ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chumwa (คุย | ส่วนร่วม)
+map
Vejabhuti aka (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
 
แนวคิดการก่อสร้างคลองสามารถติดตามได้จนถึงปี ค.ศ. 1677 สมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ผู้ทรงตรัสถามวิศวกรชาวฝรั่งเศส de Lamar เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างทางน้ำตัดผ่าน[[คอคอดกระ]] เพื่อเชื่อมต่อ[[จังหวัดสงขลา|สงขลา]]กับมะริด (ปัจจุบันอยู่ใน[[ประเทศพม่า]]) แต่วิทยาการสมัยนั้นยังไม่มีความเจริญก้าวหน้าพอ ในปี ค.ศ. 1793 แนวคิดดังกล่าวถูกรื้อฟื้นโดยพระอนุชาของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ซึ่งได้เสนอให้มีการก่อสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่งด้านตะวันตกจากเรือรบของต่างชาติ ภายหลังพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1863 ได้มีการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว แต่ก็พบว่าไม่สามารถก่อสร้างได้ ในปี ค.ศ. 1882 วิศวกรผู้สร้างคลองสุเอซ Ferdinand de Lesseps ได้มาเยี่ยมชมพื้นที่ดังกล่าว แต่ไม่ได้รับพระราชทานอนุญาตจากพระมหากษัตริย์ไทยในการสำรวจเชิงลึก ในปี ค.ศ. 1897 สยามและ[[จักรวรรดิอังกฤษ]]ตกลงที่จะไม่มีการก่อสร้างคลองในบริเวณดังกล่าว เพื่อปกป้องการควบคุมการค้าอย่างเบ็ดเสร็จของท่าเรือ[[สิงคโปร์]]
โครงการขุดคอคอดกระหรือ “คลองไทย” นับเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะเป็น
 
ประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม การเมือง ความมั่นคง และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็น
กุญแจสำคัญทำให้ประเทศ ไทยก้าวขึ้นมามีบทบาทเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับโลก เป็น
เส้นทางเดินเรือสากลใหม่ของโลก ซึ่งจะช่วยพัฒนาประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาคใต้โดยตรง จะทำให้ประชาชนในภาคใต้และจาก
การหลั่งไหลมาจากภาคอื่น ๆ จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ๓ ล้านแรงงาน ทำให้
ลดปัญหาคนตกงานและแก้ไขปัญหาความยากจน เมื่อฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
ก็จะส่งผลให้ความมั่นคงของประเทศเพิ่มสูงมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น การขุดคลองไทยน่า
จะเป็นการลดปัญหาอย่างยั่งยืนและยังประโยชน์แก่ประเทศในทุก ๆ ด้านที่เห็นได้ชัด
ได้แก่ การคมนาคม การค้า การเกษตร การอุตสาหกรรม การท่าเรือ การท่องเที่ยว ฯลฯ
อันเป็นการพัฒนาบ้านเมืองอย่างเบ็ดเสร็จในระยะยาวและตลอดไป
จากการศึกษาขั้นต้น (Pre-Feasibility Study) ด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา ด้านความ
มั่นคงแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศและเงินทุน ด้านประชา
พิจารณ์ และด้านกฎหมาย รวมถึงการศึกษาดูงานภายในประเทศและต่างประเทศแล้ว
สรุปว่าเห็นควรให้มีการขุดคลองไทยเพราะมีความเหมาะสม ความคุ้มค่า และความเป็นไป
