ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศแซมเบีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: hy:Զամբիա
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
|latd=15|latm=25|latNS=S|longd=28|longm=17|longEW=E|
|largest_city = [[ลูซากา]]
|government_type = [[สาธารณรัฐ]]พื้นที่ 752,612 ตร.กม. (ใหญ่กว่าไทยประมาณ 1.46 เท่า)
 
เมืองหลวง กรุงลูซากา (Lusaka)
 
ประชากร 12.2 ล้านคน (2553)
 
ภาษาราชการ อังกฤษ (ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาบันตู Bantu)
 
ศาสนา คริสต์ 50-75% อิสลามและฮินดู 24-49% ความเชื่อดั้งเดิม 1%
 
วันชาติ 24 ตุลาคม
 
ระบอบการปกครอง ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐและมีอำนาจสูงสุดทางด้านบริหาร มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี และดำรงตำแหน่งได้ติดต่อกันไม่เกิน 2 สมัย รัฐสภาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ มาจากการเลือกตั้ง วาระ 5 ปี ประกอบด้วยที่นั่งทั้งหมด 150 ที่นั่ง
 
ประธานาธิบดี นายรูเพีย บันดา (Rupiah Banda)
 
รมว.กต. นายคาบิงกา จาคัส พันเด (Kabinga Jacus Pande)
 
เว็บไซต์ทางการ www.statehouse.gov.zm
 
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
แซมเบียเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ประกอบด้วยประชากรจากหลากหลายเผ่าพันธุ์ (มากกว่า 70 เผ่า) เผ่าหลักๆ ได้แก่ เผ่า Bantu เผ่า Bemba เผ่า Nyanja เผ่า Tonga และเผ่า Lozi นอกจากนี้ มีชาวยุโรปประมาณร้อยละ 1 และชาวเอเชียประมาณร้อยละ 0.2 ประชากรร้อยละ 50-75 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก นอกนั้นนับถือศาสนาอิสลาม ฮินดู และความเชื่อต่าง ๆ ภาษาที่ใช้ในประชากรส่วนใหญ่ ได้แก่ ภาษาบันตู (Bantu)
 
ชนเผ่าที่พูดภาษาบันตูได้อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นประเทศแซมเบียในปัจจุบันเมื่อประมาณสองพันปีก่อน ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 มิชชันนารีและพ่อค้าชาวยุโรปได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่บริเวณนี้ ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) นาย Cecil Rhodes ซึ่งกำกับดูแลผลประโยชน์ทางการค้าและการเมืองของอังกฤษในภูมิภาคแอฟริกาตอนกลาง ได้รับสัมปทานการทำเหมืองแร่จากหัวหน้าเผ่าต่างๆ ในพื้นที่บริเวณนั้น สัมปทานการทำเหมืองแร่เปิดทางให้อังกฤษเข้าไปมีอิทธิพลเหนือดินแดนโรดีเซียเหนือ (Northern Rhodesia) และโรดีเซียใต้ (Southern Rhodesia) ซึ่งคือ ประเทศแซมเบียและซิมบับเวในปัจจุบัน
 
ในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) อังกฤษได้รวมดินแดนโรดีเซียเหนือและใต้เข้ากับดินแดนนยาซาแลนด์ (Nyasaland) ซึ่งปัจจุบัน คือ ประเทศมาลาวี และกลายเป็นสมาพันธรัฐโรดีเซียและนยาซาแลนด์ (the Federation of Rhodesia and Nyasaland) อย่างไรก็ดี ได้เกิดความวุ่นวายในดินแดนโรดีเซียเหนือเนื่องจากคนพื้นเมือง แอฟริกาต้องการมีส่วนร่วมในรัฐบาลมากขึ้น ผลการเลือกตั้งในปี 2505 (ค.ศ. 1962) ปรากฏว่า ชาวพื้นเมือง แอฟริกาได้รับเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ ต่อมา สภานิติบัญญัติได้ผ่านมติเสนอให้ปลดปล่อยโรดีเซียเหนือจากสมาพันธรัฐโรดีเซียและนยาซาแลนด์ สมาพันธรัฐดังกล่าวได้สลายตัวลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2506 (ค.ศ. 1963) ดินแดนโรดีเซียเหนือได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 24 ตุลาคม 2507 (ค.ศ. 1964) และกลายเป็นสาธารณรัฐแซมเบีย
 
