ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระศรีมหาอุมาเทวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 12:
[[สถาปัตยกรรม]]และศิลปกรรมของวัดเป็นลักษณะศิลปะประเพณีโบราณของอินเดียตอนใต้ผสมผสานกัน ระหว่างสมัย[[โจฬะ]]และ[[ปาละ]] ในอินเดีย ซึ่งจะพบศิลปะทางสถาปัตยกรรมแบบนี้ได้ในเทวาลัยตอนใต้ของประเทศอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน[[รัฐทมิฬนาดู]]
 
ด้านในวัดมีโบสถ์ตั้งอยู่ตรงกลาง หันหน้าไปด้านถนนปั้น ด้านในสุดของโบสถ์แบ่งเป็น 3 ซุ้ม ซุ้มใหญ่ตรงกลาง มี 2 ล็อก ล็อกหน้าเป็นทางเดินเข้า ล็อกในประดิษฐาน เทวรูปปูนปั้น และเทวรูปหล่อลอยองค์ พระศรีมหามารีอัมมัน หรือพระศรีมหาอุมาเทวี ซุ้มด้านซ้ายและขวาของโบสถ์ ประดิษฐานเทวรูปของพระโอรสทั้งสองสอพระองค์ ซุ้มด้านซ้าย ( ด้านข้างในวัด )เป็นซุ้มประดิษฐานเทวรูปศิลาสลักองค์พระพิฆเนศ ซุ้มด้านขวา ( ด้านริม[[ถนนสีลม]] ) ประดิษฐานเทวรูปหล่อลอยองค์ [[พระขันทกุมาร|พระขันธ์กุมาร]]ซุ้มในโบสถ์ทั้ง 3 ซุ้มนี้ไม่อนุญาตให้ผู้ใดเข้าไปข้างใน ยกเว้นพราหมณ์พิธีผู้มีคุณสมบัติอันสมควร แถวด้านซ้ายของโบสถ์หน้าซุ้มพระพิฆเนศ มีแท่นตั้งมีเทวรูปรูปหล่อลอยองค์พร้อมแท่นวางมีห่วงเหล็กที่สร้างไว้สำหรับอัญเชิญออกแห่ในงานพิธีหรือเทศกาลต่างๆของวัด อันได้แก่ พระพิฆเนศ [[พระศิวะ]] [[พระกฤษณะ]] [[พระวิษณุ]] [[พระลักษมี]] [[พระแม่กาลี]] [[พระสรัสวดี]]และมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นพระพุทธชินราชจำลองตั้งวางอยู่ด้านข้างประตูโบสถ์ด้านใน ส่วนด้านขวาของโบสถ์หน้าซุ้มเทวรูป [[พระขันทกุมาร|พระขันธ์กุมาร]] มีซุ้มพระศิวะ ปางศิวนาฏราชและพระอุมาเทวี , ตู้เก็บใบคำทำนายเซียมซีของวัด ทางเข้าด้านหน้าโบสถ์ทั้งซ้ายขวา เป็นสถานที่สำหรับขายของต่างๆ
 
บนลานวัดด้านหน้าโบสถ์มีเสาสีทองขนาดใหญ่สูงเท่าหลังคาโบสถ์ ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างประตูหน้าของวัดและช่องกลางโบสถ์ซึ่งมีซุ้มใหญ่ตรงกลาง ที่ประดิษฐานพระศรีมหามารีอัมมันอยู่ด้านในสุด ด้่านบนสุดของเสาเป็นโยนีลิงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะถูกตกแต่งประดับประดาและเป็นสถานที่ทำพิธีต่างๆของวัดชักธงรูปสิงห์ประจำองค์พระแม่ ขึ้นในช่วงสัปดาห์เทศกาลนวราตรี
บนลานวัดหน้าโบสถ์มีเทวาลัยขนาดเล็กอีก 3 เทวาลัย เทวาลัยแรกอยู่บริเวณกลางลานหน้าโบสถ์ด้านขวา (ด้าน[[ถนนสีลม]]) เป็นเทวาลัยประดิษฐาน[[ศิวลึงค์]]อันเป็นสัญญลักษณืสัญญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ อีก 2 เทวาลัยอยู่ที่มุมริมสุดด้่านหน้าของวัดด้านถนนปั้นตัดกับ[[ถนนสีลม]] เป็นเทวาลัยประดิษฐานพระพรหม และเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปประจำวันทั้ง 7 ริมรั้วด้าน[[ถนนสีลม]]ระหว่าเทวาลัยพะพรหมและศิวลึงค์ มีหอระฆังที่ต้องตีตลอดเวลาที่พราหมณ์ทำการบูชาเทพเจ้า
ส่วนด้านข้างของวัดริมซ้ายติดกับบ้านเรือนของเอกชนในถนนปั้น เป็นซุ้มใหญ่ประดิษฐานเทวรูปอีก 3 ซุ้ม ถัดไปข้างในเป็นแผ่นสลักรูปศักดิ์สิทธิ์หันหน้าเข้าหา[[ถนนสีลม]]และอาคารสำนักงานของทางวัด
 
==เทศกาลนวราตรี==