ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อีพีเจเนติกส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: ru:Эпигенетика
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''อีพีเจเนติกส์''' ({{lang-en|epigenetics}}) หรือ'''พันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม''' คือองค์ความรู้ทาง[[ชีววิทยา]]โดยเฉพาะ[[พันธุศาสตร์]]ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ[[การแสดงออกของยีน]]ที่เกิดจากกระบวนการอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลง[[ลำดับดีเอ็นเอ]] ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนแบบนี้เช่น[[การเติมหมู่เมธิล]]บน[[ดีเอ็นเอ]]หรือ[[การถอนหมู่อะเซทิล]]ออกจาก[[ฮิสโตน]] เป็นการยับยั้งการแสดงออกของยีนนั้นๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอในยีนนั้นๆ

การควบคุมการแสดงออกในลักษณะนี้อาจสามารถคงอยู่ได้หลัง[[การแบ่งเซลล์]] และอาจคงอยู่ข้ามไปสู่สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกและรุ่นต่อๆ ไปได้ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ<ref name="pmid17522671">{{cite journal | author = Bird A | title = Perceptions of epigenetics | journal = Nature | volume = 447 | issue = 7143 | pages = 396–8 | year = 2007 | month = May | pmid = 17522671 | doi = 10.1038/nature05913 }}</ref> โดยมีปัจจัยที่นอกเหนือจากพันธุกรรมที่ทำให้ยีนแต่ละยีนแสดงออก ("ประพฤติตัว") เปลี่ยนแปลงไปจากที่ควรเป็น<ref>[http://web.archive.org/web/20080501094940/http://www.prospect-magazine.co.uk/article_details.php?id=10140 Special report: 'What genes remember' by Philip Hunter | Prospect Magazine May 2008 issue 146<!-- Bot generated title -->]</ref>
 
ตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการอีพิเจเนติกส์ในเซลล์สิ่งมีชีวิต[[ยูคาริโอต]]คือ[[cellular differentiation|กระบวนการการเปลี่ยนชนิดของเซลล์]] (cellular differentiation) ซึ่งระหว่างขั้นตอน[[Morphogenesis|มอร์โฟเจเนซิส]]นั้น[[เซลล์ต้นกำเนิด]]ชนิด[[Totipotency|โททิโพเทนท์]]จะแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงกลายเป็น[[Cell line|สายพันธุ์เซลล์]][[Pluripotency|พลูริโพเทนท์]]หลายๆ สายพันธุ์ ของ[[ตัวอ่อน]]ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งก็จะแบ่งตัวและพัฒนาต่อไปกลายเป็นเซลล์ที่มีการกำหนดหน้าที่ชัดเจน กล่าวคือ [[เซลล์ไข่]]ซึ่ง[[ปฏิสนธิ]]แล้ว ([[ไซโกต]]) เพียงเซลล์เดียว ได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์หลายต่อหลายชนิดทำหน้าที่แตกต่างกัน ตั้งแต่[[เซลล์ประสาท]] [[เซลล์กล้ามเนื้อ]] [[เซลล์เยื่อบุผิว]] [[เซลล์ผนังหลอดเลือด]] ฯลฯ ซึ่งกลไกนี้เกิดขึ้นโดยที่เซลล์ต่างๆ มีกระบวนการที่ทำให้ยีนบางยีนทำงาน และยีนบางยีนไม่ทำงาน<ref name="pmid17522676">{{cite journal | author = Reik W | title = Stability and flexibility of epigenetic gene regulation in mammalian development | journal = Nature | volume = 447 | issue = 7143 | pages = 425–32 | year = 2007 | month = May | pmid = 17522676 | doi = 10.1038/nature05918 }}</ref>
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:อีพีเจเนติกส์]]
[[หมวดหมู่:แผนที่พันธุกรรม]]