ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฝุ่นควันในภาคเหนือของประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
Pi@k (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Myanmar Fire 13 March 2007.jpg|thumb|250px|ไฟป่าเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2550 ทำให้เกิดหมอกควันปกคลุมภาคเหนือของไทยและพม่า]]
 
'''หมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย''' เป็นปัญหา[[มลพิษ]]ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและมีปริมาณสูงสุดในเดือนมีนาคม{{อ้างอิง}}<ref name="matichonreport">http://www.en.mahidol.ac.th/thai/news/2007/03/13_1.html</ref> สาเหตุหลักเกิดจาก[[ไฟป่า]] [[ฝุ่นละออง]]จาก[[ถนน]] การก่อสร้าง และเขม่าจาก[[น้ำมันดีเซล]] ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง ประกอบกับสภาพ[[ภูมิประเทศ]]ซึ่งมี[[ภูเขา]]ล้อมรอบ ทำให้มลพิษต่าง ๆ ถูกกักไว้และแผ่ปกคลุมทั่วเมือง ผลวิจัยพบปริมาณผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในเชียงใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี{{อ้างอิง}}<ref name="matichonreport" />
 
== ผลกระทบต่อสุขภาพ ==
ปัญหาหมอกควันทำให้คนที่อยู่ในที่โล่งนาน ๆ มีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล คอแห้ง ระคายคอ หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย และแน่นหน้าอก ผลวิจัยการหาความสัมพันธ์ของฝุ่นละออง กับอัตราการป่วยและเสียชีวิตของประชาชนในเชียงใหม่และลำพูน โดยคณะวิจัย[[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] ซึ่งมี ผศ.ดร.มงคล รายะนาคร เป็นหัวหน้าโครงการ พบค่าเฉลี่ยรายวันของฝุ่นละอองขนาด 2.5 [[ไมครอน]] ในเชียงใหม่สูงกว่ามาตรฐานของ[[สหรัฐอเมริกา]] 3-6 เท่า ผู้ป่วยโรค[[ระบบทางเดินหายใจ]]ในเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นทุกปี และอัตราผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดต่อประชากรแสนคนสูงกว่า[[กรุงเทพมหานคร]]และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย โดยพบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.6 ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด อัตราต่อแสนประชากรเพิ่มจาก 9 คน ในปี 2545 เพิ่มเป็น 58.12 คน ในปี 2548 ฝุ่นขนาดเล็กจะทำให้หลอดเลือด[[หัวใจ]]ตีบตัน ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นที่[[โรงพยาบาลสารภี]] เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พบปริมาณฝุ่นละอองสูงที่สุดในเชียงใหม่{{อ้างอิง}}<ref name="matichonreport" />
 
== ปัญหาหมอกควันในปี 2550 ==
ในปี [[พ.ศ. 2550]] แนวโน้มความรุนแรงของปัญหาหมอกควันเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2550 สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่[[โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย]] และศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่สูงเกินมาตรฐาน 120 [ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร{{อ้างอิง}}<ref name="matichonreport" /> ปริมาณฝุ่นและหมอกควันอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ กรมควบคุมมลพิษจึงออกประกาศให้หลีกเลี่ยงการอยู่นอกอาคารเป็นเวลานาน และงดออกกำลังกายในที่โล่ง โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยทางเดินหายใจ และหืดหอบ นอกจากนี้ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ยังส่งผลกระทบต่อ[[การท่องเที่ยว]] โดยพบว่ายอดการจองห้องพักล่วงหน้าของ[[โรงแรม]]ในช่วง[[สงกรานต์]] 2550 อยู่ที่ 50%{{อ้างอิง}}<ref name="matichonreport" />
 
== ปัญหาหมอกควันในปี 2555 ==