ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบิร์ดกะฮาร์ท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cadilaque (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
* [[กุลพงษ์ บุนนาค]] (เบิร์ด) ร้องนำ
* [[สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล]] (ฮาร์ท) ร้องนำ / กีต้าร์
== ประวัติ ==
*คู่ดูโอชายจากยุคแปดศูนย์ที่มีความโดดเด่นมากที่สุดในยุคของพวกเขา ปัจจุบันบทเพลงของทั้ง
คู่ก็ยังได้รับการยอมรับถึงมาตรฐานในการสร้างดนตรีที่เป็น "ดนตรี" จริงๆ คอนเสิร์ตที่จัดการแสดง
ขึ้นในยุคเก้าศูนย์ก้าวล่วงมาถึงยุคสองพัน แม้จะเป็นช่วงที่ไม่มีงานใหม่ออกมาก็ได้รับการต้อนรับ
จากแฟนเพลงอย่างอบอุ่นแสดงถึงฐานผู้ฟังที่มีอยู่อย่างเหนียวกลุ่มหนึ่งที่ติดตามผลงานของทั้งคู่
มาโดยตลอด
 
*เบิร์ด-กุลพงศ์ บุนนาค เกิดวันที่ 27 พ.ย. 2506 ที่โรงพยาบาลจุฬา เป็นน้องคนสุดท้องจากจำนวน
พี่น้อง 5 คน เรียนระดับประถมถึงมัธยมต้นที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ไปเรียนต่อระดับมัธยมปลาย
ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จบปริญญาตรีด้านการตลาด UCLA และปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จาก
California State University
 
*ฮาร์ท-สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล เกิดวันที่ 27 พ.ย. 2507 ที่โรงพยาบาลศิริราช มีน้องชายอีกคน
ชื่อเฮด เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนเซนต์จอห์น เรียนระดับมัธยมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จบระดับ
ปริญญาตรีด้าน เศรษฐศาสตร์ที่ UCLA และปริญญาโทจาก University of Southern California
ในสาขาเศรษฐศาสตร์เช่นกัน
 
*เบิร์ดพบกับฮาร์ทครั้งแรกในปี 2526 ที่ UCLA ทั้งคู่ชอบฟังและเล่นดนตรี เบิร์ดแต่งเพลงมาก่อน
ฮาร์ทและเป็นแรงบันดาลใจให้ฮาร์ทเริ่มเขียนเพลงบ้าง ปี 2527 ไนท์สปอตส่ง "มาลีวัลย์และชรัส"
มาบันทึกเสียงที่ Melrose ข่าวนี้เข้าหูทั้งสองหนุ่ม ทั้งคู่รู้สึกตื่นเต้นที่มีนักร้องจากประเทศบ้านเกิด
บินมาบันทึกเสียงถึงที่นี่ ตรงนี้น่าจะเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งว่าตลาดผู้ฟังเพลงไทยน่าจะมีการพัฒนามาก
ไปกว่าตอนที่พวกเขาจากบ้านเกิดมาศึกษาต่อที่นี่มากทีเดียว ทั้งสองคนจึงมีความคิดที่จะทำเดโม
เพลงที่แต่งเก็บเอาไว้สักสองสามเพลงและลองนำไปเสนอไนท์สปอตดูบ้างเมื่อถึงช่วงปิดเทอมและ
ได้บินกลับไปเยี่ยมบ้าน
 
