ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดฌา-วูว์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Erictennyson07 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Erictennyson07 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ดจาวู (DEJA VU) แปลว่า เคยได้พบเห็นมาแล้ว คำว่าเดจาวูได้บันทึกขึ้นมาจากนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส Emile Boirac (1851–1917) ในหนังสือ L'Avenir des sciences psychiques (แปลว่า อนาคตของวิทยาศาสตร์จิตวิทยา) เคยไหม "รู้สึกเคยผ่านมาแล้ว" ญาณพิเศษ ทุกคนมี..ชาติก่อน, โลกคู่ขนาน, พลังจิต หรือรู้สึกไปเอง เดจาวู ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นปรากฏการณ์ที่มนุษยชาติพบพาน ทุกเพศวัย ทุกชนชาติแห่งหน คำอธิบายที่เรามักอ้างให้ตัวเองคือ "คิดไปเองน่า" เราคิดไปเองจริงหรือ ?
 
<big>'''ทฤษฎีแรก อดีตชาติ'''</big>
 
สิ่งใดก็ตามที่เคยเกิดไปแล้วในอดีต จะย้อนกลับมาเกิดซํ้าอีก เราจะผ่านประสบการณ์มากมาย และบางสิ่งอาจหลงเหลือในความทรงจำ แล้วย้อนกลับมาเกิดอีก ทำให้รู้สึกว่าเคยเห็นมาก่อน เดจาวู เป็นประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ.. ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า เดจาวู มันเกิดจากการที่ขณะหลับ จะมีการหลับอยู่หลายขั้น (ประมาณ 5 ขั้น) ถ้าเห็นอนาคตที่เคยทำ ก็จะอยู่ประมาณขั้นที่ 3 ยิ่งขั้นมากขึ้น ความสัมพันธ์กับร่างกายและวิญญาณ จะยิ่งห่างไกลกันออกไป ถ้าหลับลึกถึงขั้นที่ 5 ก่อนหลับจะรู้สึกชาตามร่างกายทั้งตัว ขยับตัวเองไม่ได้ พูดไม่ได้ (ลักษณะที่คนทั่วไปเรียกว่าถูกผีอำ) ถ้าหลับในสภาพนี้ อัตราค่าซิงโครกับร่างกายจะลดต่ำ ลงจนเหลือ 0 แล้ววิญญาณก็จะหลุดออกจากร่างกาย..
 
<big>'''ทฤษฎีที่สอง พลังจิต'''</big>
 
บ้างก็ว่า เดจาวู เป็นพลังจิตรูปหนึ่ง บ้างก็ว่าเป็นทิพจักขุญาณ (ความรู้คล้ายตาทิพย์) ซึ่งได้มาจากการเจริญสมถะภาวนาในหมวดของกสิณ 3 กองคือ
บรรทัด 15:
เราทุกคนมีพลังจิต เพียงแต่จะอ่อนจะเข้ม บางทีเพราะเราไม่ได้ฝึก จะเก็บกดไว้ภายใน วันดีคืนดีก็ล้นออกมา ตามตำรา ถ้าได้ฝึก เราสามารถควบคุมได้ มีนักพยากรณ์หลายคน พยากรณ์ได้จากการเพ่ง ว่ากันว่า มีผู้หนึ่งมีเดจาวูแรงกล้ามาก หาใครเปรียบได้ไม่ เขาชื่อ นอสตราดามุส ทฤษฎีที่สาม จักรวาลคู่ขนาน
 
<big>'''ทฤษฎีที่สาม จักรวาลคู่ขนาน'''</big>
 
อธิบายเกี่ยวกับ โลกคู่ขนาน หรือ จักรวาลคู่ขนาน ก่อนหมายถึง จักรวาลที่ดำเนินไปพร้อมกับจักรวาลที่เราอยู่นี้ ทฤษฎีนี้นักฟิสิกส์ริเริ่มคิดขึ้นมา มีเหตุการณ์ที่เราลังเลอยู่ 2 ทาง แต่เราก็ตัดสินใจไปทางหนึ่ง แล้วคิดไหมว่า ถ้า ณ วันนั้นเราติดสินใจเป็นอย่างอื่น อะไรจะเกิดขึ้นในโลกนี้ที่เรามีตัวตนอยู่ในขณะนี้ ขณะเดียวกันก็มีเราอีกคนหนึ่งในอีกโลกหนึ่ง และมีโลกคู่ขนานมากมายนับไม่ถ้วน..เช่น ขณะนี้เราได้ตัดสินใจบางสิ่ง ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ ขณะที่อีกคนของเราได้ตัดสินใจไปอีกทางทำให้ชีวิตตนเอง และผู้อื่นเสียหาย ก็เป็นได้ อีกตัวอย่าง บางครั้งคุณอยากฆ่าตัวตายแต่คุณล้มเลิก บางทีคุณในโลกคู่ขนานอาจฆ่าตัวตายไปแล้วก็ได้อะไรประมาณนี้ ตัวอย่าง ปัญหาทางทฤษฎีมิติเวลา สมมติคุณเดินทางย้อนเวลาได้ เมื่อวานคุณเก็งหุ้นตัวหนึ่ง วันนี้หุ้นนั้นล้ม คุณล้มละลาย คุณเดินทางย้อนเวลาไปเตือนคุณในอดีตคุณในอดีตรู้คำเตือน และยกเลิกหุ้นตัวนั้น เมื่อวานคุณไม่ได้ถือหุ้นตัวนั้น ถ้าเช่นนั้น วันนี้คุณไม่ได้ล้มละลาย ในเมื่อคุณไม่ได้ล้มละลาย คุณก็ไม่ได้เดินทางย้อนเวลาไปบอกตัวเองในอดีต คุณในอดีตก็ไม่รู้ว่า หุ้นตัวนั้นจะล้ม และเก็งหุ้นตัวนั้นตกลงวันนี้คุณล้มละลายหรือเปล่า ทฤษฎีเกี่ยวกับโลกคู่ขนาน
<big>
 
