ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระโกศทองใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dora1999 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dora1999 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 11:
ในปีเดียวกันนั้นเอง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์ลง ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระอาลัยเป็นอันมาก รวมทั้ง พระองค์ทรงใคร่จะทอดพระเนตรพระโกศทองใหญ่เมื่อตั้งพระเบญจาในคราวออก[[พระเมรุ]] ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองใหญ่ประกอบพระลองในสำหรับบรรจุพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นประเพณีในรัชกาลต่อ ๆ มาที่จะพระราชทานพระโกศทองใหญ่สำหรับทรงพระศพอื่นได้นอกเหนือจากพระบรมศพ<ref name="ตำนานพระโกษฐ์"/> โดยปัจจุบัน นอกจากพระมหากษัตริย์แล้ว พระบรมวงศ์ที่จะได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่เมื่อวายชนม์ ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้า<ref>[http://www.brh.thaigov.net/information/infor/b/b6/b69/2/data.pdf หลักเกณฑ์เทียบเกียรติยศพระราชทานแก่พระศพและศพ], สำนักพระราชวัง, เข้าถึงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554</ref>
 
นอกจากนี้ ยังมีการพระราชทานเครื่องประดับพระโกศตามพระอิสริยยศของเจ้านายที่พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระบรมศพหรือพระศพ ลดหลั่นกันไปตามพระอิสริยยศ โดยปกติพระบรมศพนั้นจะพระราชทานดอกไม้เพชร ดอกไม้ไหว เฟื่องและดอกไม้เอวเป็นเครื่องประดับพระโกศ ส่วนพระศพของเจ้าฟ้าที่ไม่ได้สถาปนาเป็นพิเศษ จะเอาดอกไม้เพชรฝาพระโกศกับดอกไม้เอวเพชรออก คงเหลือแต่พุ่มเพชรกับเฟื่องเพชร<ref>จุฑานันท์ บุญทราหาญ, 'พระโกศ' เครื่องประดับพระอิสริยยศ, เดลินิวส์ออนไลน์, วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2551</ref> เป็นต้น ในส่วนการตั้งพระโกศทองใหญ่ที่พระเมรุนั้นให้ตั้งแต่พระเมรุกลางเมืองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าหากพระราชทานเพลิงพระศพที่[[วัด]]จะพระราชทานพระโกศทองใหญ่เมื่อชักพระศพ<ref name="ตำนานพระโกษฐ์"/> รวมทั้ง อาจมีการพระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพเมื่อคราวออกพระเมรุด้วย<ref name="สมาน">สมาน สุดโต, ตำนานพระโกศและความอลังการพระโกศทองใหญ่องค์ใหม่, หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์, วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2551</ref>
 
ปัจจุบัน พระโกศทองใหญ่มีจำนวนทั้งสิ้น 3 องค์ โดยองค์แรกนั้นสร้างขึ้นโดย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ส่วนองค์ที่ 2 [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดให้[[พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์]] รองเสนาบดีกระทรวงวังและผู้บัญชาการกรมช่างสิบหมู่สร้างขึ้น เรียกว่า พระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 5 หรือพระโกศทองลองทองใหญ่ รัชกาลที่ 5<ref>เทวาธิราช ป. มาลากุล, [http://www.brh.thaigov.net/information/infor/c/c5/c53.pdf เครื่องราชูปโภคและเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์], สำนักพระราชวัง, เข้าถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554</ref> ซึ่งพระโกศทั้ง 2 องค์ข้างต้นนั้น ผ่านการใช้งานจนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ดังนั้น [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]]จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระโกศทองใหญ่องค์ที่ 3 ขึ้น โดยนำมาใช้เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศของ[[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]]เป็นพระองค์แรก<ref name="สมาน"/>
 
== รายพระนามที่ทรงพระโกศทองใหญ่<ref name="สมาน"/><ref>[http://www.brh.thaigov.net/information/infor/c/c5/c52.pdf ตำนานพระโกศ (เพิ่มเติมบัญชีรายพระนามที่ทรงพระโกศทองใหญ่)], สำนักพระราชวัง, เข้าถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554</ref> ==