน
* สมาชิกจากดินแดนแซ็ง-มาร์แต็ง จำนวน 1 คน
* สมาชิกจากดินแดน[[นิวแคลิโดเนีย]] จำนวน 2 คน
* สมาชิกจากดินแดน[[มายอต]] จำนวน 2 คน
* สมาชิกจากดินแดน[[แซงปีแยร์และมีเกอลง]] จำนวน 1 คน
* สมาชิกจากตัวแทนคนฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ (représentants des Français à l'étranger) จำนวน 12 คน
 
{{ระบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส}}
 
==ที่มา==
 
สมาชิกวุฒิสภามาจาก[[การเลือกตั้งทางอ้อม]]กล่าวคือ ชาวฝรั่งเศสที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยจะเลือกผู้แทนในระดับท้องถิ่นที่เรียกว่า "คณะผู้เลือกตั้ง" (un collège électoral) ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาภาค และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมจำนวนประมาณ 150,000 คน คณะผู้เลือกตั้งเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
 
ระบบการเลือกตั้งสำหรับใช้ในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา มี 2 แบบ คือ ในเขตเลือกตั้งที่สามารถเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้ 1-3 คน จะใช้ระบบการเลือกตั้งแบบยึดคะแนนเสียงข้างมากสองรอบ (le scrutin majoritaire à deux tours) ผู้ชนะการเลือกตั้งในรอบแรก คือ ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงมากเกินกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมดและคะแนนเสียงที่ได้รับต้องมีจำนวน 1 ใน 4 ของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หากไม่มีผู้สมัครคนใดชนะการเลือกตั้งในรอบแรกต้องมีการจัดเลือกตั้งในรอบที่ 2 ซึ่งจะนำผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุด 2 คน จากรอบแรกมาแข่งขันกัน โดยผู้ชนะการเลือกตั้งในรอบนี้ คือ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด
 
ส่วนการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกวุฒิสภาได้ 4 คนหรือมากกว่านั้น หรือการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่เป็นตัวแทนชาวฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศจะใช้ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (représentation proportionnelle) กล่าวคือ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะเลือกผู้สมัครตามบัญชีรายชื่อที่กำหนดไว้ บัญชีรายชื่อใดได้คะแนนมากก็มีสิทธิที่จะได้ที่นั่งมาก ส่วนบัญชีรายชื่อใดได้คะแนนน้อยก็มีสิทธิที่จะได้ที่นั่งน้อยตามสัดส่วน
 
ก่อนเดือนกันยายน ปีค.ศ. 2004 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 321 คน ซึ่งมีวาระ 9 ปี ซึ่งในปีนั้นได้มีการปฏิรูปโดยปรับลดวาระของวุฒิสภาเหลือเพียง 6 ปี ในขณะที่จำนวนสมาชิกวุฒิสภาได้เพิ่มขึ้นเป็น 348 คน ในปีค.ศ. 2011 เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนประชากร โดยให้มีการเลือกตั้งสมาชิกจำนวนครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดใหม่ทุก ๆ 3 ปีตามชุดของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชุด 1 และชุด 2 และผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์
 
==โครงสร้าง==
 
===ประธานวุฒิสภา (Président)===
 
ประธานวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด หลังการเลือกตั้งวุฒิสภาทุก ๆ 3 ปี ต้องมีการเลือกสรรผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาทุกครั้ง ผู้ได้รับคัดเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ในการเลือกตั้งรอบที่ 1 หรือ รอบที่ 2 หรือได้คะแนนเสียงข้างมากในการเลือกตั้งรอบที่ 3
 
บทบาทและหน้าที่ของประธานวุฒิสภา มีดังนี้
 
* ควบคุมดูแลการประชุม ดูแลความสงบเรียบร้อยและการปฏิบัติงานของวุฒิสภา และเป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก
* ดำรงตำแหน่งแทนประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ ในกรณีที่ประธานาธิบดีถูกถอดถอน ลาออกหรือเสียชีวิต จนกว่าจะจัดการเลือกตั้งได้
* เป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
* เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐในกรณีการยุบสภาผู้แทนราษฎรหรือการใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 16 ของรัฐธรรมนูญ
 