'''ทฤษฎีเกี่ยวกับโลกคู่ขนาน'''</big>
 
จึงถูกคิดขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ความผันผวนของมิติเวลาเหล่านี้ ทุกๆเหตุการณ์ที่เรามี 2 ตัวเลือก จะเกิดโลกคู่ขนาน 2 โลก และจาก 2 โลก ถ้าเราเจอเหตุการณ์อื่นที่ต้องตัดสินใจ 2 ทาง แต่ละโลก จะเกิดโลกคู่ขนานอีก 2 โลก โลกคู่ขนานจึงมีจำนวน นับไม่ถ้วน จากตัวอย่างเรื่องหุ้น ทฤษฎีอธิบายว่า คุณไม่อาจเปลี่ยนอดีตของตัวได้ เมื่อคุณเดินทางไปบอกตัวเองให้เลิกหุ้นนั้น คุณในอดีต ที่ตัดสินใจไม่เอาหุ้นนั้น จะเกิดอนาคตที่วันนี้คุณไม่ล้มละลาย.. จริง แต่เป็น คนละอนาคต กับวันนี้ของคุณ ที่คุณล้มละลาย คือเกิดเป็น 2 โลก คุณกลับมาปัจจุบัน โลกวันนี้ คุณก็ยังล้มละลายอยู่ดี แต่โลกที่คุณย้อนไปบอก คุณอีกคนนั้นเขาไม่ล้มละลาย (ถ้าใครเคยดูการ์ตูนดราก้อนบอลแซดคงเข้าใจมากขึ้น ทรังค์ย้อนเวลาจากโลกที่ถูกหมายเลข 17,18 ทำลาย มาในปัจจุบัน ในที่สุดโลกที่เขามา ไม่ถูกทำลาย แต่เขากลับไป โลกของเขาก็ยังเป็นโลกที่ถูกทำลายอยู่ดี ไม่เช่นนั้นเขาจะมาได้อย่างไร) มีคนผูกทฤษฎีเดจาวู กับทฤษฎีจักรวาลคู่ขนาน กล่าวว่า การที่เรารู้สึกหรือเห็นภาพที่คล้ายว่าเคยทำมาก่อน นั่นแหละ คุณเคยทำจริง แต่เป็นคุณในอีกโลกหนึ่งต่างหากที่ได้ทำ คุณในทุก ๆ โลก ถูกผูกกันด้วยสายใยบางอย่าง อาจเป็นเพราะ สมองมีคลื่นตรงกัน ก็เป็นคุณคนเดียวกันนี่นา ในบางจังหวะที่เหมาะสม กระแสประสาทจูนกัน คุณก็ได้รับรู้ถึงกระแสความคิดจากคุณในอีกโลก
 
<big>'''ทฤษฎีสุดท้าย คิดไปเอง'''</big>
 
ตามแนวคิดของหลักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เกิดจากสมองแปลข้อมูลผิดพลาด พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่ได้เห็นมาแล้วหรอก แต่คิดไปว่าเห็นมาแล้ว ทางการแพทย์เรียกว่า การไหลของคลื่นกระแสไฟฟ้าในสมองเกิดการผิดปกติ ทำให้การกระทำที่กำลังทำอยู่ ณ ขณะนั้น คลับคล้ายว่าเคยเกิดมาก่อนหน้านี้มาแล้ว แต่ไม่สามารถจำเวลาได้..สมองคนเราก็เหมือนเครื่องจักรย่อมเกิดข้อผิดพลาด บ้างอธิบายว่า เดจาวู เกิดจากเมื่อสมองรับภาพมาจากประสาทตา ก็นำมาแปลความหมาย สมองมี 2 ซีก ตามี 2 ข้าง ประสาทตาซ้ายเข้าสมองซีกขวา ประสาทตาขวาเข้าสมองซีกซ้ายฉะนั้นสมองทั้งสอง ต้องทำงานประสานกันและกันอย่างมาก เมื่อเกิดสมองข้างหนึ่ง เกิดส่งข้อมูลมาช้าไปเพียงนิดเดียว ทำให้สมองแปลความหมายของภาพนั้นว่า เป็นภาพจากความจำไม่ใช้ปัจจุบันทำให้รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เจอนั้นเคยเห็นมันมาก่อน.. มีหลักฐานว่า โดยส่วนมาก คนที่เป็นลมบ้าหมู หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็น จะมีโอกาสเกิดบ่อยกว่า และมีโอกาสเกิดบ่อยมากขึ้น ก่อนที่จะมีอาการชักกระตุก
 