ในช่วง 6 ปีแรกหลังจากที่ได้รับเอกราช แซมเบียเป็นประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ที่ร่ำรวยและมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วมากที่สุดประเทศหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะสามารถผลิตทองแดงได้ในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแซมเบียอยู่ในภาวะที่ไม่คงที่ เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกลดต่ำลงอย่างมาก ทำให้แซมเบียซึ่งส่งออกทองแดงเป็นสินค้าหลักได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศ และเนื่องจากราคาทองแดงตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง แซมเบียจึงประสบปัญหาไม่สามารถจ่ายชำระดอกเบี้ยและเงินกู้ได้ ทำให้ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 แซมเบียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีหนี้ต่างประเทศต่อหัวมากที่สุดในโลก
 
 
นโยบายรัฐบาล
1. ด้านการเมือง
ประธานาธิบดี Kenneth Kaunda ได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษผู้กอบกู้เอกราชของแซมเบีย ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานตั้งแต่แซมเบียได้รับเอกราช จนถึงปี 2534 (ค.ศ. 1991) ระบบการเมืองของแซมเบียแต่เดิมนั้น มีพรรค United National Independence Party (UNIP) เป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพรรคเดียว แต่ต่อมา ด้วยสภาพความตกต่ำทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพของประชาชน ทำให้ความนิยมในประธานาธิบดี Kaunda เสื่อมลง เกิดการจลาจลในประเทศ และมีกลุ่มต่อต้านประธานาธิบดีพยายามทำรัฐประหารหลายครั้ง จนกระทั่งเมื่อเดือนธันวาคม 2533 (ค.ศ. 1990) จึงได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรค และได้มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยในเดือนตุลาคม 2534 (ค.ศ. 1991) ผลปรากฏว่า นาย Federick Chiluba ผู้นำสหภาพแรงงานได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ และพรรค Movement for Multi-Party Democracy (MMD) ของนาย Chiluba สามารถครองที่นั่งส่วนใหญ่ในสภา นาย Chiluba ชนะการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ในปี 2539 (ค.ศ. 1996)
 
ในการเลือกตั้งปี 2544 (ค.ศ. 2001) นาย Levy Mwanawasa รองประธานาธิบดีสมัยประธานาธิบดี Chiluba เป็นผู้แทนพรรค MMD เข้ารับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลของประธานาธิบดี Mwanawasaให้ความสำคัญกับการปราบปรามทุจริตและการประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยใช้มาตรการปลดรัฐมนตรีที่ประพฤติผิดออกจากตำแหน่ง และให้การสนับสนุนคณะกรรมาธิการปราบปรามคอรัปชั่นในการดำเนินการปราบปรามทุจริตและคอรัปชั่นอย่างเอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะ ได้พุ่งเป้าไปที่อดีตประธานาธิบดี Chiluba และบุคคลใกล้ชิด นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Mwanawasa ยังได้ตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อสืบสวนและลงโทษข้าราชการที่ทุจริตในสมัยประธานาธิบดีคนก่อนด้วย ประธานาธิบดี Mwanawasa ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ในปี 2549 (ค.ศ. 2006) นาย Mwanawasa ได้รับความชื่นชมจากนานาชาติในฐานะที่เป็นผู้นำที่มีนโยบายต่อต้านการทุจริตในวงราชการ และเป็นผู้วางรากฐานระบบเศรษฐกิจที่ดีให้แก่ประเทศแซมเบีย
 
