ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิปิออตร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: mn:I Пётр
บรรทัด 36:
ทรงจัดระบบเศรษฐกิจของประเทศตามระบบพาณิชย์นิยมของตะวันตกโดยการห้ามนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ารัสเซีย และเร่งส่งเสริมอุตสาหกรรมต่าง ในประเทศ เช่น การทอผ้า การต่อเรือ การผลิตอาวุธ สร้างโรงงานถลุงเหล็ก รองเท้า สบู่ ช้องผม ฯลฯ อีกทั้งยังเปิดประเทศต้อนรับช่างผู้ชำนาญงานสาขาต่างๆ ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและลงทุนในรัสเซีย ทรงจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมของรัฐเพื่อให้เอกชนดำเนินการ มีการเกณฑ์และบังคับแรงงานชาวไร่ ชาวนาให้ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนกระตุ้นให้พวกชุนนางลงทุนในด้านการค้า ในช่างระยะเวลาเพียง 20 ปี ในกรุงมอสโกมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้น 200 แห่ง และขนาดเล็กมากกว่า 2500 แห่ง ทรงละเว้นภาษีแก่โรงงานอุตสาหกรรมเอกชน แต่ขณะเดียวกันก็ทรงเพิ่มรายได้แก่รัฐด้วยการจัดเก็บภาษีอื่นๆ ในอัตราที่สูง
 
นอกจากนี้ยังมีการเรียกเก็บภาษีสินค้าบางชนิดที่ไม่เคยจัดเก็บมาก่อนและให้มีการผูกขาดการค้าในสินค้าบางประเภท เช่น [[บังเหียนม้า]] [[ไพ่]] [[กระจก]] [[โรงโลงศพ]] [[แตงกวา]] หรือแม้แต่การอาบน้ำและการแต่งงาน ในปี [[พ.ศ. 2261]] (ค.ศ. 1718) ทรงมีพระราชโองการให้จัดเก็บภาษีบุคคล (soul tax) ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมของระบบการเก็บภาษี แต่ก็ทำรายได้ให้แก่ประเทศสูงถึง 4 เท่า มากกว่ารายรับจากภาษีอื่นๆ ส่วนรัฐบาลได้ลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยเช่น อุตสาหกรรม[[เหล็ก]] อาวุธและผ้า เป็นต้น ผลผลิตของสินค้ารัสเซียได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอันมากจนรัฐบาลสามารถส่งสินค้า อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ออกไปขายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัว และทำรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่รัฐ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ก็ถูกนำไปใช้ในการขยายตัวของกองทัพและการทำสงคราม ระหว่าง พ.ศ. 2243 - 2254 (ค.ศ.1700 - 1711) ได้มีการจัดตั้งงบประมาณแผ่นดินประจำปีด้วยซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรัสเซีย นอกจากนี้ ยังมีการสร้างถนน สะพาน และขุดคูคลองต่างๆ มากมายเพื่อประโยชน์ในการคมนาคมขนส่งสินค้า ส่วนในด้านเกษตรกรรมได้นำกรรมวิธีใหม่ๆ มาใช้ปรับปรุงการเกษตรอันมีผลทำให้ผลิตผล เช่น ข้าวไรย์ ป่าน ปอ ยาสูบ เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของประเทศ
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยเฉพาะการถูกบังคับเรียกเก็บ[[ภาษี]][[อากร]]เพิ่มและการถูกเกณฑ์แรงงานก็ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ยากไร้ นับแต่ช่วงดังกล่าวเป็นต้นมา รัสเซียจึงต้องเผชิญกับการลุกฮือของประชาชนในภูมิภาคต่างๆ เช่น ใน[[อัสตราฮาน]] (Astrakhan) ภูมิภาคกลางและตะวันตกของรัสเซีย และพวกคอสแสคในลุ่มแม่น้ำดอน (Don Cossacks) เป็นต้น ซึ่งซาร์ปีเตอร์มหาราชก็ได้ทรงใช้มาตรการรุนแรงในการปราบปราม มีการจัดตั้งหน่วยงานหรือกระทรวงเพื่อสอดส่องดูแลและควบคุมประชาชนตามภูมิภาคต่างๆ ในปี [[พ.ศ. 2257]] (ค.ศ. 1714) พระองค์ได้ทรงออกพระราชโองการกำหนดลักษณะของการก่ออาชญากรรมทางการเมืองซึ่งไม่เคยมีการปฏิบัติมาก่อน และรัฐบาลก็กระตุ้นให้มีการแจ้งเบาะแสการเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งผู้แจ้งจะได้รับเงินรางวัลเป็นค่าตอบแทนด้วย
 
=== ด้านการปกครอง ===
[[ไฟล์:Antokolski Peter the Great.jpg|thumb|right|200px]]