ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษามอญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
|iso3=mnw}}
 
'''ภาษามอญ''' คือ[[ตระกูลภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกสโตร-เอเซียติก]] สาขามอญ-เขมร ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย ที่อาศัยอยู่ใน[[พม่า]] และ[[ไทย]] พูดโดย[[ชาวมอญ]] ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึก[[วัดโพธิ์ร้าง]] [[พ.ศ. 1143]] เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัว[[อักษรปัลลวะ]] ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น [[อักษรมอญ]] และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมือง[[ลพบุรี]] ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับ[[พระพุทธศาสนา]] สันนิษฐานว่า จารึกในพุทธศตวรรษที่ 13 ราว พ.ศ. 1314 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้ เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ
 
ภาษามอญ ในจารึกสมัยกลางเป็นทั้งภาษามอญและอักษรมอญ ประมาณ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา พม่ารับอักษรมอญมาใช้เขียน[[ภาษาพม่า]]เป็นครั้งแรก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรได้คลี่คลายจากตัวอักษรปัลลวะ มาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยม คือ ตัวอักษรที่เรียกว่า อักษรมอญโบราณ และเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 ก็ได้กลายเป็นอักษรมอญปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะกลม เกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบน[[ใบลาน]]
บรรทัด 19:
ภาษามอญปัจจุบัน เป็นภาษาในระยะพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลาประมาณ 400 ปีเศษ ในยุคนี้เป็นจารึกในใบลาน มีลักษณะกลม ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน<ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=68&main_menu_id=3 อักษรมอญ]</ref>
 
การจัดตระกูลภาษา ถือว่าอยู่ใน[[ตระกูลภาษาออสโตรเอเซียติก]]สโตร-เอเซียติก (Austroasiatic Languages) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในแถบ[[อินโดจีน]]และทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และเมื่อพิจารณาลักษณะทาง[[ไวยากรณ์]] ภาษามอญ จัดอยู่ในประเภท[[ภาษารูปคำติดต่อ]] (Agglutinative) อยู่ในกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Flank Group) ซึ่งมีนักภาษาศาสตร์ ชื่อ [[วิลเฮม สชมิต]] (Willhelm Schmidt) ได้จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาสายใต้ (Austric Southern family)
 
[[พระยาอนุมานราชธน]]ได้กล่าวถึงภาษามอญไว้ว่า “ภาษามอญ นั้นมีลักษณะเป็นภาษาคำโดด ซึ่งมีรูปภาษาคำติดต่อปน ลักษณะคำมอญ จะมีลักษณะเป็นคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์ ส่วนคำหลายพยางค์ เป็นคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ เช่น [[ภาษาบาลี]]และ[[สันสกฤต]] และคำที่เกิดจากการเติมหน่วยคำผสาน กล่าวคือ การออกเสียงของคำซึ่งไม่เน้นการออกเสียงใน[[พยางค์]]แรก จะสร้างคำโดยการใช้การผสานคำ (affixation) กับคำพยางค์แรก เพื่อให้มีหน้าที่ทางไวยากรณ์ อีกทั้งการใช้หน่วยผสานกลางศัพท์ และการใช้สระต่าง ๆ กับพยางค์แรก ในคำสองพยางค์ ก็จะเป็นการช่วยเน้นให้พยางค์แรกเด่นชัดขึ้นด้วย แต่พยางค์หลังเป็นส่วนที่มีความหมายเดิม
บรรทัด 105:
 
{{ออสโตรเอเชียติก}}
{{ภาษาทางการอาเซียน}}
{{อินคูเบเตอร์|mnw}}
[[หมวดหมู่:ภาษาในประเทศไทย|มอญ]]