ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supasate (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
|}}
 
'''ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์''' ([[11 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2496]] - ) อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท [[การบินไทย]] จำกัด (มหาชน) คนปัจจุบัน เป็นนักวิชาการด้าน[[พลังงาน]] เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองเกี่ยวกับพลังงานมามากมาย ทั้งยังได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงพลังงาน]] ใน[[รัฐบาลชั่วคราว หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์]] <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/E/106/01.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)]</ref>
 
== ประวัติ ==
ดร. ปิยสวัสดิ์ เป็นบุตรชายคนโตของ นายปรก อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตฯ กับ หม่อมราชวงศ์ปิ่มสาย (สวัสดิวัตน์) อัมระนันทน์ เป็นหลานตาของ [[หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์]]
 
ดร. ปิยสวัสดิ์ สมรสกับ [[อานิก อัมระนันทน์|นางอานิก อัมระนันทน์]] (สกุลเดิม "วิเชียรเจริญ" เป็นบุตรสาวของ [[อดุล วิเชียรเจริญ|ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ]] และ [[กนิษฐา วิเชียรเจริญ|แม่ชีคุณหญิงกนิษฐา วิเชียรเจริญ]]) อดีตผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการเงิน บริษัท [[เชลล์แห่งประเทศไทย]] ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกัน 2 คนคือ ปีย์ อัมระนันทน์ และ อนุตร์ อัมระนันทน์ ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นางอานิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 6 (กรุงเทพ) ลำดับที่ 6 ของ [[พรรคประชาธิปัตย์]] ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ได้รับการเลื่อนขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายหลัง
 
==การศึกษา==
บรรทัด 37:
 
== การทำงาน ==
ดร. ปิยสวัสดิ์ เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2523 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 4 กองวางแผนเศรษฐกิจและสังคม [[สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ]] จนได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และประมาณการเศรษฐกิจ เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และได้โอนและเลื่อนระดับตำแหน่งเป็น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในปีเดียวกัน นายปิยสวัสดิ์ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2537 และอยู่ในตำแหน่งรวม 6 ปี ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และตำแหน่งอธิบดี[[กรมประชาสัมพันธ์]] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543
 
{{cn-span|ดร. ปิยสวัสดิ์ มีแนวคิดเห็นด้วยกับการเปิดเสรีด้านพลังงาน และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ}} ด้วยความขัดแย้งกับนายแพทย์[[พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช]] รัฐมนตรีกำกับดูแลด้านพลังงานในรัฐบาล [[พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร]] เรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้า และนโยบายการแปรรูป[[ปตท.]] และ[[กฟผ.]] จึงลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2545 เพื่อไปดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ[[บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย]]
 
=== ผู้บริหารการบินไทย ===
[[พ.ศ. 2552]] ดร. ปิยสวัสดิ์ ได้ลาออกจากบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย เพื่อสมัครคัดเลือกเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท[[การบินไทย]] จำกัด (มหาชน) จนกระทั่งต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งช่วงเวลาที่เขาเข้ามาบริหารการบินไทยนั้น เป็นช่วงเวลาที่การบินไทยกำลังเผชิญกับภาวะขาดทุนสะสม และมีสถานะทางการเงินที่ลำบาก ดร. ปิยสวัสดิ์ จึงได้ดำเนินนโยบายลดค่าใช้จ่าย ปรับลดเงินเดือนพนักงาน ปลดพนักานพนักงาน ตัดงบประมาณส่วนที่ไม่จำเป็นของบริษัทออกอย่างมหาศาล และปรับปรุงภาพลักษณ์ของบริษัทให้ดีขึ้น จนทำให้ในปี พ.ศ. 2552 การบินไทยสามารถทำกำไรได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี และทำกำไรเพิ่มขึ้นในปีต่อมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2554 การบินไทยได้รับการจัดอันดับจาก[[สกายแทรกซ์]] ให้เป็นสายการบินอันดับ 5 ของโลก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่การบินไทยติด 1 ใน 5 สายการบินที่ดีที่สุด แม้ว่าจะช่วยทำให้สถานะของการบินไทยดีขึ้น แต่จากนโยบายของเขา ได้ก็สร้างความไม่พอใจให้กับพนักงานการบินไทยจำนวนมาก
 
[[พ.ศ. 2555]] วันที่ 21 พฤษภาคม คณะกรรมการบริหารบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีนาย[[อำพน กิตติอำพน]] เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ ได้มีมติเลิกจ้างดร. ปิยสวัสดิ์ จากการเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย โดยอ้างเหตุผลว่า เนื่องจาก ดร. ปิยสวัสดิ์มีปัญหาเรื่องการสื่อสารและกับคณะกรรมการบริษัทฯ จากเหตุการณ์นี้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาในทันทีจากวงสังคม ถึงเหตุผลในการปลด ดร. ปิยสวัสดิืปิยสวัสดิ์ เพราะเหตุผลของคณะกรรมการบริษัทนั้นไม่มีความชัดเจนพอ และมีการตั้งข้อสงใสสงสัยว่าอาจจะมีเรื่องของผลประโยชน์และการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามจากการเลิกจ้างครั้งนี้ การบินไทยต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับ ดร. ปิยสวัสดิืปิยสวัสดิ์ เป็นจำนวนเงินกว่า 5.4 ล้านบาท
 
= อิสริยาภรณ์ =