ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัชชาแห่งชาติ (ประเทศฝรั่งเศส)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 223:
การตั้งกระทู้ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีรูปแบบ ดังนี้
 
::'''2.1 กระทู้ถามด้วยวาจา (questions orales)'''
 
::* กระทู้ถามด้วยวาจาโดยไม่มีการอภิปราย (questions orales sans débat)
บรรทัด 239:
:::สภาจะทำการพิจารณากระทู้ถามสดในวันอังคารและวันพุธช่วงบ่าย โดยใช้เวลาครั้งละ 1 ชั่วโมง และทำการพิจารณาแม้แต่ในระหว่างการพิจารณางบประมาณ ซึ่งในการถามและตอบกระทู้ถามสด 1 กระทู้นั้นใช้เวลาโดยเฉลี่ย 5 นาที
 
::'''2.2 กระทู้ถามที่เป็นลายลักษณ์อักษร (questions écrites)'''
 
::สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถตั้งกระทู้ถามที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อถามรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ส่วนกระทู้ถามที่ถามนายกรัฐมนตรีต้องเป็นกระทู้ถามที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายทั่วไปของรัฐบาลเท่านั้น ทั้งนี้ ด้วยเหตุของหลักการแบ่งแยกอำนาจและเอกสิทธิ์ของผู้ปกครองรัฐ สมาชิกจึงไม่สามารถตั้งกระทู้ถามที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อถามประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ได้
บรรทัด 245:
::ในการตั้งกระทู้นั้น สมาชิกต้องเสนอกระทู้ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อแจ้งไปยังรัฐบาล ซึ่งในแต่ละสัปดาห์ทั้งในระหว่างสมัยประชุมและนอกสมัยประชุม กระทู้ถามที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะได้รับการประกาศในส่วนพิเศษของรัฐกิจจานุเบกษา และรัฐมนตรีต้องตอบในรัฐกิจกานุเบกษาภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่กระทู้ถามได้รับการประกาศในรัฐกิจจานุเบกษา
 
===การรับฟังข้อมูล (auditions)===
 
คณะกรรมาธิการสามัญมีหน้าที่ในการเป็นหลักประกันข้อมูลของสภาผู้แทนราษฎรสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ด้านการควบคุมนโยบายของรัฐบาล คณะกรรมาธิการสามัญ (หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ) สามารถเรียกบุคคลมาชี้แจง เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นความลับและเกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ กิจการต่างประเทศ ความมั่นคงภายในและภายนอกรัฐ รวมถึงการเคารพหลักการการแบ่งแยกอำนาจตุลาการจากอำนาจอื่น ผู้ไม่ไปชี้แจงจะถูกปรับ 7,500 ยูโร เป็นการลงโทษ
 
===คณะทำงานด้านข้อมูล (missions d’information)===
 
::'''4.1 คณะทำงานด้านข้อมูลในคณะกรรมาธิการสามัญ (missions d’information des commissions permanentes)'''
 
::คณะกรรมาธิการสามัญสามารถจัดตั้งคณะทำงานด้านข้อมูลชั่วคราว เพื่อเตรียมการพิจารณาร่างกฎหมายหรือควบคุมการใช้บังคับกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และจัดทำรายงานด้านข้อมูล (rapports d’information) เสนอต่อคณะกรรมาธิการ
 
::'''4.2 คณะทำงานด้านข้อมูลที่ตั้งโดยที่ประชุมแห่งประธาน (missions d’information créées par la Conférence des Présidents)'''
 
::ที่ประชุมแห่งประธานสามารถตั้งคณะทำงานด้านข้อมูล ตามข้อเสนอของประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะทำงานนี้มีลักษณะเป็นการชั่วคราวและมีหน้าที่เพียงการหาข้อมูล
 
::การแต่งตั้งดังกล่าวเป็นการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในการทำงานเกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนหรือเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจของกลุ่มการเมืองและคณะกรรมาธิการทั้งหลาย ซึ่งประธานสภาสามารถเป็นประธานคณะทำงานนี้ได้
 
===การตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวน (commissions d’enquête)===
 
ตั้งแต่ปี 1991 ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อเท็จจริงและควบคุมการบริหารจัดการด้านการบริหาร ด้านการคลัง หรือเทคนิคของหน่วยงานภาครัฐ โดยคณะกรรมาธิการสอบสวนประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกิน 30 คน ซึ่งจะเลือกคณะกรรมการบริหารที่ประกอบด้วยประธาน 1 คน รองประธาน 2 คน เลขานุการ 2 คน และผู้นำเสนอรายงาน 1 คนโดยการลงคะแนนลับ
 
