ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์งูแมวเซา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวป้อมและมีหัวค่อนข้างเป็น[[รูปสามเหลี่ยม]]ที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนคอมาก เกล็ดบนหัวมีขนาดเล็กยกเว้นสกุล ''[[Causus]]'' ที่เป็นแผ่นใหญ่ มีแอ่งรับรู้สึกคลื่นความร้อน[[อินฟาเรด]]อยู่ระหว่างช่องเปิดจมูกกับตาหรืออยู่ทางด้านล่างของเกล็ดที่ปกคลุมหัว กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาหมุนได้ และมีเขี้ยวพิษขนาดใหญ่เพียงซี่เดียวที่เป็นท่อกลวง เขี้ยวเคลื่อนไหวได้จากการปรับปรุงให้รอยต่อระหว่างกระดูกแมคซิลลากับกระดูกพรีฟรอนทัลขยับได้ ฟันเขี้ยวจะยกตั้งขึ้นเมื่ออ้าปากและเอนราบไปกับพื้นล่างของปากเมื่อหุบปาก ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัลหรือกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์ ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปอดข้างซ้ายหรือมีแต่เล็กมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน
 
เป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนสมาชิกประมาณ 221 [[สปีชีส์|ชนิด]] ประมาณ 32 [[genus|สกุล]] และแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 4 วงศ์ <ref>[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt จาก ITIS.gov {{en}}]</ref> แพร่กระจายไปทุกมุมโลก ยกเว้นบางพื้นที่ เช่น [[ทวีปอเมริกาใต้]], [[ทวีปออสเตรเลีย]], บางส่วนใน[[ทวีปเอเชีย]] และ[[ทวีปแอนตาร์กติกา]] โดยสมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักดี คือ [[Crotalinae|งูหางกระดิ่ง]] คือ งูที่อยู่ในวงศ์ย่อย [[Crotalinae]] ที่พบได้ใน[[ทะเลทราย]]ใน[[ทวีปอเมริกาเหนือ]]จนถึง[[อเมริกากลาง]]
 
สำหรับใน[[ทวีปเอเชีย]] ชนิด ''[[Azemiops feae]]'' พบได้ใน[[พม่า]], [[จีน]]ตอนกลาง และ[[เวียดนาม]] จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย [[Azemiopinae]]
 
สำหรับใน[[ประเทศไทย]]จัดว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง ได้แก่ [[งูกะปะ]] หรือ งูปะบุก (''Calloselasma rhodostoma'') ที่จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae และ[[งูแมวเซา]] (''Daboia russellii'') ที่อยู่ในวงศ์ย่อย [[Viperinae]] เป็นต้น<ref>วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, ''วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก'' หน้า 409-411 ([[พ.ศ. 2552]]) ISBN 978-616-556-016-0 </ref>