ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประยงค์ ชื่นเย็น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kongkoy-laksi (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ประยงค์ ชื่นเย็น''' เป็นนักเรียบเรียงเสียงประสาน[[เพลงลูกทุ่ง...
 
Kongkoy-laksi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ประยงค์ เกิดเมื่อวันที่ [[12 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2489]] ที่[[จังหวัดพระตระบอง]] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนการช่างบุรีรัมย์ [[จังหวัดบุรีรัมย์]] (ปัจจุบันคือวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์) เข้าสู่วงการเพลงโดยเป็นนักดนตรีตำแหน่ง[[ทรัมเป็ต]] ของวงรวมดาวกระจาย ต่อมาจึงอยู่กับวงดนตรีสุรพัฒน์ ของ[[ชลธี ธารทอง]] วงดนตรีของ[[ผ่องศรี วรนุช]] และ [[เพลิน พรหมแดน]] ตามลำดับ<ref>[http://www.konburiram.com/forum.php?mod=viewthread&tid=260 ประยงค์ ชื่นเย็น บุคคลสำคัญคนบุรีรัมย์]</ref>
 
ประยงค์เริ่มทำงานด้านการเรียบเรียงเสียงประสานในปี [[พ.ศ. 2519]] โดยเป็นผู้เรียบเรียงเพลงทุกรูปแบบ และควบคุมการบรรเลงเพลงให้กับวงดนตรีไทยลูกทุ่งและไทยสากล ผลงานบันทึกเสียงเพลงแรกในฐานะผู้เรียบเรียงเสียงประสาน คือเพลง [[ทนหนาวอีกปี]] ขับร้องโดย เด่น บุรีรัมย์ ต่อมาได้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงมากมายนับพันเพลง บทเพลงที่สร้างชื่อเสียงได้แก่ เพลงของ''[[ยอดรัก สลักใจ]]'' เช่น จดหมายจากแนวหน้า ทหารเรือมาแล้ว อเวจีใจ เพลง หนุ่มนารอนาง ของ ''[[ไวพจน์ เพชรสุพรรณ]]'' เพลง อกหักซ้ำสอง ของ ''[[สายัณห์ สัญญา]]'' เพลง เทพธิดาผ้าซิ่น ของ ''[[เสรี รุ่งสว่าง]]'' เพลง อีสาวทรานซิสเตอร์ ของ ''[[อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์]]'' เพลง ท้ารัก ของ ''[[บุษบา อธิษฐาน]]'' เพลง รักจริงให้ติงนัง ของ ''[[รุ่ง สุริยา]]'' เพลง ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก ของ ''[[ธานินทร์ อินทรเทพ]]'' เพลง ส่วนเกิน ของ ''[[ดาวใจ ไพจิตร]]'' รวมถึงเพลงของ''[[พุ่มพวง ดวงจันทร์]]'' เช่น หัวใจถวายวัด ผู้ชายในฝัน ห่างหน่อยถอยนิด เป็นต้น อีกทั้งยังได้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์ใน[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เพลงที่รู้จักกันดีคือ เพลง''[[ส้มตำ]]''<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20100112/44442/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99.html ศิลปินแห่งชาติความทุ่มเททั้งชีวิตของประยงค์ ชื่นเย็น]</ref>
 
ประยงค์ ชื่นเย็น ยังเป็นผู้สร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการเพลงลูกทุ่ง โดยการประสมประสานระหว่างดนตรีพื้นบ้านของไทยกับดนตรีตะวันตก ได้เริ่มนำเครื่อง[[ดนตรีไทย]]หลายชนิดมาบรรเลงผสมกับเครื่องดนตรีสากล จนเป็นเอกลักษณ์ของเพลงลูกทุ่ง<ref>[http://www.thaithesis.org/detail.php?id=45024 รายละเอียดวิทยานิพนธ์ การเรียบเรียงเสียงประสานของ ประยงค์ ชื่นเย็น]</ref>
บรรทัด 9:
ประยงค์ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย เช่น [[รางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน]] จากการเรียบเรียงเสียงประสานเพลง แม่ยก อาลัยนักรบ และหนุ่มนารอนาง [[รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน]] ประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง จากเพลง อีสาวทรานซิสเตอร์ ข่อยเว้าแม่นบ่ รางวัลนักรบ ประเภทเพลงไทยสากล จากเพลง ปั้นดินให้เป็นดาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากร และอาจารย์พิเศษสอนดนตรีของ[[มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์]] และยังเป็นกรรมการตัดสินทางด้านดนตรีและขับร้องรายการต่างๆ โดยยังคงมีผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
 
ในปี [[พ.ศ. 2552]] ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น[[รายชื่อศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง|ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง]] ดนตรีไทยลูกทุ่ง-ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน โดยเป็นนักเรียบเรียงเพลงลูกทุ่งคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ <ref>[http://art.culture.go.th/index.php?case=artistDetail&art_id=317&page=&side=musicen&detail=biography ประวัติจากเว็บไซต์ ศิลปินแห่งชาติ]</ref>
 
==อ้างอิง==