ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรุณา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต เพิ่ม: ru:Каруна
Supotmails (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{สั้นมาก}}
{{พุทธศาสนา}}
 
'''กรุณา''' (สันสกฤต; บาลี: Karuṇā) คือ [[ความปรารถนา]]ให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์พ้นทุกข์ หรือการเห็นผู้อื่นหรือสรรพสัตว์เป็นทุกข์หรือตกอยู่ในทุกข์แล้วทนอยู่ไม่ได้ ต้องหาทางช่วยเหลือเต็มที่
 
ซึ่งการอนุเคราะห์ช่วยเหลือ นั้นเป็นไปได้ทั้งสองด้าน ได้แก่ การช่วยเหลือด้านภายนอกคือวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และการช่วยเหลือด้วยธรรม คือการส่งเสริมให้ผู้อื่นมีจิตใจที่ดีงาม ให้เขาเข้าถึงความดีงามทางจิตใจ อันเป็นการสงเคราะห์ด้านจิตใจ เมื่อเห็นว่าเขามีความทุกข์ทางใจ<ref>http://www.doisuthep.com/old/mambots/editors/tinymce/books/1_main7.html</ref>
 
== กรุณาต่อตนเอง ==
กรุณาต่อตนเอง หมายถึงมีจิตใจอยากจะช่วยเหลือ ตนเองให้พ้นจากทุกข์ ด้วยการสำรวจตัวเอง มองดูชีวิตตัวเอง เริ่มต้นที่การกระทำด้วย กาย วาจา
มีอะไรบ้างที่เราควรแก้ไข ปรับปรุงตน เริ่ม ต้นตรวจดูด้วยศีล ด้วยกฎหมาย ระเบียบ วินัย กติกาของสังคม โดยอาศัย [[อิทธิบาท ๔]]
*ฉันทะ มีความพอใจในการแก้ไขปรับปรุงตนเอง
*วิริยะ มีความพยายาม มีความตั้งใจสม่ำเสมอ
*จิตตะ มีจิตใจจดจ่อในการแก้ไขปรับปรุง
*วิมังสา ใช้ปัญญาทบทวน พิจารณาหาเหตุผล
เมื่อมีข้อผิดพลาด และหาวิธีการ อุบายต่าง ๆ ที่จะไม่ให้เกิดผิดพลาดขึ้นอีก สร้างจิตสำนึกในการที่จะ พัฒนาตนมีความพอใจในการต่อสู้กับจิตใจตนเอง<ref>http://www.thammaonline.com/3620</ref>
== ความหมายตามราชบัณฑิตยสถาน ==
กรุณา หมายถึง ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็นข้อปฏิบัติใน หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่จะทำให้มนุษย์กลายเป็นพระพรหมเรียกว่า “พรหมวิหาร”<ref>ราช บัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 (2546: 1223, 872,70, 6, 1178) </ref>
 
เมตตากรุณา หมายถึงความรัก ความเอ็นดู ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้สุข
 
== ความแตกต่างกันของเมตตากับกรุณา ==
กรุณาต้องอาศัยกำลังสติปัญญาและจิตใจที่เข้มแข็ง มากยิ่งขึ้นกว่า[[เมตตา]]
 
กรุณาต่อผู้อื่น จิตที่กรุณาต่อผู้อื่น คือจิตใจที่คิดช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่าเราให้เขาพ้นจากทุกข์ แนะนำ ตักเตือนเขา เพื่อให้เขาสามารถดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเราเป็นแม่ ในการเลี้ยงลูก เรามีความ ปรารถนาดีต่อลูก ให้ความรักความเมตตา สิ่งใดที่ทำให้ลูกมีความสุข เราก็ทำให้แก่ลูกเรียกว่าทำให้ลูก "ถูกใจ" ก็ดูไม่ยากอะไร แต่ความกรุณาคือ ช่วยเหลือให้ลูกพ้นจากทุกข์ เราต้องหมั่นอบรมสั่งสอนให้ลูกรู้จักผิดชอบ ชั่วดี บางครั้งอาจจำเป็นต้องเคร่งครัดว่ากล่าวตักเตือน ขัดใจลูกเพื่อความ "ถูกต้อง"
 
