ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิจิเร็นโชชู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nefer~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
Nefer~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 93:
 
== หลักคำสอนพื้นฐาน ==
หลักคำสอนมีความคล้ายคลึงกับ[[นิกายเทียนไท้]]หรือ[[นิกายเทนได]] ( [[นิกายสัทธรรมปุณฑริก]] ) ของท่าน'''มหาธรรมาจารย์จื้ออี้''' (ค.ศ 538-597)พระภิกษุชาวจีน ที่ยึดสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นพระสูตรหลักเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งคำสอนของพระศากยมุนีเป็น 5 ช่วง ลักษณะคำสอน 4 ประการ หรือคำสอนที่กล่าวถึง'''''เอกภวังคจิตธรรมธาตุ''''' (''อิชิเน็นซันเซ็น''-''หนึ่งขณะจิตสามพันสภาวะ'')ที่ปรากฏในคัมภีร์'''"มหาสมถวิปัสนา"'''(มะคะชิคัน)ของท่าน แต่นิชิเรนโชชูถือว่าเทียนไท้เป็นเพียงคำสอนภาคทฤษฎีที่ใช้ทำความเข้าใจพระสูตร แม้กระนั้นนิชิเรนโชชูก็เคารพท่านจื้ออี้ในฐานะพระพุทธะเช่นกันเนื่องจากท่านได้สนับสนุนส่งเสริมสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นอย่างมาก ทั้งยังนิพนธ์คัมภีร์และปกรณ์ที่อธิบายความหมายคำสอนและความสูงส่งสำคัญของสัทธรรมปุณฑริกสูตรไว้ ได้แก่ '''คำและวลีของสัทธรรมปุณฑริกสูตร(ฮกเขะมนงุ)''' '''ความหมายลึกซึ้งของสัทธรรมปุณฑริกสูตร(ฮกเขะเก็นจิ)''' และ'''มหาสมถวิปัสนา(มะคะชิคัน)''' ทัศนคติที่ต่างกันอีกคือนิชิเรนโชชูจะแบ่งประเภทโดยมองว่าศาสนาพุทธของพระศากยมุนีเป็น'''''ศาสนาพุทธแห่งการสุกงอมและเก็บเกี่ยวผล''''' ในขณะที่ศาสนาพุทธของพระนิชิเรนคือ'''''ศาสนาพุทธแห่งการหว่าน''''' (เมล็ดพุทธะ) เนื่องจากปุถุชนในปัจจุบันไม่มีกรรมสัมพันธ์โดยตรงกับพระศากยมุนีมาก่อน
 
นิชิเรนโชชูแบ่งพระศาสนกาลออกเป็น 3 ช่วงโดยยึดตามพระสูตรมหายานคือ
* '''สมัยสุทธิธรรม(โชโฮ)''' 0ถึง1000ปีหลังพระปรินิพพาน พระธรรมยังบริสุทธ์ พระสาวกบรรลุธรรมได้ฉับพลันเพราะมีพีชกุศลกับพระศากยมุนี
* '''สมัยรูปธรรม(โซโฮ)''' 1001ถึง2000ปีหลังพระปรินิพพาน พระธรรมเน้นที่พิธีกรรม พระสาวกทะยอยดับขันธ์สิ้น
* '''สมัยปัจฉิมธรรม(มัปโป)''' 2001ปีหลังพระปรินิพพานจนถึงอนาคตกาล (ยุคปัจจุบันจัดอยู่ในสมัยนี้) พระธรรมสูญหาย คำสอนกุศโลบายสิ้นประสิทธิภาพ เป็นสมัยแห่งความสกปรก มลทิน เป็นเวลาแห่งสัทธรรมปุณฑริกสูตร
 
อนึ่ง เงื่อนเวลาตามความเชื่อในพระสูตรมหายานจะเก่ากว่าปีพุทธศักราชตามคติไทยประมาณ500ปี
 
นิชิเรนโชชูปฏิเสธการนิพพานหรือการไม่มาเกิดอีก แต่จะเน้นในเรื่องการรู้แจ้งเห็นจริงของชีวิต โดยมองว่าแท้จริงแล้วการนิพพานคือการบรรลุสภาพภูมิชีวิตพุทธะ และพุทธภาวะนั้นนิรันดร เป็นสากล
เส้น 129 ⟶ 131:
สิบโลกภูมินี้ยังสามารถซ้อนซึ่งกันและกันด้วยเป็น10x10=100โลกภูมิ เช่น ภาวะจิตที่มารดาเป็นทุกข์เพราะบุตรป่วยไข้เทียบได้กับนรกภูมิซ้อนโพธิสัตต์ภูมิ เป็นต้น คำสอนนี้คือการปฏิเสธนรกใต้ดินและสวรรค์บนชั้นฟ้าภายนอกตัวเรา
* '''''สมบัติ 3 ชนิด''''' คือ สมบัติในคลัง สมบัติในกาย และสมบัติในใจ
* '''''ธรรมบาลเทวะกลับคืนถิ่นที่อยู่''''' การปฏิเสธคำสอนแท้จริง ยึดถือคำสอนชั่วคราวจึงเป็นเหตุให้ธรรมบาลเทวะผู้มีหน้าที่คุ้มครองสหโลกปราศจากกุศลผลบุญ และกลับคืนถิ่นที่อยู่ คำสอนนี้ใช้อธิบายถึงความเกี่ยวพันกันระหว่างศาสนาพุทธกับความสงบสุขของบ้านเมือง
* '''''เปลี่ยนพิษเป็นยา''''' เปลี่ยนหนทางชั่วเป็นหนทางแห่งการรู้แจ้ง เหมือนนายแพทย์ผู้ชำนาญสามารถใช้ยาพิษในการรักษาโรคร้าย
* '''''กิเลสคือโพธิญาณ''''' กิเลสเป็นปัจจัยในการใฝ่หาพระโพธิญาณ เพราะมีกิเลสจึงมีพระโพธิญาณ เหมือนเป็นสองแต่ไม่ใช่สอง ชีวิตจะขาดกิเลสมิได้หากแต่ต้องควบคุมมันมิใช่ตัดทิ้งไป พระพุทธะก็มีกิเลสแต่กิเลสไม่มีผลต่อพระพุทธะเปรียบเสมือนตะกอนของน้ำที่นอนก้นอยู่