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2551 นาย Mwanawasa ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแซมเบีย ได้ถึงแก่อสัญกรรมเนื่องจากหัวใจล้มเหลว ที่โรงพยาบาล Percy de Clamart กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส หลังจากล้มป่วยเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตก ระหว่างเข้าร่วมการประชุม African Union Summit ที่ประเทศอียิปต์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2551 รองประธานาธิบดี Rupiah Banda ปฏิบัติราชการแทนประธานาธิบดี จนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ภายหลังจากพิธีศพของประธานาธิบดี Mwanawasa เสร็จสิ้นลง นาย Banda ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 และสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2551
 
2. เศรษฐกิจ
รัฐบาลมีเป้าหมายลดความยากจนและส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ให้คำมั่นสัญญาที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศยากจนมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยรัฐบาลใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพ ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ปรับลดจำนวนตำแหน่งรัฐมนตรี ตรึงการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการไม่ให้สูงกว่าอัตราการขยายตัวของ GDP และจะทุ่มเทงบประมาณในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดความยากจน อาทิ โครงการเกี่ยวกับการศึกษา และการสาธารณสุข รวมถึงการต่อสู้กับโรคเอดส์ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามจะลดการพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมการผลิตทองแดงเพียงอย่างเดียว โดยพยายามส่งเสริมภาคการเกษตร การท่องเที่ยว การทำเหมืองอัญมณี และพลังงานไฟฟ้า
 
รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตการเกษตร เพื่อทำให้แซมเบียมีผลผลิตข้าวโพดเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งนโยบายนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากหน่วยงานของประชาคมเพื่อการพัฒนาแห่งอนุภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community ? SADC) และเห็นว่า นโยบายดังกล่าวจะมีส่วนช่วยให้แซมเบียพัฒนาเป็นแหล่งอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิก SADC เนื่องจากแซมเบียมีดินที่อุดมสมบูรณ์ และมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูก
 
3. ด้านสังคม
แซมเบียมีอัตราผู้ติดเชื้อโรคเอดส์สูง โดยมีชาวแซมเบียในวัยผู้ใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อในอัตรา 1 ต่อ 5 คน และในแต่ละวัน มีชาวแซมเบียเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์จำนวนประมาณ 200 ราย จึงทำให้มีการคาดการณ์ว่า ช่วงอายุของชาวแซมเบียจะลดลงจาก 46 ปีเป็น 37 ปี ภายในช่วง 1 ทศวรรษต่อจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าปัญหานี้เป็นความหายนะของชาติและต้องได้รับการแก้ไข โดยมุ่งให้ผู้ป่วยโรคเอดส์มียารักษาโรคในราคาถูก และปลุกจิตสำนึกของประชาชนให้รับรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันโรคเอดส์ ในปัจจุบัน แซมเบียยังไม่มีโครงการจัดสรรยาต่อต้านไวรัสเอดส์เพื่อยืดอายุผู้ป่วยโรคเอดส์
 
4. นโยบายต่างประเทศ
แซมเบียให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและรักษาสันติภาพในภูมิภาคแอฟริกา มีบทบาทสำคัญในการเจรจาสันติภาพในอังโกลา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และได้ส่งทหารเข้าร่วมกองกำลังรักษาสันติภาพของสหภาพแอฟริกาในโมซัมบิก รวันดา แองโกลา และเซียร์ราลีโอน
 
แซมเบียร่วมโครงการ Highly Indebted Poor Countries Initiative (HIPCI) ขององค์การการเงินระหว่างประเทศ และเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2548 ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำหรือ G8 ได้แสดงความพร้อมที่จะปลดเปลื้องหนี้ต่างประเทศของประเทศยากจนที่มีหนี้สินสูง (Highly-Indebted Poor Countries: HIPC) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา ตามโครงการ HIPCI ของธนาคารโลกและองค์การการเงินระหว่างประเทศ โดยเป็นการยกเลิกหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของประเทศที่เข้าข่ายได้รับการยกเลิกหนี้สิน ที่ยอมรับแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจ มีธรรมาภิบาล มีการปราบปรามการคอรัปชั่นอย่างจริงจัง สนับสนุนประชาธิปไตยและหลักกฎหมาย โดยมี 38 ประเทศที่อยู่ในโครงการยกเลิกหนี้สินนี้ และแซมเบียเป็น 1 ใน 18 ประเทศที่เข้าข่ายจะได้รับการยกเลิกหนี้สินทันที
 
