ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมณะโพธิรักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Beermtg (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Beermtg (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
นายรักษ์บวชในคณะ ธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ได้รับฉายาว่า "พระโพธิรักขิโต" มี พระราชวรคุณ เป็นอุปัชฌาย์ เมื่อได้บวชในพุทธศาสนาแล้วก็ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สงบสำรวม เป็นที่ศรัทธา เลื่อมใส จนมีผู้มาขอศึกษาปฏิบัติตามทั้งฆราวาส และนักบวชจากคณะธรรมยุตและมหานิกาย ต่อมาพระราชวรคุณ ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ ไม่ต้องการให้พระฝ่ายมหานิกาย มาศึกษาอยู่ร่วมด้วย พระโพธิรักษ์ จึงเข้ารับการสวดญัตติฯ เป็นพระของคณะมหานิกาย อีกคณะหนึ่ง โดยมิได้สึกจาก คณะธรรมยุต ที่วัดหนองกระทุ่ม จ.นครปฐม โดยมีพระครูสถิตวุฒิคุณ เป็นอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2516
 
การทำงานพระศาสนาของพระโพธิรักษ์ได้รับอุปสรรคตลอดมา พระโพธิรักษ์และคณะ จึงประกาศลาออกจาก มหาเถร สมาคม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘2518 ซึ่งการกระทำเช่นนี้เรียกว่า "นานาสังวาส" และ มีสิทธิที่จะ ได้รับ ความคุ้มครอง ตามมาตรา ๒๕25 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อย่างไรก็ตามพระโพธิรักษ์และคณะ ก็ได้รับการพิพากษาว่าเป็น "ผู้แพ้"ไม่สามารถเรียกขานตนเอง ว่า "พระ" ได้ พระโพธิรักษ์จึงเรียกตนเองว่า "สมณะ" แทน และยังคงปฏิบัติเคร่งครัดเหมือนเดิม
 
เนื่องจากพระโพธิรักษ์มุ่งสารธรรมเป็นใหญ่ ไม่ติดใจเรื่องนิกาย จึงมีพระทั้งมหานิกาย และ พระธรรมยุต ที่มีปฏิปทาเป็น“สมานสังวาส”กัน มาร่วมศึกษาปฏิบัติอยู่ด้วย โดยยึดถือธรรมวินัย เป็นใหญ่ ซึ่งทำให้ พระอุปัชฌาย์ ทางฝ่ายธรรมยุตไม่พอใจ พระโพธิรักษ์จึงคืนใบสุทธิให้ฝ่ายธรรมยุตไป เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2516 คงถือแต่ใบสุทธิ ฝ่ายมหานิกายเพียงอย่างเดียว คณะสงฆ์จึงเสนอเรื่องต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2525 มหาเถรสมาคมได้ตั้งคณะทำงานขึ้นสามคณะ คือ คณะทำงานด้านธรรมวินัย คณะทำงานด้านกฎหมาย คณะทำงานด้านมวลชน เพื่อสืบหาข้อเท็จจริง คณะทำงานด้านพระธรรมวินัยมีความเห็นว่า พระรักษ์ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ส่วนคณะทำงานด้านกฎหมายมีความเห็นว่า พระรักษ์ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ต่อมา ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้ตั้งคณะการกสงฆ์เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอต่อมหาเถรสมาคม คณะการกสงฆ์ได้ประชุมกันโดยมี [[สมเด็จพระธีรญาณมุนี|สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกมหาเถระ)]] วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร เป็นประธาน คณะการกสงฆ์ได้มีมติสี่ประการ คือ (1) ให้มหาเถรสมาคมใช้อำนาจตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 โดยสั่งให้พระรักษ์สละสมณเพศ (2) บริวารของพระรักษ์ซึ่งเข้าบวชโดยไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ถ้าต้องการจะบวชให้ถูกต้อง ก็ให้มารายงานตัวต่อสังฆาธิการระดับเจ้าคณะจังหวัดผู้เป็นการกสงฆ์ขึ้นไป (3) ให้ประกาศนียกรรมแก่พุทธบริษัทให้ทราบข้อเท็จจริงโดยทั่วกัน และ (4) ให้กรมการศาสนาแจ้งแก่ภิกษุสามเณรทั่วราชอาณาจักรให้ทราบข้อเท็จจริงและมิให้คบหาสมาคมพระรักษ์และบริวาร