ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 92:
อย่างไรก็ดี รูปเคารพท่านที่เป็นที่แพร่หลายคือรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่สร้างขึ้นและประดิษฐานอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นไม่นานหลังจากได้สร้างรูปเคารพรูปแรกขึ้นและนำไปประดิษฐานที่วัดไชโยวรวิหาร ก่อนปี พ.ศ. 2444 มีขนาดหน้าตัก 48 เซนติเมตร ลักษณะนั่งสมาธิ โดยเคยมีงานแห่สมโภชรูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในวัน แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี<ref>เฮง อิฏฐาจาโร, พระมหา. (2492). ประวัติสังเขปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์. หน้า152-153</ref> แต่ปัจจุบันได้เลิกจัดไปแล้ว ปัจจุบันรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ของวัดระฆังโฆสิตาราม ยังคงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหน้าพระอุโบสถของวัด มีผู้คนเคารพนับถือมากราบไหว้สักการะมากในปัจจุบัน
 
ในช่วงหลัง มีผู้นำรูปถ่ายเมื่อครั้งมีชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในท่านับลูกประคำ ไปจัดสร้างเป็นรูปหล่อและรูปเหมือนเพื่อสักการะบูชา จนเป็นที่แพร่หลาย และเป็นเอกลักษณ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จนถึงปัจจุบัน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่โตมากมาย เพื่อให้สมชื่อโต ของสมเด็จท่าน โดยรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ขนาดใหญ่ เช่นที่ วิหารสมเด็จโต มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ [[อำเภอสีคิ้ว]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] สมเด็จโตองค์ใหญ่ปางเทศนาธรรม วัดโบสถ์ [[จังหวัดปทุมธานี]] และสมเด็จโตองค์ใหญ่ [[วัดตาลเจ็ดยอด]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] และที่วัดสามัคคีบรรพต [[จังหวัดชลบุรี]] เป็นต้น
{{-}}
 
== เชิงอรรถ ==