 
ข้อมูลเศรษฐกิจ/การค้า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 15.79 พันล้าน USD (ไทย: 317.8 พันล้าน USD)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 1,294.48 USD (ไทย: 4,719.8 USD)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.6 (ไทย: ร้อยละ 7.8)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 8.0 (ไทย: ร้อยละ 3.3)
เงินทุนสำรอง 2.09 พันล้าน USD (ไทย: 185.6 พันล้าน USD)
อุตสาหกรรมที่สำคัญ การถลุงและแปรรูปทองแดง ก่อสร้าง อาหาร เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ ปุ๋ย พืชสวน
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทองแดง โคบอลต์ สังกะสี ตะกั่ว ถ่านหิน มรกต ทอง เงิน ยูเรเนียม พลังงานน้ำ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ทองแดง โคบอลต์ กระแสไฟฟ้า ยาสูบ ดอกไม้ ฝ้าย
สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้า ปุ๋ย อาหาร เสื้อผ้า
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ส่งออกไป จีน ซาอุดีอาระเบีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เกาหลีใต้ อียิปต์ แอฟริกาใต้ อินเดีย
นำเข้าจาก แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
หน่วยเงินตรา ควาชาแซมเบีย (ZMK) (1 บาท=156.58 ZMK) (สถานะ ณ วันที่ 20 มิ.ย. 54)
 
สถิติที่สำคัญไทย-แซมเบีย (2553)
มูลค่าการค้าไทย-แซมเบีย
59.02 ล้าน USD (ไทยส่งออก 9.17 ล้าน USD ไทยนำเข้า 49.84 ล้าน USD ไทยขาดดุลการค้า -40.67 ล้าน USD)
สินค้าส่งออกของไทย รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคหะสิ่งทอ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องนุ่งห่ม ประทีปโคมไฟ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง เคมีภัณฑ์
สินค้านำเข้าจากแซมเบีย สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ด้ายและเส้นใย
การลงทุน ไม่ปรากฎข้อมูลการลงทุนระหว่างกัน
การท่องเที่ยว ชาวแซมเบียมาไทย 1,339 คน (2553)
คนไทยในแซมเบีย ประมาณ 10 คน
การตรวจลงตรา ขอรับการตรวจลงตราตามปกติได้ที่สถานเอกอัครราชทูตแซมเบียประจำจีน
สำนักงานของไทยที่ดูแลแซมเบีย สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพริทอเรีย
สำนักงานของแซมเบียที่ดูแลไทย สถานเอกอัครราชทูตแซมเบียประจำจีน
 
 
1. ความสัมพันธ์ทั่วไป
?? 1.1 การทูต
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับแซมเบียเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530 (ค.ศ. 1987) ฝ่ายไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย มีเขตอาณาครอบคลุมแซมเบีย เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียคนปัจจุบัน คือ นายธฤต จรุงวัฒน์ โดยฝ่ายแซมเบียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตแซมเบียประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย เอกอัครราชทูตแซมเบียประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่งคนปัจจุบัน คือ นายลูพันโด ออกัสติน เฟสตัส คาโทโลซี อึมวาพี (Mr. Lupando Augustine Festus Katoloshi Mwape)
 
?? 1.2 ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-แซมเบียราบรื่น ไม่มีปัญหาระหว่างกัน แต่ยังค่อนข้างห่างเหิน ไม่ค่อยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง แซมเบียให้การสนับสนุนไทยในเวทีระหว่างประเทศเสมอมา และที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศมีท่าทีในเวทีระหว่างประเทศที่สอดคล้องกัน
 