<big>'''หลักฐานอ้างอิง เหตุการณ์ที่รัสเซีย'''</big>
 
ครั้งที่จักรพรรดินโปเลียนบุกรัสเซียในปี ค.ศ.1812 ภริยาของท่านเคานท์ตูชคอฟ นายพลรัสเซีย ได้ฝันว่า เธออยู่ในโรงเตี๊ยมของเมืองหนึ่ง ซึ่งเธอไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วบิดาของเธอก็เข้ามาในห้อง อุ้มลูกชายคนเล็กของเธอมาด้วย และบอกแก่เธออย่างเศร้าสร้อยว่า สามีของเธอเสียชีวิตในการศึกแล้ว “ความสุขของลูกจบสิ้นแล้ว” ผู้เป็นบิดากล่าว “สามีของลูกได้ล้มลง และสิ้นใจที่โบโรดิโน” ฝันนี้บังเกิดขึ้นแก่เธออีกสองครั้งจนเธอได้เล่าให้สามีฟัง ทั้งสองค้นหาดูในแผนที่ แต่ไม่พบเมืองโบโรดิโนแต่อย่างใด
บรรทัด 33:
ทว่าในวันที่ 7 กันยายน 1812 ทัพรัสเซียได้ถอยร่นและต่อสู้กับฝรั่งเศสอย่างดุเดือดที่ตำบลเล็กๆชื่อโบโรดิโน ห่างทางตะวันตกของกรุงมอสโก 70 ไมล์ โดยเคาน์เตสส์ตูชคอฟกับครอบครัวพักอยู่ที่โรงเตี๊ยม ไม่ไกลจากแนวรบที่สามีของเธอเป็นผู้บัญชาการเท่าใดนัก เช้ารุ่งขึ้น บิดาได้อุ้มลูกชายคนเล็กของเธอเข้ามาในห้องและกล่าวว่า “สามีของลูกได้ล้มลง และสิ้นใจที่โบโรดิโน”
 
<big>'''เหตุการณ์บนเรือ ซิตี้ออฟไลม์ริค'''</big>
 
ส่วนเหตุการณ์ที่ผสมผสานถึงฝันกึ่งจริงได้เคยเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1963 บนเรือ “ซิตี้ออฟไลม์ริค” ที่แล่นจากลิเวอร์พูลไปนิวยอร์ก และเผชิญกับพายุกลางมหาสมุทรแอตแลนติกนานกว่าสัปดาห์ ทำให้ ครอบครัวทางบ้านต่างพะวงเป็นห่วงผู้โดยสารที่อยู่บนเรือ หลังคลื่นลมสงบ วิลมอท หนึ่งในผู้โดยสารจึงหลับสนิทได้ เขาฝันว่าได้เห็นภรรยาในชุดนอน เดินเข้ามาในห้องพัก เธอชะงักลังเลเมื่อพบว่ามันเป็นห้องคู่ และมีชายอีกคนหนึ่งนอนอยู่เตียงบนเหนือสามีเธอ ชายผู้นั้นจ้องดูเธอ ครั้นแล้วเธอก็ได้ตรงไปหาสามีที่เตียง จุมพิตเขา และออกไปอย่างเงียบๆ
บรรทัด 43:
บางคนมีประสบการณ์เดจาวูที่น่าอกสั่นขวัญหาย นั่นคือได้เกิดเห็นภาพนิมิตเป็นอุบัติเหตุบนท้องถนน เห็นภาพรถพังพินาศ คนบาดเจ็บและตายเกลื่อนและแล้วต่อจากนั้นไม่นาน เขาก็ผ่านไปพบเห็นอุบัติเหตุกับตาจริงๆ ทุกอย่างตรงกับภาพนิมิตที่เขาได้เห็นล่วงหน้า
 
<big>'''อาการที่เกี่ยวข้อง'''</big>
 
ฌาเมวูว์ (ฝรั่งเศส: jamais vu แปลว่า ไม่เคยเห็น) เป็นอาการตรงกันข้ามกับ เดจาวู คือจำเรื่องที่คุ้นเคยในอดีตไม่ได้