ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชมพูทวีป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NongBot (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ชมพูทวีป''' เป็นชื่อที่คนทั่วไปในสมัยโบราณเรียก [[ประเทศอินเดีย]] อันมีความหมายถึงทวีปต้นหว้า หรือทวีปที่มีสัณฐานดั่งต้น หว้า ในปัจจุบันได้แก่ประเทศทั้ง 4 คือ [[ประเทศอินเดีย]] [[ประเทศปากีสถาน|ปากีสถาน]] [[ประเทศเนปาล|เนปาล]] และ[[ประเทศบังคลาเทศ|บังคลาเทศ]] บางช่วงที่กษัตริย์อินเดียเรืองอำนาจ [[ประเทศอัฟกานิสถาน|อัฟกานิสถาน]]ก็ถูกผนวกเข้ามาด้วย ดังเช่นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชหรือพระเจ้ากนิษกะ พระเจ้าหรรษวรรธนะ เป็นต้น
 
ชมพูทวีปอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของไทย แต่คำว่าชมพูทวีป กลับไม่เป็นที่รู้จักในอินเดียมากนัก ยกเว้นนักการศึกษาเท่านั้น พวกเขาจะรู้จัก คำว่า ภารตะมากกว่าเพราะเป็นชื่อที่มาจากท้าวภารตะ ปฐมวงศ์แห่งราชวงศ์ปาณฑปจากเรื่องมหาภารตะ ความจริงคำที่เรียกชื่ออินเดีย มีหลายชื่อ เช่น ภารตะ ฮินดูสถานสินธุสถาน อินเดีย คำว่า "อินเดีย" เพี้ยนมาจากคำว่า สินธุ (Sindhu) อันเป็นชื่อแม่น้ำสำคัญทางภาคเหนือของอินเดีย ชาวเปอร์เซียพูดเพี้ยนเป็นอินดู ชาวฮอลันดา เรีกอินดัส และอังกฤษเรียกอินเดียตามลำดับ อากาศของชมพูทวีปมีตั้งแต่หนาวที่สุดในเขตเหนือ โดยเฉพาะเทือกเขาหิมาลัย จนถึงแห้งแล้งที่สุด ในเขตทรายทะเลทราย รัฐราชสถาน ดังนั้นแต่ละภาคจึงมีอากาศไม่เท่ากัน ด้วยความที่ใหญ่โต จนกล่าวได้ว่าเป็นทวีปเล็ก ๆ (Subcontinent) ทวีปหนึ่ง อินเดียเป็นประเทศที่เคยเจริญรุ่งเรืองมายาวนาน เทียบเคียงได้กับอีหยิปต์และจีนหลักฐานทางราณคดีโบราณคดีที่ค้นพบมีหลายแห่งเช่น ซากโบราณสถานเมืองโมเหนโจ ตาโร ที่แคว้นสินธุ และมหัปปะที่แคว้นปัญจาปในปากีสถาน ซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 3,500 ปีก่อนพุทธกาล
 
ชมพูทวีปยุคก่อนและยุคพุทธกาลแบ่งแคว้นออกเป็น 16 แคว้นใหญ่ ๆ ตามที่ปรากฏในอุบาลีอุโบสถสูตร ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย คือ