===คณะกรรมการบริหาร (Bureau)===
 
คณะกรรมการบริหาร มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการภายในวุฒิสภาและการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยสมาชิกของคณะกรรมการบริหาร มีจำนวน 22 คน ดังนี้
 
* ประธานวุฒิสภา จำนวน 1 คน
* รองประธานวุฒิสภา จำนวน 6 คน ทำหน้าที่ช่วยปฏิบัติงานในการประชุม โดยปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภาในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
* ผู้ตรวจสอบด้านงบประมาณ (Questeurs) จำนวน 3 คน รับผิดชอบด้านการจัดการและบริหารงานของวุฒิสภา โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับงบประมาณของวุฒิสภา
* เลขานุการ จำนวน 12 คน ปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยเหลืองานของประธานในการลงมติ
 
===กลุ่มการเมือง (Groupes politiques)===
 
กลุ่มการเมืองถือเป็นตัวจักรสำคัญในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของวุฒิสภาโดยตั้งขึ้นจากการรวมตัวของสมาชิกวุฒิสภาที่มีความสัมพันธ์กันทางการเมือง หรือโดยมากจะเป็นสมาชิกที่อยู่ในพรรคการเมืองเดียวกัน โดยกลุ่มการเมืองแต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน และมีการตั้งใหม่ทุก ๆ 3 ปี ตามการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
 
===คณะกรรมาธิการสามัญ (Commissions permanentes)===
 
คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา มีจำนวน 6 คณะ ดังนี้
 
* คณะกรรมาธิการกิจการวัฒนธรรม
* คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจและการวางแผน
* คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ การป้องกันประเทศและการทหาร
* คณะกรรมาธิการกิจการสังคม
* คณะกรรมาธิการการคลัง การควบคุมงบประมาณและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติ
* คณะกรรมาธิการกฎหมายรัฐธรรมนูญ การตรากฎหมาย การเลือกตั้งทั่วไป ข้อบังคับและการบริหารงานทั่วไป
 
สมาชิกวุฒิสภาทุกคนยกเว้นประธานวุฒิสภา จะเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการคนละ 1 คณะ โดยภายหลังการเลือกตั้งวุฒิสภาทุกๆ 3 ปี วุฒิสภาจะให้ความเห็นชอบบัญชีรายชื่อคณะกรรมาธิการต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มการเมืองได้จัดทำขึ้น โดยหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญ คือ การพิจารณาร่างกฎหมายก่อนเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภา และการควบคุมการดำเนินงานของรัฐบาลและภารกิจด้านข้อมูล
 
โดยปกติแล้ว คณะกรรมาธิการจะมีการประชุมในช่วงเช้าของวันพุธ
 
สำนักกรรมาธิการทำหน้าที่ฝ่ายธุรการให้กับคณะกรรมาธิการ มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมดประมาณ 140 คน และมีองค์ประกอบ ดังนี้
 
* ผู้อำนวยการสำนัก
* ฝ่ายเลขานุการกลาง รับผิดชอบงานด้านการจัดการด้านการดำเนินงาน ได้แก่ การบริหารงานบุคคลภายในสำนักและการรวบรวมสถิติต่าง ๆ เพื่อจัดทำรายงานการปฏิบัติงานของสำนัก และงานด้านบริหาร กล่าวคือ การติดตามการบังคับใช้กฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว และการติดตามการออกกฎระเบียบต่างๆ ของรัฐบาล
* ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละคณะ จำนวน 6 ฝ่าย ซึ่งหัวหน้าฝ่ายจะเป็นผู้จัดทำแผนงานและกำหนดปฏิทินในการทำงานภายใต้บังคับบัญชาของประธานคณะกรรมาธิการ
 
==อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา==
===ด้านนิติบัญญัติ (Pouvoir législatif)===
 
สมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศสมีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย ซึ่งเรียกว่า proposition de loi และร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายได้เช่นเดียวกันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยร่างกฎหมายจะถูกเสนอต่อสภาของผู้ร่างเป็นอันดับแรก แต่ถ้าเป็นร่างกฎหมายเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเป็นผู้แทนของชาวฝรั่งเศสที่อยู่นอกประเทศต้องเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาก่อน
 
