ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบฟิวดัล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
Robot: no:Føydalisme is a good article
Dr.denchard (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 6:
== ศักดินาไทย ==
 
ศักดินา คือ กฏหมายที่บังคับใช้ในการบริหารราชการที่มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวฯ พระบรมไตรโลกนาถฯ แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยการสร้างลำดับชั้นตั้งแต่ชนชั้นสูงไปจนถึงทาสด้วยการระบุมูลค่าของคนทุกชนชั้นมีหน่วยเป็น นา เริ่มตั้งแต่ พระอนุชาธิราช และ พระเจ้าลูกเธอฯ (ทรงกรม) มีศักดินา 20,000 ไร่ ไปจนถึง ทาส ลูกทาส ยาจกวณิพก ที่มีศักดินา 5 ไร่ วัตถุประสงค์ของการประกาศใช้เพื่อเป็นการสร้างระเบียบในการปกครอง โดยวางรากฐานบนสิทธิที่ระบุเป็นมูลค่าในสังคม ซึ่งมีประโยชน์ในทางการบริหารราชการแผ่นดินว่า พระเจ้าอยู่หัวฯจะต้องให้เบี้ยหวัดเงินเดือนผู้รับราชการในตำแหน่งอะไร เท่าไหร่ เบี้ยหวัดนี้จะเป็นไปตามลำดับขั้นของศักดินา เช่นไพร่สม (ไพร่เลวในประกาศพระราชบัญญัติ) มีศักดินา 10 ไร่ ก็จะได้รับเบี้ยหวัดปีละ 15 บาท ไพร่หลวงมีศักดินา 15 ไร่ ก็จะได้รับเบี้ยหวัดปีละ 23 บาท หัวหน้าไพร่ มีศักดินา 25 ไร่ ก็จะได้รับเบี้ยหวัดปีละ 38 บาท ซึ่งเงินหนึ่งบาทในปี พุทธศักราช 2000 นั้นก็ถือว่าเป็นรายได้ที่อยู่ได้ดีเลี้ยงครอบครัวได้ทีเดียว
ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
 
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
นอกจากศักดินาจะใช้ในการให้คุณตอบแทนผู้รับสนองพระเดชพระคุณแล้ว ศักดินายังใช้เป็นตัววัดในการปรับไหม และ/หรือ ลงฑัณท์ ซึ่งในส่วนนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ฯ ได้ทรงประมวลบทลงโทษปรับไว้ในกฏหมาย กรมศักดิ์เบ็ดเสร็จ ซึ่งชำระอีกครั้ง โดย ศ.ดร. ร. แลงกาต์ ตามบัญชาของนายปรีดี พนมยงค์ จึงได้มีการจัดพิมพ์ หนังสือ กฏหมายตราสามดวง ขึ้นโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มแสดงให้เห็นว่า กฏหมายกรมศักดิ์เบ็ดเสร็จ มีการกำหนดโทษที่รุนแรงมากเป็น 11 เท่าของศักดินา ยิ่งศักดินาสูงเท่าไหร่ การรับโทษปรับจากการละเมิดกฏหมายนั้นยิ่งสูงเป็น 11 เท่าของหน่วยนาที่แต่ละคนได้รับศักดิ์ ส่วนโทษทรมาน เช้น การตัดนิ้ว ตัดมือ ตัดปาก ฉีกปาก และ การทำทัณฑืบนร่างกายนั้นสามารถไถ่เป็นโทษปรับ และ ในทำนองเดียวกัน หากนักโทษไม่มีเงินชำระ ก็จะถูกปรับเทียบให้เป็นทรมานเช่้นกัน
ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์
 
ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น
ด้วยความรุนแรงและเฉียบขาดของกฏหมายกรมศักดิ์เบ็ดเสร็จทำให้สหราชอาณาจักรอังกฤษใช้เป็นข้ออ้างในการขอสิทธิพิเศษทางศาลแก่พลเมืองชาวอังกฤษ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอฯ กรมหลวงพิชิตปรีชากรฯ ทรงชำระกฏหมายศักดินา และ ยกเลิกการบังคับใช้ในที่สุด
ใน[[สมัยกรุงศรีอยุธยา]] อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง
 
การกำหนดศักดินาในกฏหมายไทยกระจายอยู่ในสามพระราชบัญญัติ คือ
1. กฏมณเฑียรบาล มีกฏว่าด้วยศักดินาของพระราชวงศ์ชั้นสูง รวมไปถึงสิทธิในการครองเมืองของ พะเจ้าลูกเธอฯ ตำแหน่งการนั่งในท้องพระโรงฯ รวมไปถึงอำนาจการควบคุมกำลังพลระดับเจ้าพระยา พระยา ไปจึงถึงไพร่ บทกำหนดโทษของพระราขวงศ์ชั้นสูงมีอยู่ในกฏมณเท๊ยรบาลด
2. พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน มีกฏระเบียบว่าด้วยการจัดชั้นของศักดินาสำหรับบุคลากรฝ่ายพลเรือน เริ่มตั้งแต่เจ้าฟ้าไปจนถึงกระยาจก ไม่มีการให้คุณหรือโทษในพระโอยการหมวดนี้
3. พระไอยการตำแหน่งนาทหารและหัวเมือง มีกฏระเบียบว่าด้วยว่าด้วยการจัดชั้นของศักดินาสำหรับบุคลากรฝ่ายทหารและความมั่นคงทั้งทางบกและทางเรือ รวมไปจนถึงหน่วยพลาธิการ และ หน่วยงานด้านการต่างประเทศ
 
