ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิวัติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PandaReactor (คุย | ส่วนร่วม)
/* ตัวอย่างของการปฏิวัติทางการเมืองในประวัติศาสตร์ทางการเมืองโลกRichard Pipes, "A Concise History of the Russian Revolution,"...
PandaReactor (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''ปฏิวัติ''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: revolution ; [[ภาษาฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]: Révolution) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบบเดิม ยกเลิกระบบเดิม ใช้ระบบใหม่ หรือ การรื้อโครงสร้างเดิมเป็นส่วนใหญ่ หรือจะใช้เป็นคำที่อธิบายว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น ปฏิวัติตนเอง คือปรับปรุงตัวเองใหม่ จากหน้ามือเป็นหลังมือเป็นต้น
 
ในสังคมไทยมักสับสนในนิยามที่แน่ชัดระหว่างคำว่าปฏิวัติ และ [[รัฐประหาร]] บางครั้งก็ใช้ทั้งสองคำรวมกันเป็น '''[[ปฏิวัติรัฐประหาร]]'''<ref>http://www.democrazy.in.th/forum/index.php?topic=654.0 ตัวอย่างของความสับสนของคำว่ารัฐประหาร ปฏิวัติ และปฏิวัติรัฐประหาร</ref>
 
==นิยาม==
บรรทัด 21:
สำหรับในสังคมการเมืองไทยเกิดการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นเพียงครั้งเดียวคือ [[การปฏิวัติสยาม]] ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติการปกครองโดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy)
 
แต่ก็มีความเห็นอีกด้านหนึ่ง ที่กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็น'''[[ปฏิวัติรัฐประหาร]]''' เนื่องจากเป็นการใช้กำลัง ยึดอำนาจจาก รัฐบาลใน [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[รัชกาลที่ ๗]] ซึ่งเป็นรัฐบาลซึ่งบริหารปกครองรัฐสยามในขณะนั้น และเปลี่ยนแปลงระบบอระบอบการปกครองด้วย จึงเป็นทั้งการ'''[[ปฏิวัติ]]''' และ'''[[รัฐประหาร]]''' ในคราวเีดียวกัน
 
ส่วนการล้มล้างรัฐบาลในครั้งต่อมานั้นเป็นเพียงการรัฐประหาร เพราะไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ทว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ผู้นำของรัฐบาล หรือเป็นการยืดอายุของรัฐบาลอุปถัมป์อำนาจนิยม (Suzerain-Authoritarianism) ของสังคมไทยเพียงเท่านั้น<ref>พิสิษฐิกุล แก้วงาม. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (มธ 120) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.</ref>