ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซัดดัม ฮุสเซน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KamikazeBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: arc:ܨܕܐܡ ܚܘܣܝܢ
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink
บรรทัด 21:
[[พ.ศ. 2506]] กอซิมถูกยึดอำนาจจากการก่อรัฐประหารซึ่งพรรคบะอัธร่วมสนับสนุน [[อับดุล ซาลัม อาริฟ]] ขึ้นเป็นประธานาธิบดีและพรรคบะอัธได้ร่วมคณะรัฐมนตรี ในช่วงนี้ซัดดัมแต่งงานกับซาญิดะห์ ตุลฟะห์ ลูกของลุง ต่อมาอารีฟขัดแย้งกับพรรคบะอัธ และขับออกจากรัฐบาล ซัดดัมถูกจับในปี[[พ.ศ. 2507]]
 
พรรคบะอัธขึ้นมามีอำนาจในปี[[พ.ศ. 2511]] หลังจากที่ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากอาริฟ [[อะฮ์มัด อัลบะกัร]] ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และซัดดัมได้รับตำแหน่งรองประธานาธิบดี ในปี พ.ศ. 2519 ซัดดัมได้รับตำแหน่งนายพลในกองทัพอิรัก ซัดดัมเริ่มมีอิทธิพลในรัฐบาลสูงขึ้นเรื่อยๆ ซัดดัมเป็นผู้วางแผนนโยบาลการต่างประเทศ และเป็นตัวแทนในพิธีทางการทูตต่างๆ หลังจากที่กุมอำนาจอยู่เบื้องหลังมาสิบเอ็ดปี ซัดดัมขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ [[17 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2522]] หลังจากนั้นไม่นาน สมาชิกพรรคบะอัธ 22 คนถูกสั่งประหารชีวิตในข้อหา[[กบฎกบฏ]]
 
ซัดดัมพัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยมีการให้เสรีภาพสตรีที่เพิ่มขึ้น และให้งานตำแหน่งสูงๆในรัฐบาลและอุตสาหกรรม ซัดดัมยังสร้างระบบกฎหมายแบบตะวันตก ทำให้อิรักเป็นประเทศเดียวใน[[อ่าวเปอร์เซีย]]ที่ไม่ได้ปกครองด้วยกฎหมายอิสลาม ([[ชาเรีย]]) ซัดดัมสร้างลัทธิชาตินิยมอิรัก บ่อยครั้งที่เขาเอ่ยถึงยุคสมัย[[อับบาซียุน]] ซึ่งแบกแดดเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของโลกอาหรับ เขายังเน้นบทบาทของอิรักในยุคก่อน[[ศาสนาอิสลาม]]ในฐานะ[[เมโสโปเตเมีย]] ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่สมัยโบราณ โดยกล่าวโดยอ้อมไปถึงผู้นำสมัยโบราณอย่าง[[พระเจ้านาบูชาเดรซซาที่ 2]] และ[[พระเจ้าฮัมบูราบี]] ซัดดัมทุ่มเททรัพยากรให้กับการค้นคว้าทางโบราณคดี เขายังได้พยายามรวมลัทธิแพนอาหรับกับชาตินิยมอิรัก ด้วยการสนับสนุนภาพของโลกอาหรับที่รวมเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การนำของอิรัก ความนิยมตัวผู้นำซัดดัมกระจายทั่วสังคมอิรัก ภาพของซัดดัมปรากฏทั่วไปทั้งบนอาคาร โรงเรียน สนามบิน ร้านค้าต่างๆ เช่นเดียวกับบนเงินตราของอิรัก