เมื่อได้รับร่างกฎหมายแล้ว วุฒิสภาจะทำการพิจารณาตามกระบวนการนิติบัญญัติ เมื่อทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณาร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาเดียวกัน หากทั้ง 2 สภามีความเห็นตรงกันก็ถือว่าร่างกฎหมายนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ในกรณีที่ทั้ง 2 สภามีความเห็นไม่ตรงกัน ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็จะถูกส่งกลับไปกลับมาระหว่าง 2 สภา (navette) ซึ่ง นายกรัฐมนตรีสามารถขอให้มีการตั้ง "คณะกรรมาธิการร่วมกัน" (commission mixte paritaire) ประกอบด้วยสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกับของไทย กล่าวคือ คณะกรรมาธิการร่วมกันของฝรั่งเศสประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา 7 คนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 คน ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเพื่อให้ได้ข้อยุติ แต่หากคณะกรรมาธิการร่วมกันไม่สามารถตกลงกันได้อีก ร่างกฎหมายนั้นจะถูกส่งไปให้ทั้งสองสภาพิจารณาอีกครั้ง และหลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ในกรณีดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรอาจนำร่างที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันหรือร่างที่ผ่านการพิจารณาครั้งสุดท้ายของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งอาจมีการแปรญัตติโดยความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้ว มาเป็นร่างที่ใช้ในการพิจารณาก็ได้
 
===ด้านการควบคุมรัฐบาล (Pouvoir de contrôle)===
 
'''1.''' '''การอภิปราย''' (Débat)
 
::'''1.1''' '''การอภิปรายการแถลงของรัฐบาล''' (Débat sur les déclarations du gouvernement)
 
::'''การอภิปรายการแถลงนโยบายทั่วไปของรัฐบาล''' (Débat sur une déclaration de politique générale)
::รัฐบาลสามารถร้องขอต่อวุฒิสภาในการให้ความเห็นชอบการแถลงนโยบายทั่วไป โดยหลังจากเสร็จสิ้นจากอภิปราย วุฒิสภาจะทำการลงมติ แม้ว่าวุฒิสภาจะลงมติไม่เห็นชอบก็ไม่ได้เป็นผลให้รัฐบาลต้องลาออก แต่ก็มีผลให้รัฐบาลอยู่ในฐานะลำบาก
 
::'''การอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการเงินและสังคม''' (Débats d’orientations financières et sociaux)
::ในแต่ละปีวุฒิสภาจะจัดให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการเงินภาครัฐและการเงินภาคสังคมเพื่อเป็นการวางแนวทางในอนาคตเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐและการเงินสำหรับการคุ้มครองทางสังคมโดยการอภิปรายดังกล่าวสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ การอภิปรายแนวทางการใช้งบประมาณ การอภิปรายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินที่จำเป็น และการอภิปรายแนวทางการเงินภาคสังคม
 
::'''การอภิปรายก่อนการประชุมคณะมนตรียุโรป''' (Débats préalables à un Conseil européen)
::ก่อนการประชุมคณะมนตรียุโรปแต่ละครั้ง รัฐบาลจะแจ้งไปยังวุฒิสภาให้มีการอภิปรายประเด็นต่าง ๆ ที่จะประชุมกัน
 
::'''การอภิปรายการแถลงอื่น ๆ ของรัฐบาล''' (Débats sur d’autres déclarations du gouvernement)
::วุฒิสภาจะทำการอภิปรายเรื่องพิเศษต่าง ๆ ที่ได้รับแจ้งจากรัฐบาลโดยเรื่องพิเศษดังกล่าวหมายถึงกิจกรรมทางภาครัฐทั้งหมด เช่น นโยบายต่างประเทศ ประเด็นเรื่องพลังงาน การศึกษาและประเด็นทางสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อรัฐบาลเสนอให้มีการลงประชามติร่างกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระเบียบหน่วยงานของรัฐ การปฏิรูปนโยบายด้านเศรษฐกิจหรือสังคมของรัฐและการบริการสาธารณะ หรือเพื่อให้สัตยาบันสนธิสัญญาที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานขององค์กรต่าง ๆ หรือการปรับโครงสร้างอำนาจหน้าที่และระบบงานนิติบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐบาลต้องแจ้งเรื่องดังกล่าวต่อวุฒิสภาด้วย
 
