ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nini (คุย | ส่วนร่วม)
Nini (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 52:
 
=== ตลาดหุ้นเกือบล่ม ===
ถึงแม้จะมีการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบแล้ว ธนาคารในนิวยอร์กก็ยังคงไม่ยอมปล่อยเงินกู้ระยะสั้นที่ปกติปล่อยให้ใช้ในการซื้อขายหุ้นในแต่ละวัน เมื่อไม่มีเงินหมุนเวียนเหล่านี้ ราคาหุ้นในตลาดก็ดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 24 ตุลาคม เวลา 13:30 น. แรนซัม โทมัส ประธานของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก รีบไปหามอร์แกนเพื่อบอกว่าเขาต้องปิดตลาดเร็วกว่าปกติ มอร์แกนกล่าวย้ำว่าการปิดตลาดเร็วขึ้นคือหายนะ<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|p=99}}</ref><ref>{{Harvnb|Chernow|1990|p=125}}</ref>
 
[[File:Stockexchange.jpg|left|thumb|250px|ภาพของ[[ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก]] (''ภาพในปี 1908'') ซึ่งการซื้อขายเกือบล่มในปลายเดือนตุลาคม เพราะธนาคารไม่ยอมให้ยืมเงิน]]
มอร์แกนเรียกตัวประธานของธนาคารมาที่สำนักงานของเขา พวกเขาเริ่มมาถึงตอน 14:00 น. มอร์แกนบอกพวกเขาว่าห้องค้ากว่า 50 แห่งจะต้องปิด นอกจากจะสามารถรวบรวมเงิน 25 ล้านเหรียญภายใน 10 นาที เวลา 14:16 น. ประธานธนาคาร 14 แห่งสัญญาว่าจะให้ยืม 23.6 ล้านเหรียญเพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์เปิดต่อไปได้ เงินมาถึงธนาคารตอน 14:30 น. ทันเวลาที่จะทำให้การซื้อขายดำเนินต่อไปจนจบวัน เมื่อตลาดปิดเวลา 15:00 น. เงินจำนวน 19 ล้านเหรียญถูกกู้ยืม หายนะที่จะเกิดจากการปิดตลาดก็ผ่านพ้นไป มอร์แกนมักจะหลีกเลี่ยงสื่อมวลชน แต่ในคืนนั้นเมื่อเขาออกจากสำนักงาน เขาพูดกับนักข่าวว่า “ถ้าทุกคนเก็บเงินไว้ในธนาคาร ทุกอย่างก็จะเป็นปกติ"<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|pp=100–01}}</ref>
 
อย่างไรก็ตาม ความตระหนกมีมากขึ้นในวันศุกร์ มอร์แกนขอความช่วยเหลือจากประธานธนาคารอีก แต่คราวนี้เขาสามารถขอเงินมาได้เพียง 9.7 ล้านเหรียญเท่านั้น และเพื่อที่จะทำให้เงินก้อนนี้เพียงพอต่อการทำให้ตลาดเปิดต่อไปได้ มอร์แกนจึงตัดสินใจห้ามไม่ให้ใช้เงินก้อนนี้ในการซื้อขาย margin ปริมาณการซื้อขายในวันศุกร์เหลือเพียง 2 ใน 3 ของวันพฤหัสบดี และตลาดก็รอดจนถึงเสียงระฆังปิดการซื้อขายดังได้อย่างหวุดหวิด<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|pp=102–03}}</ref>
 
== อ้างอิง ==