ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายชื่อสงครามในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 28:
 
[[ไฟล์:Queen Suriyothai elephant combat.jpg|thumb|right|360px|[[สมเด็จพระสุริโยทัย]] (กลาง) ไสช้างเข้าขวางช้าง[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] (ขวา) ซึ่งกำลังเสียทีช้างพระเจ้าแปร (ซ้าย) ใน[[สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]] (จิตรกรรมประกอบโคลงพระราชพงศาวดาร ฝีพระหัตถ์[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์]])]]
* '''[[สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]]''' <ref name="ดนัย216">ดนัย ไชยโยธา. (2543). '''พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑'''. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 216.</ref> ในปี [[พ.ศ. 2091]] หลังจาก[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]]ขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดเดือน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งนี้เป็นที่กระฉ่อนไปทั่ว จนทราบไปยังพระกรรณ[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้|พระเจ้าหงสาวดีพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] กษัตริย์[[พม่า]]ทรงพระราชดำริว่า ทางกรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อำนาจมายัง[[กรุงศรีอยุธยา]] จึงได้ยกกองทัพใหญ่มาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ [[กาญจนบุรี|เมืองกาญจนบุรี]] (บางพงศาวดารบอกว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้เสด็จมาทอดพระเนตรกำแพงเมืองอยุธยาก่อนหน้านี้มาครั้งหนึ่งแล้ว เพื่อประเมินกำลังศึก) โดยตั้งค่ายหลวงที่ตำบลกุ่มดอง ทัพ[[พระเจ้าบุเรงนอง|พระมหาอุปราชาบุเรงนอง]]ตั้งที่เพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งวรเชษฐ์ ใน[[วันอาทิตย์]] ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 [[พ.ศ. 2092]] สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จออกไปดูลาดเลากำลังศึก ณ [[ทุ่งภูเขาทอง]] พร้อมกับ[[สมเด็จพระศรีสุริโยทัย]] [[พระราเมศวร]] และ[[สมเด็จพระมหินทราธิราช|พระมหินทร์]] <ref name="Wood 113">Wood p. 113</ref><ref name="Damrong 18">Damrong Rajanubhab p. 18</ref> สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้กระทำ[[ยุทธหัตถี]]กับ'''พระเจ้าแปร''' <ref>[http://www.thaiwaysmagazine.com/thai_article/2417_elephant/elephant.html Thaiwaysmagazine.com - Elephant Duel: The Honorary Combat on Elephant Back] Retrieved 2010-02-06</ref> ช้างพระที่นั่งเสียที สมเด็จพระสุริโยทัยจึงทรงไสช้างเข้าขวางช้างข้าศึก เพื่อป้องกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ <ref name="Wood 113"/><ref name="Damrong 19">Damrong Rajanubhab p. 19</ref> พระเจ้าแปรได้ทีจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยด้วยของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง <ref name="สารานุกรมไทย"/> พระราเมศวรและพระมหินทร์ ได้ขับช้างเข้ากันพระศพกลับเข้าพระนคร <ref name="Wood 113"/><ref name="Damrong 19"/> ในการต่อสู้กับข้าศึกในขั้นต่อไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้นำ'''ปืนใหญ่นารายณ์สังหาร''' ลงเรือสำเภาแล่นไปตามลำน้ำโจมตีข้าศึกที่ตั้งล้อม[[กรุงศรีอยุธยา]]อยู่ อำนาจการยิงของปืนใหญ่ทำให้ฝ่าย[[พม่า]]ล้มตายเป็นอันมาก ประกอบกับเป็นเวลาใกล้ฤดูฝน และเสบียงอาหารร่อยหรอลง อีกทั้งทางฝ่ายพม่าได้ข่าวว่า มีกองทัพไทยจากหัวเมืองเหนือยกมาสนับสนุน เกรงว่าจะถูกตีกระหนาบ จึงปรึกษากับแม่ทัพนายกองจะยกทัพกลับ แม่ทัพทั้งหลายเห็นควรจะยกทัพกลับทางด่านเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) แต่พระเจ้าตเบ็งชเวตี้เห็นว่าทางที่ยกมานั้น ทรงทำลายเสบียงอาหารเสียหมดแล้ว ถ้ายกไปทางนี้จะประสบปัญหาขาดแคลน และจะถูกทหารไทยยกมาซ้ำเติมลำบากอยู่ จึงทรงให้ยกทัพขึ้นไปทางด่านแม่ละเมา (ตาก) เพื่อตีทัพของพระมหาธรรมราชาด้วยไพร่พลนั้นน้อยนัก และจะได้แย่งเสบียงมา เมื่อปะทะกับกองทัพของ[[พระมหาธรรมราชา]]และ[[พระราเมศวร]] ไล่ติดตามไปจนเกือบถึง[[กำแพงเพชร|เมืองกำแพงเพชร]] ฝ่ายพม่าได้ทำอุบายซุ่มกำลังไว้ทั้งสองข้างทาง พอกองทัพกรุงศรีอยุธยาถลำเข้าไป จึงได้เข้าล้อมไว้ จับได้ทั้งพระมหาธรรมราชา และพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องทรงขอหย่าศึก และไถ่ตัวคืนโดยแลกกับช้างชนะงาสองเชือกคือ '''พลายศรีมงคล'''กับ'''พลายมงคลทวีป''' จากนั้นกองทัพม่าก็ถอยกลับไปยัง[[หงสาวดี]] ส่วนการพระศพ[[สมเด็จพระสุริโยทัย]]นั้นเมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีพระราชทานเพลิง ณ [[สวนหลวง]] และให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงเป็นพระอารามเพื่ออุทิศ พระราชกุศลพระราชทาน แด่สมเด็จพระอัครมเหสี ประกอบด้วยพระเจดีย์ พระวิหาร แล้วพระราชทานนามพระอารามอันเป็นพระราชานุสรณ์แห่งสมเด็จพระสุริโยทัยแห่งนี้ว่า '''วัดสบสวรรค์''' ในปัจจุบันชื่อ '''[[วัดสวนหลวงสบสวรรค์]]'''
 
* '''สงครามเขมร (สมัยพระเฑียรราชา)''' [[พ.ศ. 2099]] ในเดือน 12 [[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]]ทรงให้แต่งทัพไปตีเมืองละแวก '''พระยาองค์ (โอง) สวรรคโลก''' (เชื่อว่าเป็นคนเดียวกับพระยาสวรรคโลกที่กำจัด[[ขุนวรวงศาธิราช]]) เป็นทัพหลวง ยกทัพ 30,000 ให้พระมหามนตรีถืออาชญาสิทธิ์ พระมหาเทพถือวัวเกวียน ให้พระยาเยาวเป็นแม่ทัพเรือ แต่ลมพัดไม่เป็นใจทัพเรือจึงตามทัพบกไม่ทัน พระยารามลักษณ์แม่ทัพบกได้เข้าตี[[เขมร]]ในตอนกลางคืน แต่เสียทีถอยหนีมาถึงทัพใหญ่ ในศึกนี้เสียพระยาองค์ (โอง) สวรรคโลกกับไพร่พลอีกจำนวนมาก