การบังคับใช้กฏหมายศักดินาและความหมายทางสังคม
เนื่องจากศักดินาเป็นแนวความคิดหลักของระเบียบการบริหารราชการในสมัยอยุธยาฯ ธนบุรีฯ และ รัตนโกสินทร์ตอนต้น การบังคับใช้กฏหมายแทรกซึมอยู่ในทุกกฏหมายทุกฉบับ เมื่อมีการกำหนดคุณโทษของแต่ละกฏหมายขึ้น บทกำหนดคุณ และ โทษปรับจึงต้องอิงกฏหมายศํกดินา เช่น ไอยการลักษณะผัวเมีย ก็มีการระบุถึงการแต่งงานข้ามชั้น การจำหน่ายสินสอดทองหมั้น ค่าปรับในการยกเลิกการหมั้นและพิธีแต่งงาน ล้วนแล้วแต่อ้างถึงกฏหมายสักดินาทั้งสามฉบับ กฏหมายละเมิดทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ร่างและบังคับใช้บนพื้นฐานของกฏหมายศักดินา เพราะฉะนั้น กฏหมายศักดินาจึงถือว่าเป็นกฏหมายหลักที่บังคับใช้อยู่ในชีวิตของคนไทยจบจนสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี
 
กฏหมายศักดินาและการบังคับใช้มิได้มีความหมายจำกัดทางนิตินัยเท่านั้น กฏหมายศักดินาสร้างผลกระทบทางสังคม เพราะ
1. ความชัดเจนของตัวเลขทำให้เกิดการเปรียบเทียบได้ง่ายว่าคนในสังคมไม่มีความเท่าเทียม ซึ่งที่จริงแล้ว แนวความคิด "ความเท่าเทียม" ยังไม่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์
2. ไม่มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ให้ประชาชนคนทั่วไปรู้ว่ากฏหมายศักดินาครอบคลุมทุกคนในสังคม เนื่องจาก ตัวกฏหมายเองนั้นมีอยู่ไม่กี่สำเนาในกรุงศรีอยุธยา และ สำเนาที่ส่งออกไปตามหัวเมืองก็มีอยู่เฉพาะที่เจ้าเมืองเท่านั้น ทำให้เกิดการหลอกลวงผู้ที่ไม่รู้มากมาย ความรู้ทางกฏหมายของกลุ่มขุนนางจึงกลายเป็นเครื่องมือในการแสวงประโยชน์โดยการข่มเหงผู้ที่ไม่รู้กฏหมายจนกระทั่งรัชสมัยของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หมอบรัดเล่ย์ พิมพ์กฏหมายศักดินาออกจำหน่ายได้ แม้กระนั้นก็ตาม ผู้มีการศึกษา อ่านออกเขียนได้ ก็มีเพียงกลุ่มขุนนางเท่านั้น ดังนั้น ความรู้เรื่องกฏหมายศักดินาจึงเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มชนชั้นปกครอง จนกระทั่ง การปฏิรูปทางกฏหมายในรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการยกเลิกการบังคับใช้กฏหมายศักดินา
 
่ด้วยความไม่รู้และไม่เข้าใจในตัวกฏหมายศักดินา คำว่า ศักดินากลายความหมายไปโดยสิ้นเชิงด้วยสามเหตุผล คือ
1. การใช้คำว่าระบอบศักดินา เพื่อ ทดแทนคำศัพท์ทางรัฐศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงระบอบการปกครองก่อนสมัยที่ รัชกาลที่ 5 ฯพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงตั้งชื่อระบอบการปกครองว่า สมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว สยามประเทศก็เป็นระบอบนี้อยู่แล้วตั้งแต่สมัยสุโยทัย และ อยุธยา เพียงแต่ไม่มีการเรียกชื่อให้ถูกเท่านั้น
2. การใช้คำว่าระบบศักดินา เพื่อ แสดงชนชั้นทางสังคมโดยเจตนาจะแสดงเฉพาะความต่างระหว่างชนชั้นปกครอง และ สามัญชน โดยกลุ่มนักประพันธ์ในสมัยจอมพลถนอม กิติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี การชูความเสมอภาคระหว่างคน และ ใช้ศักดินาเป็นระบบที่กดขี่ข่มเหงคนในสังคมเป็นการนำเสนอที่ทำให้เกิดการบิดเบือนความหมายที่แท้จริงของศักดินา
3. การใช้การเปรียบเทียบระบบศักดินาไทยกับ ระบบฟิวดัล Feudal System ของฝรั่งในยุโรป เป็นการสร้างความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างร้ายแรง เพราะ ระบบฟิวดัลของฝรั่งยุโรปเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน ที่ผู้เป็นเจ้ามีสิทธิ์ในการเก็บภาษี เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ และ ให้คุณให้โทษแก่ผู้อาศัยอยู่ในอาณาเขตของตน ระบบศักดินาไทยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่ผู้มีศักดินา ไม่มีสิทธิเก็บเกี่ยวภาษี ผลประโยชน์ หรือ ให้คุณให้โทษแก่ใครได้ ยกเว้น พระอนุชาธิราช และ พระเจ้าลูกยาเธอฯ ที่ทรงกรม เท่านั้น จึงจะมีสิทธิสั่งจับหรือจองจำผู้ละเมิดกฏหมายได้โดยพระบัญชา ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะผุ้อยู่อาศัยใต่พระบารมีเท่านั้น
 
== ศักดินายุโรป ==