ได้ แต่จะต้องมีการศึกษาขั้นสมบูรณ์ (Full Feasibility Study) อย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้
ลดผลกระทบในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสิ่งแวดล้อมและด้านความมั่นคงของ
ประเทศ
แต่อย่างไรก็ตามควรจะได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงลึกอีกครั้งหนึ่งเพื่อเตรียม
การและป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านวิศวกรรม สังคม และสิ่งแวด
ล้อมอีกด้วย โดยตรวจสอบผลกระทบทุก ๆ ด้าน อย่างรอบคอบ วางแผนยุทธศาสตร์ชาติ
ที่ชัดเจน ไม่ให้ประเทศชาติเสียเปรียบผู้ได้รับสัมปทาน ประชาชนคนไทยในพื้นที่คลอง
ผ่านจะต้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมตัดสินใจในโครงการและ
ต้องได้รับประโยชน์ และสามารถดำรงชีพอยู่ด้วยความมั่นคง และมีเกียรติศักดิ์ศรี และมี
วิชาชีพที่ถาวรยั่งยืนจากการพัฒนาและดำเนินงานของคลองไทยตลอดไป รวมทั้งให้คำนึง
ถึงสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก เพราะการพัฒนาคลองไทยจะเป็นการ
พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) และโครงการต่อเนื่องในโครงการ
อุตสาหกรรมการเดินเรือ การขนส่งทางทะเลที่ไทยจะต้องเป็นศูนย์กลางคลังสินค้าโลยี
สติคส์ ในภูมิภาคเป็นโครงการขนาดยักษ์จริง ๆ ดังนั้นจะต้องไม่ทำสัญญาใด ๆ ที่ก่อให้
เกิดค่าโง่ หรือความเสียเปรียบแก่ลูกหลานไทยในอนาคต อย่างไรก็ตาม ต้องให้ความเป็น
ธรรมแก่ผู้ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศทุกฝ่ายโดยไม่ลำเอียงให้นายทุนฝ่ายใดค่าย
ใดได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง อันจะเป็นชนวนก่อความไม่สงบ และสร้างปัญหาในการบริหาร
จัดการ และการใช้คลองในอนาคต ซึ่งจะต้องเป็นเส้นทางเดินเรือสากลของนานาประเทศ
ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยอยู่ภายใต้อำนาจการบริหารและอธิปไตยของประเทศไทย โดย
คำนึงถึง
๑. การศึกษาอย่างถ่องแท้ถึงผลได้ผลเสียในการขุดคลอง
๒. ให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงของชาติเป็นหลัก
๓. ให้คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญว่าประชาชนจะได้
ประโยชน์อะไร
๔. หากนำต่างประเทศมาลงทุนก็อย่าให้ต่างประเทศมาเอาเปรียบ
๕. ดิน แร่ธาตุที่ขุดจะต้องเป็นของรัฐและประชาชนเป็นส่วนรวม
ข้อเสนอแนะ
๑. สมควรขุดคลองไทยทางภาคใต้ของประเทศไทย ขุดคลองเชื่อมระหว่างทะเล
อันดามัน มหาสมุทรอินเดียและอ่าวไทยในมหาสมุทรแปซิฟิก ในเส้นทาง ๙A ที่เหมาะสม
ที่สุดในปัจจุบันคือ ผ่านจังหวัด กระบี่-ตรัง-พัทลุง-นครศรีธรรมราช-สงขลา ความยาว
ประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร และให้เรียกเส้นทางการขุดคลองนี้ว่า “คลองไทย” แทนคำว่า
“คลองคอคอดกระ” เดิม
๒. ลักษณะคลองแบบสองคลองคู่ขนาน เป็นคลองบนและคลองล่างเพื่อการสัญจรทาง
เดียว ความกว้างประมาณคลองละ ๓๕๐ เมตร ณ จุดกลับเรือกว้าง ๕๐๐ เมตร ซึ่งจะมีไม่
