ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sc190 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี (พ.ศ. 2494) ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร โดยมีพระเทพวิมล (ชุ่ม ติสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระภัทรมุนี (อิ๋น ภัทรมุนี) เป็นพระ
กรรมวาจารย์ พระปริยัตยานุรักษ์ (สมบูรณ์ เตมิโย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน) เป็นพระธรรมวาจาจารย์ หลังจากอุปสมบทท่านก็ยังไม่ได้ละมานะที่จะเรียนบาลี โดยท่านสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยคในปี พ.ศ.2497 และในปี พ.ศ.2499 ท่านได้เดินทางกลับวัดหนองขุ่น ท่านเป็นเปรียญธรรมรูปแรกของบ้านหนองขุ่น <ref>ประวัติพระมงคลกิตติธาดา ,[http://watnongkhun.thde.com/-View.php?N=7]</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2508 เป็นครั้งแรกที่หลวงพ่อได้พบกับหลวงพ่อชาที่วัดหนองหลัก ท่านเล่าความรู้สึกในครั้งนั้นว่า นึกชอบในอากัปกิริยาที่ดูเคร่งขรึมอันสำรวมของหลวงพ่อชา แต่ด้วยเหตุที่ยังหยิ่งในภูมิปริยัติของตนเอง ที่ได้เปรียญ 6 ประโยคจากกรุงเทพฯ ส่วนหลวงพ่อชาแม้จะเป็นนักธรรมเอกแต่ก็เป็นพระบ้านอก จึงทำให้ในขณะนั้นท่านยังไม่รู้สึกเลื่อมใสหลวงพ่อชามากนัก
ในที่สุดแล้ว ท่านก็ได้ตัดสินใจไปวัดหนองป่าพง โดยตั้งใจครั้งแรกว่าจะไปทดลองดูก่อน เมื่อเหยียบย่างเข้าไปในวัดหนองป่าพงครั้งแรก หลวงพ่อเกิดความรู้สึกประทับใจ และเกิดความเลื่อมใสในหลวงพ่อชาเป็นอย่างมาก หลวงพ่อจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อชา ที่วัดหนองป่าพง จนถึงปี พ.ศ.2513 ท่านได้รับบัญชาจากหลวงพ่อชา ให้ไปอยู่อบรมสั่งสอนญาติโยมที่สำนักใหม่ในอำเภอม่วงสามสิบ ซึ่งก็คือวัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์) ในปัจจุบัน
 
==วุฒิการศึกษาสูงสุด==