*ปี 2528 "ลืม" "อาลัยเธอ" และ "Susan Joan" เป็นสามเพลงที่นำไปเสนอไนท์สปอต ทั้งสามเพลง
ถูกนำไปเปิดออกอากาศในรายการโลกสวยด้วยเพลง จัดโดย วินิจ เลิศรัตนชัย ด้วยซาวนด์ที่แตก
ต่างทั้งด้านดนตรีและการร้องทำให้แฟนเพลงเริ่มถามถึงว่าใครเป็นเจ้าของผลงานเพลง และเมื่อทั้ง
สองหนุ่มได้มีโอกาสมาเป็นแขกรับเชิญพูดคุยในรายการของวินิจ และได้ไปเป็นเกสท์ในคอนเสิร์ตที่
ธรรมศาสตร์ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ กระแสตอบรับที่กลับมายิ่งเพิ่มสูงขึ้นไปอีก เพราะนอกจาก
ตัวงานแล้วภาพพจน์ของนักเรียนนอกจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอย่าง UCLA ก็เป็นตัวเสริมให้ทั้งคู่
โดดเด่นราศีจับขึ้นมาทันที สิงหาคม 2528 ไนท์สปอตจับทั้งคู่เซ็นสัญญาเป็นเวลา 3 ปีทันที
เบิร์ดกับฮาร์ทบินกลับไปเรียนต่อพร้อมกับบันทึกเสียงอัลบั้มชุดแรกในช่วงระหว่างเดือน ก.ย.-ต.ค.
ใช้เวลาบันทึกเสียง 10 วัน อัลบั้มชุด "ห่างไกล" ก็เสร็จสมบูรณ์และออกขายในช่วงปลายปี เป็นงาน
ที่ได้รับคำชื่นชมในหลายๆมิติ ถึงแม้จะใช้เวลาบันทึกเสียงในช่วงสั้นๆ แต่วัตถุดิบที่นำเสนอในงาน
ชุดนี้ถูกบ่มเพาะจากทั้งคู่มานาน นักดนตรีในเซสชั่นการบันทึกเสียงเล่นออกมาได้เยี่ยม ส่วนตัวของ
ผู้เขียนยกให้เป็นงานเพลงป๊อปที่ขึ้นหิ้งระดับคลาสสิคไม่เพียงแต่ในยุคนั้นเท่านั้นแต่งานชุดนี้ยังมี
ซาวนด์ที่ "สด" และมีแนวทางเป็นของตัวเองมากๆ แม้จะนำมาฟังในตอนนี้ก็ตาม
 
*"ด้วยใจรักจริง" เว้นช่วงห่างจากงานชุดแรกไม่นาน ไนท์สปอตเข้ามาร่วมดูแลการผลิตใกล้ชิดมาก
ยิ่งขึ้น การเรียบเรียงดนตรีชุดนี้ค่อนข้างพิถีพิถันและฟังยากขึ้นผลตอบรับเลยเป็นรองชุดแรก รวม
ถึงจังหวะในการวางตลาดที่ออกไล่ตามชุดแรกมาติดๆเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เพลงที่ติดหูเร็วที่
สุดจากชุดนี้คือ "Goodbye Song" และ "เอื้อมดาว" เมื่อหมดสัญญารวมถึงทางไนท์สปอตได้ปิด
ตัวลง เบิร์ดแยกตัวมาทำโปรเจ็คท์ System 4 กับเพื่อนๆในกลุ่มซึ่งก็เป็นเพื่อนของฮาร์ทด้วย ปลาย
ปี 2533 ต่อต้นปี 2534 เบิร์ดกะฮาร์ทเริ่มบันทึกเสียงงานชุดที่สาม "จากกันมานาน" บันทึกเสียงที่
สหรัฐอเมริกาเช่นเคย ชุดนี้ได้ออกกับค่ายคีตาเร็คคอร์ดส์ ได้รับการตอบรับที่ดีประมาณหนึ่งเมื่อ
เทียบกับการที่ทั้งคู่หายหน้าหายตาไปร่วม 5 ปี "รอรัก" และ "ฝน" กลายเป็นเพลงป๊อปชั้นดีประดับ
วงการเพลง เพลงที่เหลือเป็นเพลงที่มีล้วนมีลายเซ็นของฮาร์ทในการสร้างงานที่ได้รับอิทธิพลมา
จากดนตรีที่เขาฟัง
 