::'''1.2 การอภิปรายเกี่ยวกับงานด้านการควบคุมของวุฒิสภา''' (Débats sur les travaux de contrôle du Sénat)
 
::การอภิปรายเกี่ยวกับงานด้านการควบคุมของวุฒิสภา หมายถึง การอภิปรายเกี่ยวกับงบประมาณในประเด็นเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน การอภิปรายการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาล และการอภิปรายเกี่ยวกับผลของข้อเสนอของวุฒิสภาที่รัฐบาลได้สงวนไว้
 
'''2. การตั้งกระทู้ถาม''' (questions)
 
กระทู้ถามของสมาชิกวุฒิสภามีดังนี้
 
::'''2.1 กระทู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร''' (questions écrites)
::สมาชิกวุฒิสภาสามารถตั้งกระทู้ถามที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อถามรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ โดยสมาชิกผู้นั้นต้องเสนอกระทู้ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อแจ้งไปยังรัฐบาล ซึ่งกระทู้ถามที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะได้รับการประกาศในส่วนพิเศษของรัฐกิจจานุเบกษา และรัฐมนตรีต้องตอบในรัฐกิจกานุเบกษาภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่กระทู้ถามได้รับการประกาศในรัฐกิจจานุเบกษา
 
::'''2.2 กระทู้ถามด้วยวาจา''' (question orales)
::ที่ประชุมวุฒิสภาจะพิจารณากระทู้ถามด้วยวาจาในช่วงเช้าของวันอังคารทุก 15 วันของสมัยประชุมสามัญตามปฏิทินที่ที่ประชุมแห่งประธาน (Conférence des présidents) ได้กำหนดไว้ โดยในการประชุมแต่ละครั้งจะมีการพิจารณา 18 กระทู้ ผู้ตั้งกระทู้ถามมีเวลา 3 นาทีในการถามซึ่งรัฐมนตรีจะตอบกระทู้ภายในเวลา 4-5 นาทีและจากนั้นผู้ตั้งกระทู้ถามจะอภิปรายอีกครั้งภายในเวลาไม่เกิน 2 นาที
 
::'''2.3 กระทู้ถามด้วยวาจาโดยมีการอภิปรายในที่ประชุมสภา''' (questions orales avec débat en séance publique)
::สมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนสามารถตั้งกระทู้ถามต่อสมาชิกในคณะรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ และตามด้วยการขอเปิดอภิปรายได้ เมื่อบรรจุกระทู้ถามเหล่านี้เข้าระเบียบวาระการประชุมของวุฒิสภาแล้ว สมาชิกผู้ตั้งกระทู้ถามและสมาชิกอื่นจะได้รับคำชี้แจงในเรื่องการดำเนินงานหรือการบริหารงานของรัฐบาล รวมไปถึงประเด็นเรื่องภูมิภาคยุโรปด้วย
 
::'''2.4 กระทู้ถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน''' (questions d’actualités)
::ใน 1 เดือน วุฒิสภาสามารถตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศฝรั่งเศส และต่างประเทศได้ 2 ครั้งโดยจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีและจะมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง France 3 และ Public Sénat
 
'''3. การรับฟังข้อมูล''' (auditions)
 
คณะกรรมาธิการสามัญเป็นหลักประกันด้านข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวกับการควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหารให้กับวุฒิสภาโดยการรับฟังข้อมูลจากบุคคลต่าง ๆ ซึ่งความถาวรของคณะกรรมาธิการสามัญช่วยให้สมาชิกสามารถติดตามการทำงานของรัฐบาลในช่วงวาระการทำงานของคณะ
 
'''4. คณะทำงานด้านข้อมูล''' (missions d’information)
 
นอกจากคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาจะมีหน้าที่ในการพิจารณาร่างกฎหมายแล้ว คณะกรรมาธิการสามัญยังมีภารกิจหน้าที่ในการเป็นหลักประกันข้อมูลในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมรัฐบาลให้กับสมาชิกวุฒิสภาในประเด็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะ
 
