ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอโนนสูง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: en:Non Sung District
Xpanderz (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20:
 
== ประติความเป็นมา (เรียงตามปี)==
* พ.ศ. 2440 เมื่อได้สถาปนาเมืองนครราชสีมาขึ้นแล้วประมาณ 442 ปี ทางราชการ จึงได้รวบรวมตำบลต่างๆ อันประกอบไปด้วย ตำบลจันอัน ตำบลด่านคล้า ตำบลโนนสูง ตำบลขามเฒ่า ตำบลขามสะแกแสง (ปัจจุบันเป็นอำเภอขามสะแกแสง) ตำบลโนนวัด ตำบลเสลา (ปัจจุบันทั้งสองตำบลเป็นหมู่บ้านขึ้นกับตำบลพลสงคราม) ตำบลโตนด ตำบลทองหลาง ตำบลบิง และตำบลใหม่ ยกฐานะเป็นอำเภอ ใช้ชื่อว่า “อำเภอกลาง” โดยมีพระยากำธรพายัพทิศ (ดิษฐ์ โสฬส) เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อก่อนตำบลต่างๆ เหล่านี้ไปขึ้นกับท้องถิ่นอื่นๆ เช่น แขวงพิมาย แขวงบังบัวใหญ่ แขวงจอหอ (ปัจจุบันเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอเมือง) และแขวงท่าช้าง (ปัจจุบันคืออำเภอเฉลิมพระเกียรติ) ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอกลางอยู่ในเขตตำบลโนนสูงบริเวณวัดร้าง ซึ่งปัจจุบันคาดว่าเป็นชุมชนบ้านเพิ่ม สาเหตุที่ทางราชการตั้งชื่ออำเภอกลางนั้น ก็เพราะว่าเป็นชุมชนที่กึ่งกลางระหว่าง อำเภอเมือง ซึ่งเป็นเขตชั้นในกับแขวงบัวใหญ่ (ก่อตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2442) ที่อยู่รอบนอกมีสภาพเป็นชายแดนของจังหวัด หลังจากตั้งอำเภอขึ้นมาไม่นานทางราชการก็ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ใช้ข้าหลวงประจำจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด) จึงให้ทุกอำเภอตั้งนามสกุลโดยมีชื่ออำเภอหรือชื่อท้องถิ่นเป็นคำอยู่ในนามสกุลโดยมีชื่ออำเภอหรือชื่อท้องถิ่นเป็นคำอยู่ในนามสกุลด้วย เพื่อประโยชน์ที่จะได้สืบหาถิ่นกำเนิดได้ง่าย ชาวอำเภอกลางจึงมีนามสกุลลงท้ายว่า “กลาง” ยิ่งกว่านั้นหลายตำบลยังกำหนดให้มีคำขึ้นต้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละตำบลด้วย เช่น ขอ,จง,มุ่ง,หวัง เป็นต้นโดยให้เอาคำที่เป็นชื่อแทนตำบลไว้คำแรกแล้วเอาคำว่ากลาง ซึ่งเป็นชื่ออำเภอไว้เป็นคำสุดท้าย เช่น ขอฝากกลาง จงสืบกลาง และหวังดีกลาง เป็นต้น ส่วนอำเภออื่นๆ ของจังหวัดนี้ก็ปฏิบัติ เช่นเดียวกัน ดังนั้น จังหวัดนครราชสีมาจึงเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ได้ยินชื่อ และนามสกุลแล้วสามารถบอกได้ว่าเป็นคนท้องถิ่นใดหรืออาจจะชี้ให้ลึกลงไปถึงระดับตำบลได้ด้วย
* ใน พ.ศ. 2459 พระยากำธรพายัพทิศ นายอำเภอกลาง ได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอทับที่วัดร้างอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสถานที่จึงได้เสนอขอเปลี่ยนชื่อจากอำเภอกลางเป็น “อำเภอโนนวัด” แต่มิได้เปลี่ยนนามสกุลของประชาชนที่ได้จัดตั้งไปแล้ว ตามชื่อใหม่ของอำเภอแต่อย่างใด รวมที่ใช้ชื่อ “อำเภอกลาง” 19 ปี
* ระหว่าง พ.ศ. 2460-2461 พระบริรักษ์นครเขต เป็นนายอำเภอ พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายมาจัดสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณที่ตั้งปัจจุบัน (อาคารที่ว่าการอำเภออยู่ตรงบริเวณสวนป่าหน้าอาคารแผนกทะเบียนราษฎร) โดยก่อสร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น หันมุขไปทางทิศเหนือและยังคงใช้ชื่อว่าอำเภอโนนวัดอยู่ตามเดิม
บรรทัด 44:
 
 
* ในอดีตอำเภอโนนสูงเป็นอำเภอที่มีความเจริญสูงสุดอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา เพราะมีทางรถไฟผ่าน ทำให้การคมนาคมสินค้าเกษตรกรรม และหัตถกรรมเป็นไปด้วยความสะดวก คนจีนเข้ามาตั้งร้าน (โรงเจ็ก) ค้าขายสินค้า มีการก่อสร้างโรงสีไฟ (โรงสีข้าว)ขึ้นในเขตเทศบาล 2 โรง ราษฎรนำข้าวเปลือก สินค้าหัตถกรรมและของป่ามาขาย แล้วซื้อส่งของที่จำเป็นในการครองชีพจากตลาดออกไป นอกจากนั้นราษฎรที่มีฐานะดี และเห็นความสำคัญของการศึกษาได้ส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียน “ศรีธานี” อำเภอโนนสูงจึงมีความเจริญดังกล่าวแล้ว ต่อมาได้มีการตัดถนนสายใหม่เรียกชื่อว่าถนนมิตรภาพ การติดต่อกับอำเภอเมืองที่มีความเจริญสูงกว่า ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ถนนหนทางได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง การคมนาคมเปลี่ยนจากเดินเท้า ใช้เกวียนใช้รถจักรยาน (รถถีบ) ไปเป็นรถจักรยานยนต์ รถยนต์ ทั้งรถส่วนตัวและรถโดยสารประจำทาง ประกอบด้วยตำบลขามสะแกแสง ได้ยกฐานะเป็นอำเภอมีตลาดมีโรงเรียนประจำอำเภอ มีบริการทางการแพทย์ของตนเอง ปัจจุบัน อำเภอโนนสูงได้รับการคัดเลือกจากกรมการปกครองให้เป็นนายอำเภอมิติใหม่ โดยสนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการประชาชนของอำเภอ จนมีมาตรฐานการบริการได้รับการยกย่องให้เป็นอำเภอตัวอย่าง
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==