== ความสอดคล้ิองกันของเมตตากับกรุณา ==
ความกรุณาที่แท้จริงต้องมีพื้นฐานของความเมตตาอยู่ ด้วยเสมอ ดังนั้น การที่เราจะว่ากล่าวตักเตือนใครโดยเข้าใจว่าเป็น ความกรุณาที่ต้องการให้เขาพ้นจากทุกข์เราต้องสำรวจความรู้สึกตนเองให้ดี ด้วยว่าไม่ได้เจือด้วยความโกรธ หากเรามีเมตตา เราย่อมปรารถนาให้เขา เป็นสุข การว่ากล่าวตักเตือน เราจะต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเขาด้วย ต้อง ทำไปเพื่อนประโยชน์และความสุขของเขาจริง ๆ<ref>http://www.thammaonline.com/3620</ref>
 
== พระกรุณาคุณ ==
พระกรุณาคุณเป็นหนึ่งในสามของ[[พระพุทธคุณ]]อันประกอบด้วย
*[[พระกรุณาคุณ]] [[พระปัญญาคุณ]] และ [[พระวิสุทธิคุณ]]
 
พระกรุณาคุณคือ ความสงสารที่พระพุทธองค์ทรงมีแก่สัตว์โลกทั้งหลายที่ยังต้องเวียนว่ายตาย เกิดอยู่ในสังสารวัฏ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ธรรมและหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด แล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงเก็บพระธรรมที่ทรงรู้ทรงเห็นไว้ตามลำพัง แต่ทรงอุทิศเวลาตลอด ๔๕พรรษา คือตลอดเวลาของพระชนมายุที่เหลืออยู่ตั้งแต่วันตรัสรู้จนกระทั่งถึงวันเสด็จ ดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงใช้เวลานี้สั่งสอนสัตว์โลกให้รู้จักเรื่องบาปบุญ คุณโทษ เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ มรรค ผล นิพพาน เรื่องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ถ้าพระพุทธองค์ไม่ได้ทรงสั่งสอนแล้ว สัตว์โลกทั้งหลายก็ยังจะต้องจมอยู่ในกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุดเพราะไม่รู้จักทางออก เป็นเหมือนคนตาบอด ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุที่จะนำมาซึ่งความสุข อะไรคือเหตุที่จะนำมาซึ่งความทุกข์ อะไรคือผลของการกระทำดีและชั่ว ไม่มีใครรู้กัน
 
แต่หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และ ประกาศพระธรรมคำสอนแล้วจึงได้รู้กัน เมื่อได้ยินได้ฟังธรรมแล้วนำเอาไปปฏิบัติก็สามารถหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตาย เกิดได้ หลุดพ้นจากทุกข์ได้ ดังที่พระอริยสงฆสาวกได้น้อมเอาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประพฤติปฏิบัติ จนกระทั่งได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เปรียบเหมือนยารักษาโรค สัตว์โลกทั้งหลายเปรียบเหมือนคนไข้ ถ้าไม่มียารักษาโรค ย่อมไม่หายจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงต้องอาศัยหมอที่มีความกรุณาอย่างพระพุทธองค์ประทานธรรมโอสถมาให้ เมื่อรับประทานแล้วก็จะหายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย นี่ คือพระกรุณาคุณของพระพุทธเจ้า<ref>http://www.kammatthana.com/D_56.htm</ref>
 
== ความกรุณากับความรัก ==
รักแท้คือกรุณา เปรียบเสมือนแสงเดือนแสงตะวันที่สาดลงผืนโลก โดยที่ไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทน เป็นน้ำก็ไหล เป็นจันทร์ก็ส่อง เป็นนกก็ร้องเพลง โดยไม่เคยถามว่าใครเคยเห็นความสำคัญของฉันหรือ โดยไม่เคยถามว่าฉันจะได้อะไรตอบแทนไหม ฉะนั้นวิวัฒนาการสูงสุดของความรักก็คือ รักแท้คือกรุณา เราต้องไปให้ถึงความรักชนิดเช่นนี้ จึงจะเป็นความรักที่ดีที่สุด ที่ไม่เพียงแต่คนหนุ่มสาวเท่านั้น มนุษยชาติจะต้องไปให้ถึง<ref>นิยามรัก จาก "ว.วชิรเมธี ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย" "มาฆะ-ราคะ" บูชา พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรัก (ประชาชาติธุรกิจ) </ref>
 
== เพิ่มเติม ==
[http://www.thinkbeyondbook.com/content/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%86%E0%B8%B2%E0%B8%95|การุณฆาต%20การทำให้ผู้ป่วยมรณะวิถีสิ้นชีวิต การุณฆาต การทำให้ผู้ป่วยมรณะวิถีสิ้นชีวิต พินิจ รัตนกุล วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล]
 
{{ต้องการ== อ้างอิง}} ==
<references \>
 
 
{{พรหมวิหารสี่}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กรุณา"