ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 97:
== ละครและภาพยนตร์ ==
 
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรงก่อตั้ง [[บริษัทไทยฟิล์ม]] ร่วมกับนาย[[พจน์ สารสิน]] และนาย[[ประสาท สุขุม]] สร้างภาพยนตร์ 35 มม.ขาวดำ ระบบไวด์สกรีน เสียงในฟิล์มเรื่องแรก [[ถ่านไฟเก่า]] ฉายในช่วงปีใหม่ (เม.ย.) พ.ศ. 2481 ตามด้วยเรื่อง [[แม่สื่อสาว]] [[วันเพ็ญ จุดใต้ตำตอ ปิดทองหลังพระ]] และเรื่องสุดท้าย "ลูกทุ่ง" (2483) ก่อนยุติบทบาทลงเนื่องจากประสบภาวะขาดทุนและได้ขายกิจการกับโรงถ่ายให้แก่กองทัพอากาศไปในปีนั้น อย่างไรก็ตามเพลง "[[บัวขาว]]" และ "[[ลมหวน]]" ในภาพยนตร์เรื่องแรกยังคงเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน เสด็จพระองค์ชายใหญ่ทรงตั้งคณะอัศวินการละคร ในยุคละครเวทีเฟื่องฟู มีผลงานเช่น เมื่อ พ.ศ. 2494 ผู้ชมเรียกร้องให้นำนวนิยายเรื่อง [[บ้านทรายทอง]] ที่กำลังดังมากเวลานั้นมาทำเป็นละครเวที ทรงให้ [[สวลี ผกาพันธ์]] และ [[ฉลอง สิมะเสถียร]] แสดงนำ ได้รับความสำเร็จอย่างสูง ทั้งได้ทรงพระนิพนธ์คำร้องเพลงเอก ชื่อ " หากรู้สักนิด " ซึ่งกลายเป็นเพลงอมตะคู่กับบทประพันธ์ที่รู้จักกันดี ชื่อละครของอัศวินเรื่อง บุษบาริมทาง นำแสดงโดย [[เพ็ญศรี พุ่มชูศรี]] เสด็จฯได้ทรงประทานชื่อละครเรื่องนี้แก่คณะผู้บริหารโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยตามที่ได้ขอประทานอนุญาตใช้เป็นชื่อภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์เพลงยิ่งใหญ่จากฮอลลีวู๊ดเรื่อง My Fair Lady (2507) อีกเรื่องที่มีชื่อเสียงคือ [[พันท้ายนรสิงห์]] เสด็จฯได้ทรงนำบทละครเวทีของอัศวินที่เคยได้รับความนิยมมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของบริษัทอัศวินภาพยนตร์ ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม.สี พากย์สด นำแสดงโดย [[ชูชัย พระขรรค์ชัย]] และ [[สุพรรณ บูรณพิมพ์]] กำกับการแสดงโดย ครู[[มารุต]] ฉายที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง เมื่อปี พ.ศ. 2493 (ฉายซ้ำในปี พ.ศ. 2501 และ พ.ศ. 2509) ภายหลังอีกหลายปีได้ขยายภาพและบันทึกเสียงลงฟิล์ม 35 ม.ม.ฉายที่โรงภาพยนตร์พาราเมาท์ ประตูน้ำ (2518) ภาพยนตร์เรื่องอื่นๆได้แก่ นางกลางเมือง (2497) และ ถ่านไฟเก่า (24982500) ฉบับสร้างใหม่
 
อัศวินยังคงสร้างภาพยนตร์ 16 มม.ต่อมาอีกหลายเรื่อง เช่น นเรศวรมหาราช (2500) รวมทั้งภาพยนตร์สารคดีเรื่อง 15 นาทีในอินเดีย (2503) ก่อนเปลี่ยนไปสร้างภาพยนตร์ 35 มม.จอโค้งระบบซีเนมาสโคป 35 มม.ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลกขณะนั้น ใช้กล้องและเลนส์รวมทั้งอุปกรณ์บันทึกเสียงระดับสตูดิโอฮอลลีวู๊ดมูลค่านับสิบล้านบาท (มีเฉพาะที่โรงถ่ายอัศวิน ต.หนองแขม เขตธนบุรี เพียงแห่งเดียวในเมืองไทย) ระหว่าง พ.ศ. 2504 - 2519 เริ่มจาก เรือนแพ จำปูน เป็ดน้อย ละครเร่ เรารักกันไม่ได้ น้ำผึ้งขม และ ทะเลฤๅอิ่ม ตามลำดับ (สามเรื่องแรกได้ดาราของชอว์ บราเดอร์ส ร่วมแสดงด้วย) ตามด้วยโครงการสร้างภาพยนตร์อีก 3-4 เรื่องในนามอัศวินอินเตอร์เนชั่นแนล แต่ยกเลิกไป ภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย ทรงสร้างบทภาพยนตร์จากบทพระราชนิพนธ์ร้อยกรองใน[[รัชกาลที่ 5]] และทรงกำกับการแสดงร่วมกับ[[เปี๊ยก โปสเตอร์]] เรื่อง[[เงาะป่า]] โดย อัศวินภาพยนตร์ - ไฟวสตาร์ โปรดักชั่น พ.ศ. 2523
 
เสด็จพระองค์ชายใหญ่ทรงได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2540 บุคคลยอดเยี่ยมแห่งวงการภาพยนตร์ไทย (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และ [[สักกะ จารุจินดา]])