ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sasakubo (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการอ้างอิงด้วยสจห.
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
 
โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา การจัดการศึกษาของโรงเรียน ยึดแนวปรัชญาการจัดการศึกษาคาทอลิก เปิดสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา ในระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเพิ่งเปิดหลักสูตรในระดับมัธยมตอนปลายขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545
 
== ประวัติโดยสังเขป ==
 
โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ในปี พศ.2496 จึงขออนุมัติแยกเป็นสองโรงเรียน โดยใช้นามใหม่ว่า "โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา" มีบาทหลวงทองดี กฤษเจริญเป็นเจ้าของ นายเฉลิมวงศ์ ปิตรังสี เป็นผู้จัดการ นางนวม วานิชโช เป็นครูใหญ่ การเรียนการสอนดำเนินการมาด้วยดีเป็นลำดับ จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2498 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
 
== ประวัติโดยละเอียด ==
 
ดังได้กล่าวมาข้างต้นว่า แต่เดิมนั้นโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ จึงใคร่ขอกล่าวถึงประวัติของโรงเรียน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ (สาขา) ไว้ที่นี้ด้วย เพื่อเป็นการแสดงงความกตัญญูกตเวทิตา ต่อท่านผู้ก่อตั้งโรงเรียนมาตั้งแต่แรกเริ่ม คือบาทหลวงเลโอ แปรูดอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ คุรพ่อเลโอ แปรูดอง จัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม อัสสัมชัญคอนแวนต์(สาขา)หรือโรงเรียนวัดอัสสัมชัญขึ้น เมื่อปี พศ.2476 (คศ.1933) โดยรับบุตรหลานของสัตบุรุษชายหญิงของวัดอัสสัมชัญมาฝากเรียนในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยทางโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เป็นผู้รับผิดชอบ ครั้งแรกมีจำนวน 65 คน ซึ่งจำนวนนักเรียนฝากเรียนนี้ทวีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งนักเรียนในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มีจำนวนรวมกันถึง 1,757 คน เป็นนักเรียนของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ 848 คน และเป็นนักเรียนของวัดอัสสัมชัญฝากเรียนจำนวน 909 คน ซึ่งนับเป็นจำนวนนักเรียนที่มากพอจะตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นส่วนของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา จึงขอแยกโรงเรียนทั้งสองในปี พศ.2496 และตั้งชื่อโรงเรียนที่แยกออกมานี้ว่า "โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา" จึงนับว่าโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาถือกำเนิดเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ในปี พศ.2496 หลังจากที่เป็นโรงเรียนสาขาฝากเรียนอยู่ในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มาตั้งแต่ปี พศ.2476 (คศ.1933)
 
ความดำริชอบของบาทหลวงเลโอ แปรูดอง ในการจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นนั้น ประการหนึ่งเพราะความกรุณาแก่ปวงกุลบุตรและกุลธิดาของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งจะได้มีที่พักพิงในการช่วยอบรมเสริมสร้างอนาคตให้แก่บุตรหลานของเขาให้เป็นผู้มีศีลธรรมจรรยาดี อีกประการหนึ่ง ก็คงจะเป็นเพราะเกิดความมีจิตเมตตาสงสารและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของตัวท่านในฐานะที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญนี้เอง คงจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่บรรดาสัตบุรุษผู้มีฐานะยากจนเป็นอันมากได้มาขอร้องท่านในเรื่องไม่สามารถจะหาเงินส่งบุตรหลาน ให้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่ดีและเป็นโรงเรียนในสถานศึกษาคาทอลิกด้วยได้ เมื่อเป็นดังนี้ สถานศึกษาแห่งความปราณีแห่งนี้จึงได้เริ่มจัดตั้งขึ้น เมื่อท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญได้ไม่นานนัก และท่านยังรับเป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนนี้สืบมา
 
สภาพของโรงเรียนเริ่มต้นจากโรงเรียนเล็กที่สุด และเจริญเติบโตขึ้นเป็นโรงเรียนใหญ่ที่มีคุณภาพยิ่ง ในกาลแต่เดิม ตัวโรงเรียนประกอบด้วยเรือนไม้ชั้นเดียวเล็กๆ มีห้องเรียน 5 ห้อง มีครูประมาณ 4-5 คน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานของสัตบุรุษคริสตังที่ยากจน บางคนก็มีค่าเล่าเรียนพอชำระอยู่บ้าง ไม่พอชำระบ้าง ผู้ใดยากจนจริงๆก็ได้รับการอุปการะจากคุณพ่อเลโอ แปรูดอง โดยไม่ต้องชำระค่าเล่าเรียนเลย ซึ่งนักเรียนประเภทนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก
 
 
สำหรับหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนทั้งสอง คงดำเนินไปเช่นเดียวกันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง อัสสัมชัญคอนแวนต์เปิดสอนชั้นประถมศึกษา 1-4 และมัธยมศึกษา 1-3 (เทียบเท่าป.7) โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเปิดสอนชั้นประถมศึกษา 1-4 เป็นโรงเรียนสหศึกษา
 
