ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Inoobja (คุย | ส่วนร่วม)
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
กล่องข้อมูล
บรรทัด 6:
| สมณศักดิ์ = สมเด็จพระพุฒาจารย์
| วันเกิด = [[17 เมษายน]] [[พ.ศ. 2331]]
| วันบวชเณร = [[พ.ศ. 23442343]]
| วันบวชพระ = [[พ.ศ. 2351]]
| วันมรณะตาย = [[22 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2415]]
| พรรษา = 64
| อายุ = 84
| วัด = [[วัดระฆังโฆสิตาราม]]
| จังหวัด = [[กรุงธนบุรีกรุงเทพมหานคร]]
| สังกัด = [[มหานิกาย]]
| วุฒิ =
| ตำแหน่ง = เจ้าอาวาส[[วัดระฆังโฆสิตาราม]]
}}
'''สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ''' (นามเดิม: '''โต''') หรือนามที่นิยมเรียก '''"สมเด็จโต"''' '''"หลวงปู่โต"''' หรือ '''"สมเด็จวัดระฆัง"''' เป็นพระสงฆ์[[มหานิกาย]] เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส[[วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร]]ในสมัยรัชกาลที่ 4-5
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน<ref>พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. หน้า 66-67</ref> และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย<ref>คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2554). พระเครื่องเบญจภาคี. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://angsila.cs.buu.ac.th/~it471452/phrathai/page2-5.html</ref> และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท<ref>ข่าวพระเครื่องคมชัดลึก. (2554). สุดยอดการเช่าพระแห่งปี ๕๒. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : [http://www.komchadluek.net/detail/20091229/42948/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%95%E0%B9%92.html http://www.komchadluek.net/]</ref> ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน
 
== ประวัติ ==
=== ชาติภูมิ ===
[[ไฟล์:วัดไก่จ้น รูปหล่อหลวงพ่อโต.jpg|thumb|left|รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ประดิษฐานที่[[วัดไก่จ้น]] [[อำเภอท่าเรือ]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] กล่าวกันว่าท่านเกิดในเรือของมารดาซึ่งจอดเทียบท่าอยู่หน้าวัดแห่งนี้]]
สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัย[[รัชกาลที่ 1]] (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี<ref>________. (ม.ป.ป.). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช 1129-1130. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). หน้าที่ 351.</ref>) ณ บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) [[อำเภอท่าเรือ]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ [[17 เมษายน]] [[พ.ศ. 2331]]) <ref>พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. รองปก</ref> ที่บ้านท่าหลวง [[อำเภอท่าเรือ]]<ref>จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ต.ท่าหลวง กล่าวว่า สมเด็จโตเกิดในเรือซึ่งขณะนั้นลอยลำอยู่หน้า[[วัดไก่จ้น]]</ref> [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]]<ref>สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์” :2466. ไม่ทราบสำนักพิมพ์</ref>
 
มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร{{fn|1}} <ref>พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. หน้า 9-13</ref> หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ<ref>ผู้จัดการออนไลน์. (2545). สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี). [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=2&qid=517</ref><ref>เฮง อิฏฐาจาโร, พระมหา. (2492). '''ประวัติสังเขปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) '''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์.</ref> อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) {{fn|2}} เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง{{fn|3}}
 
สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป<ref>ห้องสมุดวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร. (2554). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี). [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.watrakang.com/biography.php</ref><ref>ตรียัมปวาย. (2495). '''พระสมเด็จ'''. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.).</ref>
 
=== บรรพชาและอุปสมบท ===