เกิน ๒ แห่ง หรือตามที่จำเป็นเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ การกู้ภัย การคุ้มครอง
คลอง และการรักษาความสงบเรียบร้อยในการจัดการ ส่วนความลึกของคลอง คือ ๓๐
เมตร ความยาวเฉลี่ย ๑๒๐ กิโลเมตร โดยประมาณ (คลองบน ๑๒๕ กิโลเมตร คลองล่าง
ประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร) คลองคู่ขนาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในการเดินเรือ และความรวด
เร็วในการเดินเรือ เพื่อไม่ต้องรอหลีก สามารถรองรับเรือได้คลองละ ๒๐๐ – ๓๐๐ ลำต่อ
คลอง ต่อวัน และเพื่อให้เรือ VLCC และ ULCC ขนาด ๒๐๐,๐๐๐ – ๓๐๐,๐๐๐ DWT
สามารถแล่นผ่านได้อย่างสะดวก และเป็นการจูงใจให้เรือใช้คลองไทยมากขึ้น เพราะ
ประหยัดเวลาและเชื้อเพลิงได้มาก แทนการแล่นเรือผ่านเส้นทางช่องแคบมะละกา ซึ่ง
ประหยัดได้ ๓ วัน และคิดเป็นระยะทางที่ประหยัดได้ไม่น้อยกว่า ๒,๔๐๐ กิโลเมตร ช่อง
แคบซุนดาและช่องแคบลอมบ๊อค ๕ – ๗ วัน ทำให้ลดภาวะเรือนกระจกจากการเผาเชื้อ
เพลิง (น้ำมัน) ลงได้จำนวนมหาศาล (ประมาณปีละ ๒๕ พันล้านดอลล่าร์)
๓. ระดับน้ำของสองฝั่งทะเลต่างกันประมาณ ๒๕ เซนติเมตร จึงเป็นคลองในระดับน้ำ
ทะเล ไม่ต้องสร้างประตูน้ำเพื่อยกระดับให้เรือผ่าน
๔. การขุดคลองสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อความรวดเร็วในการขุด แต่ไม่
สมควรขุดโดยใช้ปรมาณู
๕. ควรกำหนดกรอบข้อกำหนด TOR (Terms of Reference) ในการพัฒนาโครงการ
สำหรับผู้ลงทุนที่เป็นธรรมกับผู้รับสัมปทานและประเทศไทยในฐานะเจ้าของคลองไทย
๖. กำหนดแนวให้มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ ๓ บริเวณ คือ
- บริเวณอำเภอสิเกา และอำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง และอำเภอคลองท่อม
จังหวัดกระบี่ ใช้พื้นที่ประมาณ ๔๐๐ ตารางกิโลเมตร (๒๐ x ๒๐ กิโลเมตร)
- บริเวณอำเภอทุ่งสง อำเภอรัษฎา และอำเภอห้วยยอด ใช้พื้นที่ประมาณ ๔๐๐
ตารางกิโลเมตร (๒๐ x ๒๐ กิโลเมตร)
- บริเวณอำเภอหัวไทร อำเภอชะอวด อำเภอระโนด ใช้พื้นที่ประมาณ ๖๐๐ ตาราง
กิโลเมตร (๒๐ x ๓๐ กิโลเมตร)
รวมพื้นที่พัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic
Zone) ๓ เขต ประมาณ ๑,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร
๗. การออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับกฎหมายทะเล การเดินเรือทะเลและกฎหมายใด ๆ
ที่เกี่ยวกับการเดินเรือสากลต้องเร่งดำเนินการส่งเสริมให้การเดินเรือไทยเจริญขึ้นทันอารย
ประเทศ และเสริมสร้างให้มีคลองเรือที่มั่นคง
๘. การจัดทำประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนทราบ และให้ความร่วมมือสนับ
สนุนในการขุดคลองไทย และให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้มีส่วนร่วมกำหนดพื้นที่แนวคลอง
ของตนเอง และปรับสภาพแวดล้อมสังคมของตนเองตลอดจนสิทธิในการได้รับค่าเวนคืนที่
เป็นธรรม และมีอาชีพที่มั่นคงจากการมีคลองไทย
๙. ค่าใช้จ่ายในการขุดคลองไทยพิจารณาจากเงินออมภายในประเทศ ร่วมกับเงินจาก