ในบางกรณี คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาสามารถจัดตั้งคณะทำงานด้านข้อมูลได้โดยเป็นผู้แทนของคณะกรรมาธิการในการพิจารณาศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดทำรายงานหลังจากที่ทำการพิจารณาเสร็จแล้ว
 
สำหรับการนำเสนอรายงานด้านข้อมูล (rapports d’information) นั้น ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 1996 วุฒิสภาได้ดำเนินการเผยแพร่รายงานด้านข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และได้จัดทำเป็นรูปเล่มซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่บริเวณห้องสมุดของวุฒิสภา (Espace librairie du Sénat)
 
'''5. การตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวน''' (commission d’enquête)
 
การตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวนเป็นวิธีการควบคุมการทำงานของรัฐบาลวิธีหนึ่งของสภา ซึ่งคณะกรรมาธิการสอบสวนนี้จะช่วยให้สมาชิกในคณะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐและเหตุการณ์ที่มีความสำคัญและแจ้งต่อไปยังวุฒิสภาและบุคคลทั่วไป โดยหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสอบสวนจะสิ้นสุดเมื่อได้นำเสนอรายงานหรือไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่มีมติแต่งตั้ง<br />
 
'''6. การควบคุมงบประมาณของคณะกรรมาธิการการคลัง''' (contrôle budgétaire de la commission des finances)
 
คณะกรรมาธิการการคลังมีหน้าที่ในการติดตามและควบคุมการบังคับใช้กฎหมายทางการคลังและประเมินผลทางด้านการคลังสาธารณะ โดยในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ประธานคณะ ผู้นำเสนอรายงานทั่วไปและผู้นำเสนอรายงานพิเศษจะมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวน ได้แก่ การควบคุมด้านสถานที่ขององค์กรที่ถูกคุกคาม (การควบคุมด้านสถานที่) สิทธิในการได้รับเอกสารข้อมูล (การควบคุมด้านเอกสาร) และอำนาจในการรับฟังข้อมูลจากบุคคลที่เห็นว่าจำเป็น
 
'''7. การควบคุมการบังคับใช้กฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา''' (contrôle de l’application des lois votées par le parlement )
 
คณะกรรมาธิการสามัญแต่ละคณะจะทำการติดตามผลการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะ การติดตามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วแต่ไม่ได้นำไปใช้เนื่องจากไม่ได้ประกาศใช้บังคับ
 
ในแต่ละปี ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละคณะจะจัดทำสรุปผลการติดตาม และนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการโดยผ่านทางประธานคณะกรรมาธิการ จากนั้นจะมีการเผยแพร่รายงานสรุปผลประจำปีในรายงานของคณะกรรมาธิการ หนังสือ Info Sénat และทางอินเตอร์เน็ต
 
สภาพการใช้บังคับของกฎหมายแต่ละฉบับนั้นสามารถดูได้จากเอกสารที่เกี่ยวกับการตรากฎหมาย (Le dossier législatif) โดยอยู่ตอนท้ายของเอกสาร
 
'''8. การควบคุมในสหภาพยุโรป''' (contrôle de l’Union européenne)
 
::'''8.1 คณะผู้แทนในสหภาพยุโรป''' (délégation pour l’Union européenne) ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเมื่อปี 1979 ประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 36 คน ซึ่งเป็นสมาชิกที่มาจากต่างกลุ่มการเมืองกันและต่างคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภากัน คณะผู้แทนในสหภาพยุโรปมีบทบาทในการหาข้อมูลและควบคุมเกี่ยวกับกิจกรรมของสหภาพยุโรป
 
::'''8.2 การควบคุมอย่างถาวรด้านนิติบัญญัติของยุโรปในขั้นตอนการยกร่างกฎหมาย''' (contrôle permanent de la législation européenne en cour d’élaboration)
::รัฐบาลต้องเสนอร่างข้อกำหนดของประชาคมยุโรปและสหภาพยุโรปเกี่ยวกับมาตรการทางด้านนิติบัญญัติซึ่งเสนอโดยรัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเมื่อได้ส่งร่างดังกล่าวไปยังคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ซึ่งรัฐบาลสามารถเสนอร่างข้อกำหนดอื่นและเอกสารที่ได้มาจากองค์กรของสหภาพยุโรปต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้ ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาสามารถลงมติร่างข้อกำหนดหรือเอกสารดังกล่าวในช่วงนอกสมัยประชุมตามวิธีที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมของแต่ละสภาได้
 
