ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
'''สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก''' หรือที่นิยมเรียกอย่างทั่วไปว่า '''สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ''' ({{lang-en|Amphibian}}) เป็น[[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]]ที่อยู่ใน[[ชั้น (ชีววิทยา)|ชั้น]] Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดหรือขน หายใจด้วย[[เหงือก]], [[ปอด]], [[ผิวหนัง]] หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยน[[ออกซิเจน]]ได้เนื่องจากมีโครงข่าย[[เส้นเลือดฝอย|หลอดเลือดฝอย]]จำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ<ref>วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, ''วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก'' หน้า 2 ([[พ.ศ. 2552]]) ISBN 978-616-556-016-0</ref> สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็น[[ไข่]]อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม
 
ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้าย[[ปลา]]เรียกว่า "[[ลูกอ๊อด]]" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ
 
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วง[[ฤดูแล้ง]]ในช่วงระหว่าง[[ฤดูหนาว]]ถึง[[ฤดูร้อน]] ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่[[กระแสโลหิต]] ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่