ผู้รับสัมปทานจากต่างประเทศร่วมกัน หรือมีบริษัทที่ขอรับสัมปทานโดยตรง เพื่อให้คน
ไทยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในอัตราที่เหมาะสมที่สุด และมีความเป็นธรรมกับทั้ง ๒ ฝ่าย คือ
รัฐบาลไทยที่เป็นเจ้าของคลอง และฝ่ายผู้ได้สัมปทานที่เป็นผู้ลงทุนโครงการอาจเชิญชวน
ให้ประชาชนร่วมลงทุนในรูปแบบซื้อพันธบัตร ในระยะเวลา ๑๐ – ๒๐ ปี หรือรัฐบาลให้
สัมปทานแก่ภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมีส่วนร่วมในการส่วนร่วมในการ
ลงทุน และขายหุ้นมหาชนในตลาดหุ้น เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลจะต้องพิจารณา
๑๐. กำหนดโครงการขุดคลองไทยเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ โดยกำหนดเป็นนโยบายที่
สำคัญของรัฐ ที่ส่วนราชการทุกฝ่ายและประชาชนทุกหมู่เหล่าต้องร่วมมือกัน
๑๑. ระบบสัมปทานที่เหมาะควรเป็นระบบ BOOT (Build Operate Own Transfer)
คือ ให้ผู้รับสัมปทานก่อสร้างเป็นเจ้าของในระยะหนึ่งตามสัญญา ดำเนินการเรื่องคลอง
เมื่อครบสัญญาแล้วจะต้องโอนคืนเป็นสมบัติของประเทศไทยต่อไป สัมปทานควรอยู่
ระหว่าง ๓๐ – ๕๐ ปี หรือตามความเหมาะสม
๑๒. การเตรียมความพร้อมบุคลากรบริหารจัดการเรื่องคลอง การเดินเรือ ซ่อมเรือ ต่อ
เรือ การท่าเรือ การจัดการในทะเล การควบคุมคลอง ฯลฯ จะต้องเตรียมฝึกคนไทยไว้ล่วง
หน้า ๑๐ ปี เป็นอย่างน้อย ก่อนเปิดการเดินเรือในคลอง ฉะนั้นจะต้องจัดตั้ง “มหาวิทยาลัย
คลองไทย” ขึ้นก่อนเพื่อรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ช่างฝีมือ ฯลฯ ในระดับ
ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยฝาก
เรียนไว้กับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่คลองผ่าน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
สถาบันราชภัฎ วิทยาลัยการต่อเรือปากพนัง วิทยาลัยการอาชีพต่าง ๆ โดยผู้ให้ทุนการ
ศึกษาโครงการจะต้องจ่ายงบประมาณเพื่อการนี้แก่สถาบันต่าง ๆ ไปก่อนจนกว่าจะ
สามารถตั้งเป็นมหาวิทยาลัยคลองไทยในอนาคตต่อไป โดยรายได้จากโครงการคลองไทย
ให้ถือว่าการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของโครงการคลองไทย
๑๓. แหล่งศึกษาสาขาวิชาการทางการเดินเรือ บริหารจัดการเรือ ท่าเรือ วิศวกรรมการ
เดินเรือ ฯลฯ ควรศึกษาจากสถาบัน MPA (Maritime and Port Authority) ของสิงคโปร์
เป็นต้นแบบ และมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัยคลองไทยต่อไป
๑๔. การสร้างเมืองใหม่และเขตอุตสาหกรรมต่อเนื่องจาก ๓ เขต ในข้อ ๖ จะต้องคำนึง
ถึงอุตสาหกรรมที่สะอาด ทันสมัยเท่านั้น เป็นอุตสาหกรรม High Technology เพื่อเตรียม
สินค้าส่งออกลงเรือไปต่างประเทศ รวมทั้งอุตสาหกรรมบริการอื่น ๆ เช่น ซ่อมเรือ โรงแรม
ท่องเที่ยว การบิน การขนส่งทางบก ฯลฯ
๑๕. ควรมีเขตปลอดภาษีในเขตเมืองใหม่และเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง ๓ เขต มูลค่า
เมืองใหม่แห่งละประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐและควรได้รับการออกแบบที่ทันสมัย
