ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิศวกรรมเคมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
'''สำหรับในประเทศไทย'''
 
มีการเรียนการสอนครั้งแรกโดยภาควิชาเคมีเทคนิค [[คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] จากวิสัยทัศน์ของ ศ.ดร.แถบ นีละนิธิ ที่เห็นว่าอุตสาหกรรมเคมีจะเป็นอุตสาหกรรมที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศ ถึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งภาควิชาเคมีเทคนิคขึ้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาควิชาแรกที่จัดการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมเคมีในประเทศไทย ในชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาเคมีวิศวกรรม (Bachelor of Science in Chemical Engineering) โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2516 [[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] ได้จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี เปิดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สองในประเทศไทยที่ได้ใช้ชื่อหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ซึ่งต่อมา ในปีพ.ศ. 2517 [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี]] จึงได้ก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี เปิดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สามของประเทศไทย และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้หลักสูตรของญี่ปุ่น และต่อมาในปีพ.ศ. 2518 [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ก็ได้จัดการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สี่ของประเทศไทย
 
สำหรับหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิศวกรรมเคมี แห่งแรกในประเทศไทย เปิดสอนโดย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี [[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เปิดสอนในปี พ.ศ. 2519