*ปี 2538 เบิร์ดกับฮาร์ทร่วมกันตั้ง "ร่องเสียงลำไย" ผลิตงานของตัวเองรวมถึงเฟ้นหานักร้องเพื่อ
ผลิตงานเข้าสังกัดด้วย พวกเขาออกอีพีชุด "Moonlighting" และ "Simply Impossible" (คัฟเวอร์
งานของ ดิอิมพอสสิเบิ้ล) ปลายปีกรีนเวฟจัด Green Concert ครั้งที่ 1 เบิร์ดกะฮาร์ทได้รับเลือก
เป็นอาร์ติสท์เบอร์แรกที่โชว์ในงานนี้ บัตรขายหมดรวดเร็วจนต้องเพิ่มรอบ เป็นคอนเสิร์ตที่สมบูรณ์
แบบมากที่สุดครั้งแรกของทั้งคู่ เพลง "This Song for You" และ "แก้วตา" เป็นเพลงแต่งใหม่และ
ทำเป็นซีดีมอบเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้ซื้อตั๋วเข้าชมคอนเสิร์ต ฮาร์ทเสนอความเป็นเอนเทอเทนเนอร์
ของเขาออกมาอย่างชัดเจนในคอนเสิร์ตครั้งนี้และในเวลาต่อมาได้กลายเป็นความคาดหวังของแฟน
เพลงไปโดยปริยายว่าถ้ามาชม เบิร์ดกะฮาร์ท ต้อง "ขำ" ด้วย Frozen in Time ชุด 1-2 เป็นบันทึก
การแสดงสดออกวางจำหน่ายรับกับความสำเร็จจากกรีนคอนเสิร์ต
 
*ปี 2542 เบิร์ดกะฮาร์ทวางอัลบั้มชุด "ที่รัก" และ "นึกถึง ดิอิมพอสสิเบิ้ล" ออกมาพร้อมๆกัน
จากนั้นพวกเขาก็หายเงียบไปจากวงการเพลงพักใหญ่ มีผลงานเพลง "ถอนตัว" ในอัลบั้มชุดพิเศษ
ชุดหนึ่งของแกรมมี่ ต่อมาในปี 2545 เดือนพฤษภาคม คอนเสิร์ต Friendship Forever ของทั้งคู่
ถูกจัดขึ้นและบัตรขายหมดตรงนี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงศักยภาพในตัวของทั้งคู่ได้เป็นอย่างดี
 
*ปี 2549 ค่าย Spicy Disc เป็นผู้ดูแลการ remaster ของงานชุดครบรอบ 20 ปีของเบิร์ดกะฮาร์ท
โดยได้ วู๊ดดี้ พรพิทักษ์สุข ผู้คว้ารางวัลแกรมมี่อวอร์ด ปี 2001 สาขา mastering มา remaster
ให้ใหม่ ผลที่ได้คือคุณภาพของเสียงที่มีไดนามิคในมิติที่ดีขึ้นกว่าเดิมเป็นงานที่น่าสะสมมากๆ
พร้อมกับออกอัลบั้มใหม่ "Destiny" รวมถึง Box Set Destiny ด้วย นอกจากนี้ก็มีคอนเสิร์ต
"Finding Susan Joan" ในวันที่ 20 พ.ค.49 ที่อิมแพ็คเอรีน่าฉลองครบรอบ 20 ปีของการอยู่ใน
วงการเพลงของทั้งคู่
 
 
== ผลงาน ==
เส้น 111 ⟶ 183:
มีผลงานออกมา 2 ชุด
 
* เพลงเอื้อมดาว, รักเสมือนป่า, ที่รัก, และเพลงฝน ผู้แต่งเนื้อ คือ [[จักรกฤษณ์ ศรีวลี]] หรือ "บ๊อบ บุญหด" เจ้าของคอลัมน์ "ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน" ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งเป็นเพื่อนกับฮาร์ท โดยเพลงเอื้อมดาวได้รับแรงบันดาลใจจาก [[มาช่า วัฒนพานิช]]<ref>[http://boonhod.50megs.com/MyOthers.html เว็บไซต์ของคุณจักรกฤษณ์ ศรีวลี]</ref> <ref>ปกด้านในเทป "ด้วยใจรักจริง"</ref> <ref>[http://www.navy34.com/board342550/index.php?topic=1285 หัวข้อ"มาฟังเพลง"เบิร์ด กับ ฮาร์ต กันไหม" ]</ref>
 
== อ้างอิง ==