ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] โปรดให้ข้าหลวงไปปลงศพ[[เจ้าพระวิไชยราชขัตติยวงศา]] (เจ้าหน้า - เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ลำดับที่ 3) ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ ในปี [[พ.ศ. 2354]] ข้าหลวงได้เห็นพระแก้วผลึกสีขาว จึงมีใบบอกให้นำความกราบบังคมทูลถวายพระแก้วผลึก โดยตั้งขบวนแห่ตั้งแต่เมือง[[สระบุรี]] และมีการสมโภชตามหัวเมืองรายทางตลอดมาจนถึง[[กรุงเทพฯ]]
 
เมื่อเสร็จงานสมโภชที่[ [[กรุงเทพฯ]] แล้ว โปรดให้ประชุมช่างจัดหาเนื้อแก้วผลึกเหมือนองค์พระ เพื่อเจียระไนแก้วติดปลายพระกรรณขวาที่แตกชำรุดให้สมบูรณ์ และขัดชำระองค์พระให้เป็นเงางามเสมอกัน กับพระราชทานพระราชดำริ ให้ช่างปั้นฐานต่อองค์พระตามที่พอพระราชหฤทัย แล้วหล่อด้วยทองสำริดแต่งให้เกลี้ยงหุ้มด้วยทองคำ ส่วนยอดพระรัศมีรับสั่งให้ช่างแผ่ทองคำหุ้มส่วนพระเศียร ดุนเป็นเม็ดพระศกต้องตามแบบแผนของ[[พระพุทธรูป]] ต่อกับพระรัศมีลงยาราชาวดีประดับเพชร ใจกลางหน้าหลังและกลีบต้นพระรัศมี แต่เมื่อถวายสวมเครื่องทองส่วนยอดพระรัศมีแล้ว สีพระพักตร์ไม่ผ่องใสเหมือนสีองค์พระ จึงแก้ไขด้วยการเอาเนื้อเงินไล่ขาวบริสุทธิ์แผ่หุ้มก่อนชั้นหนึ่ง ขัดเงินให้เกลี้ยงเป็นเงางามแล้วจึงสวมพระศกทองคำบนแผ่นเงิน ทำให้พระพักตร์ใสสะอาดขาวนวลเสมอกับพระองค์ แล้วรับสั่งให้ทำพระสุวรรณกรัณฑ์น้อย สอดในช่องบนพระจุฬาธาตุเป็นที่บรรจุ[[พระบรมธาตุ]] และนำทองคำลงราชาวดีขาวดำผังแนบพระเนตรให้งดงาม ทำฉัตรทองคำ 5 ชั้น ชั้นต้นเท่าส่วนพระอังสาลงยาราชาวดีประดับพลอย มีใบโพธิ์แก้วห้อยเป็นเครื่องประดับ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในหอพระเจ้า ([[หอพระสุราลัยพิมาน]]) ด้านตะวันออกของ[[พระที่นั่งไพศาลทักษิณ]]
 
รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระเบญจาตั้งบุษบกสูง เพื่อประดิษฐาน[[พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร]]แล้ว ในการพระราชพิธีใหญ่ต่างๆ โปรดให้อัญเชิญพระแก้วผลึกสีขาวตั้งเป็นประธานในพิธีแทนพระแก้วมรกต