ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โขน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: เก็บกวาด
บรรทัด 30:
* คำว่าโขนในภาษาเบงคาลี ซึ่งปรากฏคำว่า "โขละ" หรือ "โขล" '' (บางครั้งเขียนด้วยคำว่า "โขฬะ") ''<ref name="โขนในภาษาเบงคาลี">โขนในภาษาเบงคาลี, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 32, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref> ที่เป็นชื่อเรียกของ[[เครื่องดนตรี]]ประเภท[[หนัง]]ชนิดหนึ่งของ[[ฮินดู]] ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับ[[ตะโพน]]ของไทย ไม่มีขาตั้ง ทำด้วย[[ดิน]] ไม่มีสายสำหรับถ่วงเสียง มีเสียงดังค่อนข้างมาก จัดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมใน[[รัฐเบงกอลตะวันตก|แคว้นเบงกอล]] [[ประเทศอินเดีย]] ใช้สำหรับประกอบการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่ายาตราหรือละครเร่ที่คล้ายคลึงกับละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคยถูกนำมาใช้ประกอบการเล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง จึงเรียกว่าโขลตามชื่อของเครื่องดนตรี
 
* คำว่าโขนใน[[ภาษาทมิฬ]] มีจุดเริ่มต้นจากคำว่าโขล ซึ่งมีความใกล้เคียงกับโกลหรือโกลัมในภาษาทมิฬ หมายความถึง[[เพศ]]หรือการแต่งตัว การประดับตกแต่งร่างกายตั้งแต่[[ศีรษะ]]จรดเท้าให้สวยงามตามแต่ลักษณะของเพศหญิงและ[[เพศชาย]] หรืออีอีกความหมายหนึ่งของโกลหรือโกลัมคือการใช้[[แป้ง]]โรยประดับตกแต่งหน้าบ้าน
 
* คำว่าโขนใน[[ภาษากลุ่มอิหร่าน|ภาษาอิหร่าน]] มีที่มาจากคำว่าษูรัต ควาน ({{lang-en|Surat khwan}}) หมายความถึง[[ตุ๊กตา]]หรือ[[หุ่น]] ซึ่งใช้สำหรับประกอบการแสดง โดยมี[[นักร้อง|ผู้ขับร้อง]]และให้[[เสียง]]แทนตัวหุ่น เรียกว่าควานหรือโขน ({{lang-en|Khon}}) มีความคล้ายคลึงกับผู้พากย์และผู้เจรจาของการแสดงโขนในปัจจุบัน
 
* คำว่าโขนใน[[ภาษาเขมร]] เป็นการกล่าวถึงโขนใน[[พจนานุกรม]][[ภาษาเขมร]] ซึ่งหมายความถึงละคร แต่เขียนแทนว่าละโขน ที่หมายความถึงการแสดงมหรสพอย่างหนึ่ง
บรรทัด 42:
ในสมัยของสมเด็จพระนาราย์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงโขนโดย[[ลาลูแบร์]] เอาไว้ว่า ''"โขนนั้น เป็นการร่ายรำเข้า ๆ ออก ๆ หลายคำรบ ตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก (หัวโขน) และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควรแล้ว นาน ๆ ก็จะหยุดเจรจาออกมาสักคำสองคำ หน้ากาก (หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร (ลิง) หรือไม่เป็นหน้า[[ปีศาจ]] ([[ยักษ์]]) ''"<ref name="ว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม">ว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย : มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย : สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157</ref> ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นต่อมหรสพในอดีตของชาวไทยในสายตาของชาวต่างประเทศ
 
การแสดงโขนโดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่องรามยณะหรือรามเกียรติ์ ในอดีตกรมศิลปากรเคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับการแสดงเรื่องรามเกียรติ์<ref>[http://student.swu.ac.th/sc501010561/index.html ความนิยมของรามเกียรติ์ในการแสดงโขน]</ref> มีหลายสำนวน ทั้งที่มีการประพันธ์ขึ้นใน[[สมัยกรุงศรีอยุธยา]] [[กรุงธนบุรี]]และ[[กรุงรัตนโกสินทร์]] โดยเฉพาะบทประพันธ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำนวนของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ที่[[กรมศิลปากร]]ได้ปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอนสำหรับแสดงเป็นโขนฉาก ในสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ถึง 6 ชุด ได้แก่ ชุด[[นางสีดา]]หาย ชุดเผากรุงลงกา ชุด[[พิเภก]]ถูกขับ ชุดจอง[[ถนน]] ชุดประเดิมศึกลงกาและชุดนาคบาศ
 
แต่เดิมนั้นการแสดงโขนจะไม่มีการสร้างฉากประกอบการแสดงตามท้องเรื่อง การดำเนินเรื่องราวต่าง ๆ เป็นแบบจินตนาการถึงฉากหรือสถานที่ในเรื่องราวเอง การจัดฉากในการแสดงโขนเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 โดยที่ทรงคิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้น คล้ายกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]ทรงคิดขึ้น
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โขน"