ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โขน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: เก็บกวาด
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 49:
[[ไฟล์:Atthami Bucha Festival Laplae Uttaradit 02.jpg|thumb|การแสดงโขนกลางแปลง เรื่องรามเกียรติ์]]
โขนเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มักนิยมแสดงเป็นมหกรรมบูชาเจ้านายชั้นสูงเช่น แสดงในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพ แสดงเป็นมหรสพสมโภชเช่น ในงาน[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]] และแสดงเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิงในโอกาสทั่ว ๆ ไป นิยมแสดงเพียง 3 ประเภทคือ [[โขนกลางแปลง]] [[โขนหน้าจอ]]และ[[โขนฉาก]] สำหรับ[[โขนนั่งราว]]หรือโขนโรงนอกไม่นิยมจัดแสดง เนื่องจากเป็นการแสดงโขนที่มีแต่บทพากย์และบทเจรจาเท่านั้น ไม่มีบทร้อง ใช้ราว[[ไม้|ไม้กระบอก]]แทน[[เตียง]]สำหรับนั่ง และ[[โขนโรงใน]]ซึ่งเป็นศิลปะที่โขนหน้าจอนำไปแสดง แต่เดิมไม่มีองค์ประกอบจำนวนมาก ต่อมาภายหลังเมื่อมีความต้องการในการแสดงมากขึ้น โขนจึงมีวิวัฒนาการพัฒนาเป็นลำดับ แบ่งเป็น 5 ประเภทคือ<ref>[http://student.swu.ac.th/sc501010561/page.html ประเภทของโขน]</ref>
 
=== โขนกลางแปลง ===
บรรทัด 57:
เมื่อ [[พ.ศ. 2339]] ในสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] รัชกาลที่ 1 มีการเล่นโขนในงานฉลอง[[กระดูก|อัฐิ]]สมเด็จพระปฐมบรมชนกาธิราช โดยโขน[[วังหน้า]]เป็นทัพ[[ทศกัณฐ์]]ฝ่ายลงกา และโขน[[วังหลัง]]เป็นทัพ[[พระราม]]ฝ่ายพลับพลา แลัวยกทัพมาเล่นรบกันในท้องสนามหน้า[[พลับพลา]] ดังปรากฏใน[[พงศาวดาร|พระราชพงศาวดาร]]ความว่า ''"ในการมหรสพสมโภชพระบรมอัฐิครั้งนั้น มี[[โขนชักรอก]]โรงใหญ่ ทั้งโขนวังหลังและวังหน้า แล้วประสมโรงเล่นกันกลางแปลง เล่นเมื่อศึกทศกัณฐ์ยกทัพกับสิบขุนสิบรถ โขนวังหลังเป็นทัพพระราม ยกไปแต่ทาง[[พระบรมมหาราชวัง]] โขนวังหน้าเป็นทัพทศกัณฐ์ ยกออกจากพระราชวังบวรฯ มาเล่นรบกันในท้องสนามหน้าพลับพลา ถึงมี[[ปืน]]บาเหรี่ยมรางเกวียนลากออกมายิงกันดังสนั่นไป"''
 
ซึ่งการแสดงโขนในครั้งนั้น เกิดการรบกันจริงระหว่างผู้แสดงทั้งสองฝ่าย จนเกิดการบาดหมางกันขึ้นระหว่างวังหน้าและวังหลัง จนกระทั่ง[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี]] และ[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์]] สมเด็จพระพี่นางทั้งสองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]] ต้องเสด็จมาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้แก่วังหน้าและวังหลัง ทั้งสองฝ่ายจึงยอมเลิกบาดหมางซึ่งกันและกัน ทำให้เป็นข้อสันนิษฐานว่าเหตุใดการแสดงโขนกลางแปลงจึงนิยมแสดงตอนยกทัพรบและการรบบนพื้น<ref name="โขนกลางแปลง">โขนกลางแปลง, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 48, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref> มีเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์ไม่ต่ำกว่าสองวงในการบรรเลง<ref>[http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=347 การแสดงโขนกลางแปลงในสมัยรัชกาลที่ 1 ระหว่างฝ่ายพลับพลาวังหน้าและฝ่ายลงกาวังหลัง]</ref>
 
=== โขนนั่งราว ===
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โขน"