๑๖. รายได้จากการเดินเรือและเขตเมืองใหม่ จะต้องแบ่งเป็นรายได้ให้แก่จังหวัดที่
คลองผ่านในอัตราตามที่รัฐกำหนด (ประมาณร้อยละ ๕๐) ที่เหลือจึงเป็นของจังหวัดใกล้
เคียงและจังหวัดอื่น ๆ โดยนำเข้าเป็นรายได้ของรัฐต่อไป
๑๗. แหล่งน้ำจืดสำหรับขายหรือบริการให้เรือที่ผ่าน จะต้องมีการเตรียมอ่างเก็บกักน้ำ
ขนาดใหญ่จากบริเวณเขาหลวงใกล้อำเภอทุ่งสง และอำเภอพรหมคีรี อำเภอห้วยยอด
โดยกรมชลประทานเป็นแหล่งสำรองน้ำจืดเพิ่มเติม
๑๘. พรุควนเคร็งส่วนเหนือคลองไทยบนกั้นเป็นเขื่อนเหนือคลองไทย ไว้เป็นน้ำต้นทุน
แก่โครงการลุ่มน้ำปากพนัง ควรขุดให้ลึกเป็นอ่างเก็บน้ำจืด โดยลอกให้ลึก ๑๐ – ๒๐ เมตร
จะได้มีปริมาณน้ำจืดพอบริการเรือ ปัจจุบันราคาน้ำจืดคิวบิกเมตรละ ๒๕ เหรียญสหรัฐ ซึ่ง
จะเป็นเงินนำเข้าประเทศได้มหาศาล เพราะเรือแต่ละลำต้องการน้ำจำนวนมาก
๑๙. คลองไทยตัดผ่านทางหลวงสายสำคัญ ๔ สาย ที่ต้องสร้างสะพานข้ามคลอง และมี
ทางรถไฟ ๒ สาย อาจทำสะพานหรืออุโมงค์ลอด เพื่อไม่ให้บริเวณพื้นที่ประชาชนอาศัยใต้
คลองและเหนือคลองขาดการติดต่อกัน ส่วนการออกแบบแล้วแต่วิศวกรจะกำหนดตาม
ความเหมาะสม
๒๐. สร้างทางด่วนขนานคลองเชื่อมสองฝั่งทะเล (Land Bridge) ทั้งด้านเหนือและด้าน
ใต้ คลองบนและคลองล่างตามแนวบริเวณเขตคลองแนวเขตไว้ ควรเป็นถนนทางด่วน ๑๐
เลน รองรับประชากรที่อาศัยตลอดแนวคลองและใกล้เคียงให้เดินทางทางบกได้โดยสะดวก
ทุกทิศทาง
๒๑. การจ่ายค่าชดเชย เวนคืน ขนย้าย รื้อย้าย จะต้องให้ความเป็นธรรมกับประชาชน
ในอัตราที่จ่ายสูงกว่าราคาค่าเวนคืนตามที่รัฐกำหนด ราษฎรที่มีผลกระทบจากการขุด
คลองที่ไม่มีสิทธิ์ได้ค่าเวนคืน แต่มีผลกระทบผู้รับสัมปทานจะต้องจัดที่อยู่ใหม่ที่เหมาะสม
ให้ด้วยความเป็นธรรม
๒๒. ต้องแบ่งพื้นที่ในคลอง โดยวางทุ่นแบ่งเขตให้เรือประมงและเรือสินค้าขนาดเล็ก
ขนาดระวางต่ำกว่า ๑๐๐ ตัน ผ่านได้ตลอดเวลา และร่วมใช้คลองเช่นเดียวกับเรือเดินทะเล
๒๓. เรือกองทัพเรือไทยและเรือหน่วยราชการไทยมีสิทธิที่จะต้องได้รับการยกเว้นค่า
ผ่านคลอง และไม่ควรอนุญาตให้เรือดำน้ำผ่าน
๒๔. ปากคลองทั้งฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดกระบี่-ตรัง และที่อำเภอหัวไทร จังหวัด
นครศรีธรรมราช และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ควรก่อสร้างคลอง ๙A เหนือ และคลอง
๙A ใต้ ให้ห่างกันไม่น้อยกว่า ๑๐ กิโลเมตร เพื่อไม่ให้การจราจรปากคลองไทย ทั้งสองฝั่ง
ทะเลแออัดและคับคั่ง
๒๕. โครงการสร้างคลองไทย (Thai Canals Project) จะต้องมีหน่วยงานภาคราชการ
ขึ้นมากำกับ ควบคุม บรรษัทที่ดำเนินการคลองไทย และต้องเตรียมพร้อมรับการถ่ายโอน
การบริหารจัดการคลองไทย เมื่อบรรษัทคลองหมดอายุสัมปทานหรือโอนเป็นของรัฐตาม
แต่กรณี
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.senate.go.th/senate/report_detail.php?report_id=85 รายงานการศึกษาเรื่อง ความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ] จากสำนักราชเลขาธิการวุฒิสภา