คณะกรรมาธิการสอบสวนมีวาระการปฏิบัติงานในลักษณะชั่วคราว โดยหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลจะสิ้นสุดลงเมื่อได้นำเสนอรายงาน หรืออย่างช้าที่สุดเมื่อพ้นระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่มีมติตั้ง ทั้งนี้สภาจะตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวนที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันกับคณะที่มีอยู่ก่อนพ้นกำหนดระยะเวลา 12 เดือน นับแต่การสิ้นสุดภารกิจของคณะนั้นไม่ได้
 
===การควบคุมงบประมาณและการเงินของสวัสดิการสังคม (contrôle du budget et du financement de la sécurité sociale)===
 
คณะกรรมาธิการการคลังมีหน้าที่ในการติดตามและควบคุมการบังคับใช้กฎหมายทางการคลังและประเมินผลทางด้านการคลังสาธารณะ โดยคณะกรรมาธิการจะแต่งตั้งผู้นำเสนอรายงานพิเศษ (rapporteurs spéciaux) ที่มีอำนาจในการควบคุมการบังคับใช้กฎหมายทางการคลังและการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจทั้งทางด้านเอกสารและด้านสถานที่ หรือสมาชิกในคณะเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
 
ส่วนคณะกรรมาธิการอื่นจะพิจารณาการใช้จ่ายงบประมาณของกระทรวงต่าง ๆ ตามอำนาจหน้าที่ของคณะนั้น ๆ
 
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 คณะกรรมาธิการการคลังได้ตั้งคณะทำงานด้านการประเมินผลและการควบคุม (Mission d’évaluation et de contrôle: MEC) เพื่อประเมินผลการดำเนินนโยบายของรัฐ และในเดือนสิงหาคม 2004 คณะกรรมาธิการกิจการวัฒนธรรม ครอบครัวและสังคมได้ตั้งคณะทำงานด้านการประเมินผลและการควบคุมกฎหมายเกี่ยวด้านการเงินด้านสวัสดิการสังคม (Mission d’évaluation et de contrôle des lois de financement de la sécurité sociale: MECSS)
 
===การควบคุมการบังคับใช้กฎหมาย (contrôle de l’application des lois)===
 
ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นผู้นำเสนอรายงานหรือสมาชิกอื่นที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมาธิการจะเสนอรายงานเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายต่อคณะกรรมาธิการ โดยรายงานต้องแสดงตัวบทกฎหมายที่ได้รับการตีพิมพ์และบทบัญญัติที่ประกาศใช้บังคับ พร้อมทั้งบทบัญญัติที่ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับ ในกรณีที่มีบทบัญญัติยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับ ผู้นำเสนอรายงานมีเวลาดำเนินการอีก 6 เดือน ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณา
 
===การควบคุมในสหภาพยุโรป (contrôle de l’Union européenne)===
 
คณะผู้แทนในสหภาพยุโรป (délégation pour l’Union européenne) ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเมื่อปี 1979 ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 36 คน มีหน้าที่ในการหาข้อมูลและควบคุมเกี่ยวกับกิจกรรมของสหภาพยุโรปในฐานะผู้แทนของชาติ โดยรัฐบาลต้องเสนอร่างข้อกำหนดของประชาคมยุโรปและสหภาพยุโรปเกี่ยวกับมาตรการทางด้านนิติบัญญัติซึ่งเสนอโดยรัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเมื่อได้ส่งร่างดังกล่าวไปยังคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ซึ่งรัฐบาลสามารถเสนอร่างข้อกำหนดอื่นและเอกสารที่ได้มาจากองค์กรของสหภาพยุโรปต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้ ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาสามารถลงมติร่างข้อกำหนดหรือเอกสารดังกล่าวในช่วงนอกสมัยประชุมตามวิธีที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมของแต่ละสภาได้
 
===งานด้านการประเมินผลและการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (les travaux d’évaluation et d’expertise)===
 
สำหรับงานด้านการประเมินผลและการตรวจสอบนั้น สภาผู้แทนราษฎรได้ร่วมกับวุฒิสภาในการจัดตั้งหน่วยงานและคณะผู้แทนต่าง ๆ กล่าวคือ
 
* หน่วยงานประเมินผลของทางเลือกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐสภา (Office parlementaire d’évaluation des choix scientifiques et technologiques - OPECST)
* หน่วยงานประเมินผลของนโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐสภา (Office parlementaire d’évaluation des politiques de santé)
* หน่วยงานประเมินผลด้านการตรากฎหมายของรัฐสภา (Office parlementaire d’évaluation de la législation)
* คณะผู้แทนเพื่อการวางแผนของรัฐสภา (Délégation parlementaire pour la planification)
* คณะผู้แทนด้านสิทธิสตรีและความเท่าเทียมกันทางโอกาสระหว่างชายและหญิงของรัฐสภา(Délégation parlementaire aux droits des femmes et à l’égalité des chances entre les hommes et les femmes)
* คณะผู้แทนด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของท้องถิ่นของรัฐสภา (Délégation parlementaire à l’aménagement et au développement durable du territoire)
 
{{โครงการเมือง}}