แซมเบียมีความชื่นชมการพัฒนาด้านการเกษตรแบบยั่งยืน และการต่อสู้กับปัญหาการแพร่กระจาย ของเชื้อเอชไอวีและเอดส์ของไทย โดยต้องการใช้ไทยเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ ซึ่งฝ่ายไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือทางวิชาการกับแซมเบียอย่างเต็มที่ฉันท์มิตรประเทศ ที่ผ่านมา สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดทุนการฝึกอบรมด้านสาธารณสุขประจำปีแก่รัฐบาลแซมเบียอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังมีความร่วมมือแบบไตรภาคีกับรัฐบาลญี่ปุ่น ในโครงการส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกรรม ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร และการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรแก่แซมเบียอีกด้วย
 
?? 1.3 เศรษฐกิจ
แซมเบียเป็นคู่ค้าและแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของไทยประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ไทยนำเข้าวัตถุดิบประเภทสินแร่โลหะและเศษโลหะ จากแซมเบีย เป็นมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี ในปี 2551 มูลค่าการค้าระหว่างไทย-แซมเบีย มีมูลค่า 4,823.39 ล้านบาท ไทยส่งออกเป็นมูลค่าประมาณ 271.14 ล้านบาท และนำเข้าเป็นมูลค่าประมาณ 4,554.25 ล้านบาท สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปไปแซมเบีย ได้แก่ ประทีปโคมไฟ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ พลาสติก เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากแซมเบีย ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ด้ายและเส้นใย สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ อุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์
 
นักธุรกิจไทยยังเข้าไปลงทุนในแซมเบียน้อยมากและจำกัดอยู่แค่เฉพาะธุรกิจร้านอาหารเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ เนื่องจากแซมเบียยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของนักธุรกิจไทย อีกทั้งระบบการบริหารจัดการภายในของแซมเบียในการจัดเก็บภาษีและการส่งเสริมการลงทุนยังขาดมาตรฐานและไม่มีความเป็นสากล จึงไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุนไทย ปัจจุบันมีคนไทยที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารและเป็นคู่สมรสกับชาวแซมเบียและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในแซมเบียประมาณ 10 คน ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา อย่างไรก็ตาม แซมเบียมีศักยภาพเป็นแหล่งวัตถุดิบ แร่ทองแดง อัญมณีและทรัพยากรไม้ และเป็นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูกของไทย
 
2. ความตกลงกับไทย
ได้มีการลงนามย่อความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่างไทย - แซมเบีย โดยอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศและผู้อำนวยการการขนส่งทางอากาศแซมเบีย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2534 ที่กรุงเทพฯ
 
3. การเยือนที่สำคัญ
?? ฝ่ายไทย
ที่ผ่านมายังไม่มีการเสด็จฯ เยือนแซมเบียของพระราชวงศ์ไทย และไม่มีการเยือนของผู้แทนระดับสูงของไทย
 
?? ฝ่ายแซมเบีย
- นาย Kenneth Kaunda อดีตประธานาธิบดีแซมเบีย เดินทางมาเป็นผู้กล่าว Keynote address ในหัวข้อ HIV/AIDS ต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอสแคป สมัยที่ 57 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน 2544
 
- Dr. Brian Chituwo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแซมเบีย เดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 15 -18 ตุลาคม 2545 เพื่อศึกษาดูงานด้านโรคเอดส์ และได้เข้าพบ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
- นาง Maureen Mwanawasa ภริยาประธานาธิบดีแซมเบียเข้าร่วมการประชุมเอดส์โลก ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2547
 
สถานะเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2553
 
 
 
 
 
 
|leader_title1 = ประธานาธิบดี
|leader_name1 = [[รูเปียห์ บันดา]]