ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมแทบอลิซึมของยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thanawat Kaewkamson (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thanawat Kaewkamson (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เมแทบอลิซึมของยา''' ({{lang-en|Drug metabolism}}) คือกระบวนการเผาผลาญยาหรือสารประกอบเคมีจะมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทาง[[ชีวเคมี]]หรือการเสื่อมสะลายทางเคมีโดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับระบบ[[เอ็นไซม์]] ในกระบวนการเผาผลาญยาบ่อยครั้งจะเป็นการเปลี่ยนคุณสมบัติจาก[[สารประกอบเคมี]]ที่ [[ไม่ชอบน้ำ]] (lipophilic) ไปเป็นสารประกอบเคมีที่[[ชอบน้ำ]] (Hydrophilicity) เพื่อว่ามันจะสามารถละลายได้ในน้ำและถูกขับออกมากับปัสสาวะ ช่วงเวลาของการคงอยู่ในสภาพเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการรักษามีความสำคัญมาก ผลของการเผาผลาญยาอาจ[[ทำให้เกิดพิษ]] (toxication) หรือเป็นการ [[กำจัดพิษ]] (detoxication)ส่วนใหญ่เป็นการกำจัดพิษ<br/>
 
''' '''[http://pharmacology.md.kku.ac.th/mdbtemplate/mytemplate/template.php?component=view_article&qid=234]สำหรับการเมแทบอลิซึมยาในมนุษย์นั้นจัดว่าเป็นกระบวนการที่จำเป็นเนื่องจากในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับ หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับสารแปลกปลอม (xenobiotics) จากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย ทั้งนี้อาจเพราะความจำเป็นในการดำรงชีวิตตามปกติ (เช่น สารอาหาร ยารักษาโรค) หรือโดยความไม่ตั้งใจ (เช่น การได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อม) ดังนั้นร่างกายจึงจำต้องมีกระบวนการเร่งการกำจัดสารส่วนเกิน หรือสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วออกจากร่างกาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสะสมของสารเคมีที่มากเกินควรจนอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ดังนั้นกระบวนการเมแทบอลิซึมยาและสารเคมีจึงเป็นกลไกป้องกันตนเองที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์
 
''' '''สำหรับยาซึ่งเป็นสารเคมีที่ได้รับจากภายนอกเพื่อใช้ในการวินิจฉัย ป้องกัน หรือรักษาโรคนั้น เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายโดยทั่วไปจำเป็นต้องผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมเช่นเดียวกับสารเคมีอื่นๆ ที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย ทั้งนี้การเมแทบอลิซึมยา (drug metabolism) เป็นปฏิกิริยาเคมีที่ใช้เปลี่ยนรูปยาซึ่งส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปที่ละลายในไขมันได้ดี ให้กลายเป็นเมแทบอไลต์ (metabolite) ที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะหรือน้ำดีได้ง่ายขึ้น และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา หรือมีพิษลดน้อยลงกว่าสารเดิม (parent compound) อย่างไรก็ตาม การเมแทบอลิซึมยาบางชนิดอาจทำให้ได้เมแทบอไลต์ที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อยลง หรือมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหรือพิษเพิ่มมากขึ้นก็ได้ สำหรับยาหรือสารเคมีที่ได้รับจากภายนอกร่างกายที่ละลายน้ำได้ดีอยู่แล้ว ร่างกายสามารถขับออกไปได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึม