ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิงโตอินเดีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
'''สิงโตอินเดีย''' หรือ '''สิงโตเอเชีย''' หรือ '''สิงโตเปอร์เซีย''' เป็น[[พันธุ์ย่อย]]ของ[[สิงโต]] (''Panthera leo'') ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Panthera leo persica'' มีรูปร่างทั่วไปคล้ายสิงโตที่พบใน[[ทวีปแอฟริกา]] แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยตัวผู้เมื่อโตเต็มมี[[น้ำหนัก]]ประมาณ 160-190 [[กิโลกรัม]] ตัวเมียหนักประมาณ 110-120 กิโลกรัม ความยาวหัวถึงหางของตัวผู้ 2.92 [[เมตร]] ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของสิงโตอินเดีย คือ มีแผงคอทั้งตัวผู้และตัวเมีย และแผงคอของตัวผู้ไม่หนาและใหญ่เหมือนสิงโตในทวีปแอฟริกา มองเห็นใบหูเห็นชัดเจน ดังนั้นตัวผู้และตัวเมียจึงมีรูปลักษณ์ที่คล้ายกันมาก นอกจากนี้แล้วยังมีหนังทอดยาวตลอดใต้ลำตัวซึ่งไม่พบในสิงโตในทวีปแอฟริกา
 
ในอดีต มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาค[[ตะวันออกกลาง]], [[เปอร์เซีย]], [[อิรัก]], [[อิหร่าน]], [[ซีเรีย]], [[อัฟกานิสถาน]], [[ปากีสถาน]]ไปจนถึง[[ภูมิภาคมาซิโดเนีย|มาซิโดเนีย]]ใน[[กรีซ]]ด้วย แต่ปัจจุบันพบเหลือเพียงแห่งเดียวในธรรมชาติ คือ [[ป่า]]อนุรักษ์ทางตอนเหนือของ[[อินเดีย]]เท่านั้น ([[อุทยานแห่งชาติป่ากีร์]]) และก็มีเหลือจำนวนน้อยมาก ประมาณ 290-350 ตัวเท่านั้น
 
พฤติกรรมการรวมฝูงของสิงโตอินเดีย แตกต่างไปจากสิงโตในทวีปแอฟริกา กล่าวคือ มีขนาดฝูงที่เล็กกว่า โดยมีจำนวนอย่างมากที่สุดเพียง 5 ตัวเท่านั้น และอาจมีตัวเมียเพียง 2 ตัว และอาจมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง 2 ตัวก็เป็นได้ โดยเป็นลักษณะร่วมปกครอง ขณะที่ตัวผู้จะเข้าร่วมฝูงก็ต่อเนื่องจะล่าเหยื่อหรือในการ[[สืบพันธุ์|ผสมพันธุ์]]เท่านั้น