ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อีสุกอีใส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 22:
 
#การดูแลทั่วไป โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรง โดยปกติแล้วจะเป็น เองหายเอง อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างโดยเฉพาะในผู้ใหญ่ ซึ่งอาจจะมีอาการรุนแรงกว่า เช่น เป็นไข้หรือมีอาการ ทางผิวหนัง เช่น แผลมีการติดเชื้อหรือมีอาการคันรุนแรง หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น อาการปอดบวมจาก เชื้อไวรัส ในกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงนี้ การให้ยาบางชนิด เช่น ยาบรรเทาอาการคัน การใช้น้ำสะอาดหรือ น้ำเกลือประคบ จะช่วยทำให้รู้สึกสบายตัวขึ้น ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้จำพวกแอสไพริน เพราะอาจ จะทำให้มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมาได้
#การรักษาแบบเจาะจง คือการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใส ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการที่สามารถให้ยาได้ทันและมีปริมาณพอเพียง ในช่วงนี้สามารถทำให้การตก สะเก็ดของแผล ระยะเวลาของโรคสั้นลง ซึ่งถ้ามองในแง่ของการป้องกันการเกิดแผลเป็นในผู้ใหญ่ ก็น่าจะเป็น ไปได้เพราะในเมื่อ ทำให้แผลตกสะเก็ดเร็วขึ้น หายเร็วขึ้นโอกาสการเกิดแผลติดเชื้อหรือแผลที่ลึกมากก็น้อยลง ดังนั้น แผลเป็นแบบหลุมก็ควรน้อยลงด้วย อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มนี้ก็มีราคาแพงมาก การพิจารณาเลือกใช้ยากลุ่มนี้จึง ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์และของผู้ป่วยร่วมกัน ตัวผู้ป่วยเองก็ควรได้รับข้อมูลที่ตรงไปตรงมาว่า ในสมัยก่อนที่ไม่ มียาตัวนี้ ก็ใช่ว่าคนที่เป็นโรคอีสุกอีใสแล้วจะต้องเหลือรอยแผลเป็นทิ้งไว้ทุกราย และในทางตรงกันข้ามคนที่กินยา ตัวนี้แล้วใช่ว่าจะไม่มีร่องรอยของแผลเป็นเหลือไว้เลยทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงขึ้นกับสิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นคือ การดูและผิวในระยะ ที่มีผื่นอย่างถูกต้อง เช่น ทำความสะอาดแผลให้ปราศจากสิ่งสกปรกหรือป้องกันการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย
 
===วัคซีน===