::'''8.3 รายงานข้อมูลเกี่ยวกับสหภาพยุโรป''' (les rapport d’information sur l’Europe)
::คณะผู้แทนของวุฒิสภาในสหภาพยุโรปได้จัดทำรายงานข้อมูลพร้อมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นเหตุการณ์ปัจจุบันต่าง ๆ มากมาย
 
'''9. งานด้านการประเมินผลและการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ''' (les travaux d’évaluation et d’expertise)
 
วุฒิสภาได้ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรในการจัดตั้งหน่วยงานและคณะผู้แทนต่าง ๆ กล่าวคือ
 
:* หน่วยงานประเมินผลของทางเลือกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐสภา (Office parlementaire d’évaluation des choix scientifiques et technologiques - OPECST)
:* หน่วยงานประเมินผลของนโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐสภา (Office parlementaire d’évaluation des politiques de santé)
:* หน่วยงานประเมินผลด้านการตรากฎหมายของรัฐสภา (Office parlementaire d’évaluation de la législation)
:* คณะผู้แทนเพื่อการวางแผนของรัฐสภา (Délégation parlementaire pour la planification)
:* คณะผู้แทนด้านสิทธิสตรีและความเท่าเทียมกันทางโอกาสระหว่างชายและหญิงของรัฐสภา(Délégation parlementaire aux droits des femmes et à l’égalité des chances entre les homes et les femmes)
:* คณะผู้แทนด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของท้องถิ่นของรัฐสภา (Délégation parlementaire à l’aménagement et au développement durable du territoire)
 
นอกจากนี้ วุฒิสภายังมีหน่วยงานในการประเมินผลอื่นอีก ได้แก่
 
:* ศูนย์สังเกตการณ์การกระจายอำนาจ (Observatoire de la décentralisation) ตั้งขึ้นเพื่อสนองตอบความต้องการของวุฒิสภาในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีหน้าที่หลัก 3 ประการดังนี้
:* ติดตามและประเมินผลการดำเนินการขั้นที่ 2 ของการกระจายอำนาจ (L’Acte II de la décentralisation)
:* ประเมินผลโดยรวมของนโยบายสาธารณะท้องถิ่น
:* หน้าที่ในการสำรวจแนวโน้มในอนาคตและเสนอข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการกระจายอำนาจให้ดีขึ้น
:* คณะทำงานด้านการประเมินผลและควบคุมด้านสวัสดิการสังคม (Mission d’évoluation et de contrôle de la sécurité sociale : MECSS) มีหน้าที่ในการติดตามและควบคุมการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน และดำเนินการประเมินผลในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการคลังด้านสวัสดิการสังคม
 
===ด้านการเป็นผู้แทนของประชาชน (Représentation des collectivités territoriales)===
 
สมาชิกวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของประชาชนทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของผู้ได้รับเลือกตั้งของท้องถิ่นหรือคณะผู้เลือกตั้ง (collège électorale) หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คณะผู้แทน (grands électeurs) สมาชิกวุฒิสภาจึงเป็นกระบอกเสียงของท้องถิ่นและมีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่นจากรัฐบาลกลาง (pouvoir central) นอกจากนี้ สมาชิกส่วนใหญ่ของวุฒิสภานั้นยังปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนท้องถิ่น อาทิ สมาชิกสภาเทศบาล นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาจังหวัด และสมาชิกสภาภาค อีกด้วย
 
การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาแบ่งได้เป็น 2 ฐานะ คือ การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา ได้แก่ การพิจารณากฎหมาย และควบคุมการทำงานของรัฐบาล และการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของตัวแทนของจังหวัด โดยสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่จะกลับเขตเลือกตั้งในช่วงปลายสัปดาห์เพื่อพบกับผู้ได้รับเลือกตั้งของท้องถิ่นและกระตุ้นให้มีการแสดงออกในประเด็นเรื่องเศรษฐกิจหรือนโยบายท้องถิ่น
 
== ดูเพิ่ม ==