ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาร์เอ็มเอส ไททานิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Simon1060 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Simon1060 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 327:
ตามกำหนดการเดิม เช้าวันอาทิตย์ที่ 14 นี้จะต้องมีการซ้อมการใช้เรือชูชีพโดยมีผู้โดยสารร่วมฝึกซ้อมด้วย แต่การฝึกซ้อมได้ถูกยกเลิกไป
 
แม้ในสมัยนั้นจะมีระบบ[[โทรศัพท์]]เกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่การติดต่อด้วยเสียงพูดระหว่างเรือหรือระหว่างเรือกับแผ่นดินยังไม่สามารถทำได้ ระบบที่มีอยู่ในตอนนั้นคือวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]ซึ่งเป็นการส่ง[[รหัสมอร์ส]] (Morse code) ด้วยคลื่นวิทยุ ในเรือแต่ละลำจะมีห้องวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]ซึ่งมีเจ้าหน้าที่คอยรับส่งข้อความโดยเฉพาะเพราะต้องเป็นผู้ที่รู้จักรหัสมอร์ส<ref name="Wireless">{{cite web |title=Wireless and the Titanic |url=http://jproc.ca/radiostor/titanic.html}}</ref>
 
ห้องส่งวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]บนเรือเดินสมุทรในยุคนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการแก่ผู้โดยสาร เป็นหลัก เพราะการเดินทางโดยทางเรือนั้นต้องใช้เวลานาน จากหลายวันถึงเป็นเดือน ดังนั้นการติดต่อกับผู้ที่อยู่บนบกจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้โดยสาร ส่วนการใช้เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือนั้นเป็นวัตถุประสงค์รอง<ref>LaRoe, L. M. n.d. ''Titanic''. National Geographic Society Society.</ref>
 
ในเรือไททานิกนี้ก็เช่นกัน ห้องวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]มีไว้เพื่อบริการผู้โดยสารเป็นหลัก เจ้าหน้าที่[[วิทยุโทรเลข]]นี้ไม่ใช่พนักงานประจำเรือ แต่เป็นพนักงานของบริษัทมาร์โคนีซึ่งเป็นต้นตำรับในการสื่อสารด้วยวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]] แม้แต่ใบ[[โทรเลข]]ในยุคนั้นที่จริงก็ไม่ได้เรียกว่า [[โทรเลข]] (telegram) แต่เรียกว่า มาร์โคนีแกรม (marconigram) อัตราค่าส่งวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]บนเรือไททานิกคิดเป็นเงิน 3.12 ดอลลาร์หรือเทียบเท่ากับ 36 ดอลลาร์ในสมัยนี้ซึ่งนับว่าสูงอยู่ในระดับหลักพันบาทไทย<ref name="Wireless"/>
 
เนื่องจากไททานิกเป็นเรือขนาดใหญ่ จุผู้โดยสารได้มาก ดังนั้นปริมาณการใช้บริการส่งวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]ก็ต้องมากเป็นธรรมดา พนักงานรับส่งวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]จึงต้องทำงานค่อนข้างหนักมาก เมื่อว่างเว้นจากงานบริการผู้โดยสารแล้วจึงค่อยมาสะสางเรื่องการติดต่อเพื่อการเดินเรือ อีกทั้งในสมัยนั้นยังไม่มีขั้นตอนการนำส่งข้อความแก่กัปตันเรืออย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันแต่อย่างใดว่าข่าวสารจะถึงมือกัปตันหรือไม่ หรือถึงช้าเร็วเพียงใด<ref name="Wireless"/>
 
เช้าวันที่ 14 เมษายน กัปตันสมิทสั่งเดินเครื่องเรือไททานิกเต็มที่ สำหรับสาเหตุของการเร่งเครื่องครั้งนี้มีผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่าเป็นไปตามความต้องการของอิสเมย์ ผู้จัดการไวต์สตาร์ ที่ต้องการทำเวลาเพื่อให้ไปถึงนิวยอร์กก่อนกำหนดและเพื่อเป็นการลบสถิติที่เรือโอลิมปิกซึ่งเป็นเรือพี่ในชุด 3 ใบเถานี้เคยทำไว้ ไททานิกจึงแล่นด้วยความเร็วถึง 22.5 นอต (1 นอตคือ 1 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง, 1 ไมล์ทะเลหรือ nautical mile นี้เท่ากับ 1.852 กิโลเมตร) ซึ่งเกือบถึงความเร็วสูงสุดของเรือ (23 นอต) <ref name="Atlantic"/>
 
และในวันเดียวกันนี้เอง ไททานิกได้รับวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]เตือนเรื่องภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือถึง 7 ครั้ง (เอกสารบางแหล่งระบุว่า 6 ครั้ง) จากเรือเดินสมุทรในสาย[[แอตแลนติกเหนือ]] อาทิ จากเรือ อาร์เอ็มเอส แคโรเนีย (RMS Caronia), อาร์เอ็มเอส บอลติก (ค.ศ. 1903) (RMS Baltic), เอสเอส อเมริกา (SS Amerika) <ref>"Titanic & Her Sisters Olympic & Britannic" by McCluskie/Sharpe/Marriott, p. 490, ISBN 1-57145-175-7</ref>, เอสเอส แคลิฟอร์เนียน (SS Californian) และ เอสเอส เมซาบา (SS Mesaba) ฯลฯ และที่ร้ายก็คือ เมื่อเวลา 21.45 น. ไททานิกได้รับวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]เตือนว่ามีภูเขาน้ำแข็งและน้ำแข็งกระจัดกระจายอยู่ในเส้นทางข้างหน้า แต่พนักงานวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]ไม่ได้ส่งข้อความนั้นให้แก่กัปตันหรือเจ้าหน้าที่เรือคนใดเลย ทั้งนี้ เพราะมัวยุ่งอยู่กับการส่งวิทยุ[[วิทยุโทรเลข]]ให้แก่ผู้โดยสารในเรือนั่นเอง
 
== การอับปางของเรือ<ref name=timeline/> ==