ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เคทู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: kn:ಕೆ೨
Antelope (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
บรรทัด 23:
 
== ประวัติการปีน ==
ภูเขาเคทูถูกสำรวจครั้งแรกโดยคณะนักสำรวจชาวยุโรปในปี [[พ.ศ. 2399]] ที่มี[[เฮนรี เฮฟเวอร์แชม กอดวิน-ออสเตน]]เป็นผู้นำ โดย[[ทอมัส มอนต์กอเมอรี]] หนึ่งในคณะสำรวจเป็นผู้ตั้งชื่อเคทู เนื่องจากเป็นยอดที่สองของ[[เทือกเขาการาโกรัม]] ยอดเขาอื่น ๆ ก็ถูกตั้งชื่อตามวิธีนี้เช่นกัน ได้แก่ เควัน เคทรี เคโฟร์ และเคไฟว์ แต่ภายหลังได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น[[แมเชอร์บรูม]], [[บรอดพีก]], [[แกเชอร์บรูม 2]] และ[[แกเชอร์บรูม 1]] ตามลำดับ คงเหลือแต่เคทูเท่านั้นที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนชื่อ
 
ความพยายามในการพิชิตยอดเขาเคทูเริ่มในปี [[พ.ศ. 2445]] โดย[[ออสการ์ เอกเคนสไตน์]] และ[[อะเลสเตอร์ โครลีย์]] แต่ภายหลังจากที่ได้พยายามถึง 5 รอบและใช้เงินไปเป็นจำนวนมาก คณะสำรวจก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการพิชิตยอดเขาแต่อย่างใด สาเหตุของความล้มเหลวน่ามาจากการเตรียมพร้อมร่างกายที่ยังไม่ดีพอ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล และสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย โดยคณะสำรวจใช้เวลามากถึง 68 วันบนยอดเขาเคทู (ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดในการอยู่บนที่ที่มีระดับความสูงมาก) แต่มีแค่ 8 วันเท่านั้นที่สภาพอากาศแจ่มใส
 
ความพยายามต่าง ๆ ที่ตามมาภายหลังทั้งในปี [[พ.ศ. 2452]], [[พ.ศ. 2477]], [[พ.ศ. 2481]], [[พ.ศ. 2482]] และ [[พ.ศ. 2496]] ต่างก็ประสบกับความล้มเหลวทั้งหมด โดยคณะสำรวจในปี พ.ศ. 2452 ที่นำโดยเจ้าชาย[[ลุยจี อาอะมาเดโอ ดุ๊กดยุกแห่งอาบรุซซีซ]]ซี สามารถไปถึงระดับความสูงที่ 6,666 เมตร ซึ่งปัจจุบันนี้ สถานที่นี้เป็นที่รู้จักกันในนามว่าอาบรุซซีสเปอร์ (Abruzzi Spur) หรือสันเขาอาบรุซซี (Abruzzi Ridge) โดยปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางมาตรฐานทางหนึ่ง
 
ในที่สุดในวันที่ [[31 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2497]] ยอดเขาเคทูก็ถูกพิชิตลงได้โดยคณะนักสำรวจชาวอิตาลีที่นำโดย[[อาร์ดีโต เดซีโอ]] อย่างไรก็ตามสมาชิกของกลุ่มเพียงแค่ 2 คนเท่านั้นที่สามารถไปถึงยอดเขาได้ที่สุด คือ [[ลีโน ลาเชเดลลี]] และ[[อาร์กิลเล กอมปัญญอนี]]สมาชิกในคณะคนอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้แก่ ผู้พัน[[โมฮัมมัด อะตา-อุลละห์]] ชาว[[ปากีสถาน]] โดยผู้พันเคยเข้าร่วมกับคณะสำรวจ[[ชาวอเมริกัน]]ในปีก่อนหน้า ที่ต้องล้มเหลวเนื่องจาก[[อาร์ต จิลคีย์]] สมาชิกคนสำคัญของคณะสำรวจเสียชีวิตจากพายุ
 
ยอดเขาเคทูไม่ถูกพิชิตอีกเลยอีกกว่า 23 ปี จนกระทั่งในวันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2520]] คณะสำรวจชาว[[ญี่ปุ่น]]ที่นำโดย[[อิจิโระ โยะชิซะวะ]] ก็สามารถพิชิตยอดเขาได้อีกครั้งหนึ่ง โดยสมาชิกในทีมยังรวมไปถึง[[อัชรัฟ อามาน]] นักปีนเขาคนแรกของปากีสถาน โดยคณะนี้ได้ใช้เส้นทางอาบรุซซีสเปอร์ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้โดยคณะสำรวจชาว[[อิตาลี]]ที่พิชิตยอดเขามาก่อนหน้านี้
 