ด้วยความมานะพยายามของคุณพ่อเลโอ แปรูดอง ทำให้ในครั้งนั้นโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเป็นโรงเรียนที่ทันสมัยและมีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงพอสมควรแห่งหนึ่ง จนทำให้มีนักเรียนสมัครเรียนเข้ามามากจนไม่สามารถบรรจุนักเรียนได้ทั้งหมด อนึ่ง ในจำนวนนักเรียนดังกล่าวนี้ มีทั้งเด็กที่เป็นคาทอลิกและเด็กที่นับถือศาสนาอื่นด้วย ซึ่งสาเหตุที่รับนักเรียนโดยไม่แบ่งแยกศาสนาหรือระดับฐานะนี้ ก็เนื่องมาจากความเมตตาของคุณพ่อเลโอ แปรูดองนี้เอง ทั้งๆที่ท่านก็มีภาระหนักทางด้านศาสนกิจมากอยู่แล้ว
 
น้ำใจเมตตาของคุณพ่อเลโอ แปรูดอง นั้นเป็นที่ประจักษ์ชัดในบรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายที่สอนอยู่ในโรงเรียนของท่าน จนเกิดเป็นแรงผลักดันให้บังเกิดความมุมานะ สามัคคี พากเพียรตั้งใจ ทำการอบรมสั่งสอนเด็กนักเรียนให้เจริญด้วยวิทยาการ ศึลธรรมจรรยา และมารยาทอันดีงาม จนกระทั่งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเป็นที่เชื่อถือแก่บรรดาผู้ปกครองทั้งหลายโดยทั่วกัน
 
เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาได้แยกตัวออกมาจากฌโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์นั้น ได้มีการเลือกบุคคลที่เคยดำเนินงานในโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มาแล้วไม่นานกว่า 15 ปี มาดำเนินกิจการของโรงเรียนต่อไป
 
หลังจากท่านบาทหลวงทองดี กฤษเจริญ มรณภาพ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พศ.2508 ฟน้าที่ผู้จัดการโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษานั้นจึงถูกดูแลต่อโดยท่านบาทหลวงวิลเลียม ตัน เป็นผู้ดำเนินการต่อไป ท่านได้ดำเนินการมาด้วยความราบรื่นและเจริญขึ้นเป็นลำดับ และด้วยความสามารถของคุณพ่อวิลเลียม อาคารเรียนไม้เก่า 3 หลังก็ได้กลายสภาพเป็นตึกคอนกรีตโอ่โถง มีห้องเรียนและห้องอุปกรณ์ต่างๆ สมกับที่เป็นโรงเรียนที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนของรัฐ นอกจากท่านจะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด และผู้จัดการโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาแล้ว ท่านยังเอาใจใส่อบรมมารยาทแก่นักเรียนในความดูแลของท่าน และที่สำคัญคือท่านได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านภาษาต่างประเทศแก่ลูกศิษย์ระดับมัธยมของโรงเรียนจนสำเร็จไปแล้วหลายรุ่น
หลังจากนั้นมาโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาก็มีการพัฒนาคุณภาพมาตราฐานของโรงเรียนมาโดยตลอด และมีการปรับเปลี่ยนจากโรงเรียนสหศึกษา มาเป็นโรงเรียนคาทอลิกหญิง นอกจากนี้ยังมีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1-3 ประถมศึกษาตอนต้น 1-3 ประถมศึกษาตอนปลาย 4-6 มัธยมศึกษาตอนต้น 1-3 และ มัธยมศึกษาตอนปลาย 4-6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และสายศิลป์-ฝรั่งเศส ดังปัจจุบัน
 
 
== สถานที่ตั้ง ==
เส้น 78 ⟶ 104:
=== เพลง มาร์ช ขาวแดง ===
 
เป็นเพลงที่ใช้เปิดทุกวันตอนเช้าก่อนเคารพธงชาติ แแแ
 
*ขาวแดงแหล่งพลังองอาจ อัสสัมชัญศึกษาเก่งกาจเกรียงไกร
ขาวบริสุทธิ์ศาสนาอันอำไพ แดงรักร่วมใจ ฤทัยผูกพัน
 
ดวงตราสวยเด่นเป็นสง่า หมายเชิดชูศาสนาถาวรมั่น
 
ดวงอาทิตย์คือแสงสว่างสร้างสรรค์ ช่อพฤกษ์นั่น ผลิดอกเจริญรุ่งเรือง
 
ระเบียบวินัยมารยาทการศึกษา ทั้งจรรยาคุณธรรมนั้นลือเรื่อง
 
ชื่ออัสสัมชัญศึกษาก้องกระเดือง ความปราชญ์เปรื่องวุฒิปัญญาพาสราญ
 
เกื้อกูลชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ ความซื่อสัตย์กตัญญูรู้ประสา
 
สามัคคีรวมดวงใจไว้เลิศนา อัสสัมชัญศึกษาสถานแห่งนี้เจริญชโย (ซ้ำ *)
 
คำร้องโดย จริยา สมประสงค์ ทำนองโดย สุกรี ไกรเลิศ ขับร้องโดย กลุ่มสโมสรนักเพลง