ในปี [[พ.ศ. 2521]] คณะสำรวจชาวอเมริกันก็สามารถพิชิตยอกเขาได้เป็นครั้งที่สาม โดยใช้เส้นทางที่ยาวกว่าและขรุขระกว่าเส้นทางเดิม ที่เรียกว่าอีสต์ริดจ์ โดยคณะสำรวจชาวอเมริกันคณะนี้นำโดยนักปีนเขาผู้มีชื่อเสียงนามว่า [[เจมส์ วิตเทกเกอร์]] โดยคณะที่สามารถขึ้นถึงยอด ได้แก่ [[หลุยส์ ไรชาดต์]], [[เจมส์ วิกไวร์]], [[จอห์น รอสเกลลีย์]] และ[[ริก ริดจ์เวย์]] โดยวิกไวร์ต้องเผชิญกับการค้างแรมกลางแจ้งที่ความสูงต่ำกว่ายอดเพียง 150 เมตร โดยการค้างแรมครั้งนี้เป็นการค้างแรมกลางแจ้งที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยการพิชิตยอดเขาครั้งนี้มีความหมายทางจิตใจต่อคณะสำรวจชาวอเมริกันชุดนี้มาก โดยเห็นว่าเป็นการสานต่อภารกิจให้สำเร็จต่อจากคณะสำรวจอเมริกาก่อนหน้าที่เริ่มไว้ตั้งแต่เมื่อ 40 ก่อนในปี [[พ.ศ. 2481]] ให้สำเร็จลุล่วงในที่สุด
 
การพิชิตยอดเขาเคทูที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง คือ การพิชิตยอดเขาโดยคณะสำรวจชาวญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2525]] ซึ่งใช้เส้นทางนอร์ทริดจ์ที่มีความยากมาก โดยคณะสำรวจนี้ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมการปีนเขาแห่งญี่ปุ่น โดยคณะสำรวจแบ่งออกเป็น 2 ชุด โดยชุดแรกซึ่งนำโดย[[อิซะโอะ ชิงไก]] และ[[มะซะสึโงะ โคะนิชิ]] สามารถพาสมาชิกอีก 3 คน คือ [[นะโอะเอะ ซะกะชิตะ]], [[ฮิโระชิ โยะชิโนะ]] และ[[ยุกิฮิโระ ยะนะงิซะวะ]] พิชิตยอดเขาในวันที่ [[14 สิงหาคม]] แต่เป็นที่น่าเศร้าว่าในระหว่างการปีนลงจากยอดเขา ยะนะงิซะวะพลัดตกจากเขาและเสียชีวิต ส่วนทีมชุดที่สองซึ่งประกอบไปด้วย 4 คนก็สามารถพิชิตยอดเขาได้ในวันต่อมา
 
แม้ว่ายอดว่า[[ยอดเขาเอเวอเรสต์]]จะมีความสูงมากกว่ายอดเขาเคทู แต่เคทูถูกพิจารณาว่าปีนยากกว่า สาเหตุเป็นเพราะสภาพอากาศที่แปรปรวนง่าย และระยะทางระหว่างตีนเขาถึงยอดเขาที่ยาวกว่า โดยนักปีนเขาหลายคนถือว่าเคทูเป็นยอดเขาที่ปีนยากที่สุดและอันตรายที่สุดในโลก โดยเคทูมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่พยายามพิชิตยอดเขากว่าร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับเอเวอเรสต์ที่มีอัตราการเสียชีวิตที่ร้อยละ 9 (อย่างไรก็ตามยอดเขาที่มีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุด คือ [[ยอดเขาอันนะปุรณะ]] (ความสูง 8,091 เมตร) ในเทือกเขาหิมาลัย ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 40) ทำให้เคทูมีชื่อเล่นว่า "ยอดเขาดุร้าย" (Savage Mountain) โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2547]] มีคนที่สามารถพิชิตยอดเขาได้เพียง 246 คน เทียบกับ 2,238 คนที่สามารถพิชิตเอเวอเรสต์ได้ (เหตุผลหนึ่งก็อาจะเป็นเพราะมีคนนิยมไปปีนยอดเขาเอเวอเรสต์มากกว่าเช่นกัน) โดยจำนวนผู้เสียชีวิตที่เคทูมีสูงถึง 56 คน โดยใน [[พ.ศ. 2529]] มีผู้คนเสียชีวิตสูงถึง 13 คนจากการปีนครั้งเดียว ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่าโศกนาฏกรรมเคทู
 
ตำนานอีกอย่างหนึ่งของเคทูคือ การเป็นยอดเขาต้องสาปสำหรับสตรี โดย[[วันดา รุตคีเอวิช]] ชาวโปแลนด์ผู้ที่เป็นสตรีคนแรกที่สามารถพิชิตยอดเขาเคทูและผู้หญิงอีก 5 คนที่สามารถพิชิตยอดเขาได้ต่างก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา โดย 3 คนในจำนวนนั้นเสียชีวิตระหว่างการปีนลง และรุตคีเอวิชเสียชีวิตในระหว่างการปีน[[ยอดเขากันเจนชุงคา]] ใน [[พ.ศ. 2535]] อย่างไรก็ตามคำสาปนี้ถูกทำลายได้ใน พ.ศ. 2547 เมื่อ[[เอดูร์เน ปาซาบัน]] ชาวสเปนสามารถพิชิตยอดเขาและสามารถกลับมาได้อย่างปลอดภัย และ[[นีเวส เมโรอี]] ชาวอิตาลี และ[[ยุกะ คะมะสึ]] ชาวญี่ปุ่นต่างก็ประสบความสำเร็จในการพิชิตยอดเขาใน [[พ.ศ. 2549]]
 
โดยตลอดประวัติศาสตร์ การปีนยอดเขาเคทูมักจะเป็นการปีนโดยไม่ใช้[[ออกซิเจน]]ช่วย และใช้อุปกรณ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา การใช้ออกซิเจนได้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เคทู"